รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 3 แม้จะมาเป็นภาพ แต่ก็ยังเชื่อไม่ได้
ข่าวปลอม และข่าวลวง (Fake News) ไม่ได้มาเพียงแค่เนื้อหาเท่านั้น เรื่องของรูปภาพก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้ติดตามข่าวทางสื่อออนไลน์ต้องระวัง เพราะด้วยเทคนิคการแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อีกทั้งแอพพลิเคชั่นในมือถือก็ทำให้ภาพที่เราเห็นตามโพสต์ต่าง ๆ มีการปลอมแปลงได้
รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 2 เรื่องจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และการรู้เท่าทัน
ในและวันที่เราเข้าสื่อออนไลน์เราต้องระมัดระวังในการเสพสื่อ เพราะวันนี้มีการสร้างข่าวลวงหรือข่าวปลอม(Fake News) มาโพสต์มากมาย การหลงเชื่อข่าวปลอมเป็นภัยต่อสุขภาพและทรัพย์สินได้ ดังนั้นเวลาเราอ่านข่าวหรือข้อมูลใด ๆ ต้องมีการเช็คข่าวนั้นก่อนเสมอ ว่าข่าวนั้นแจ้งที่มาของแหล่งข่าวไหม มีการแจ้งแหล่งอ้างอิงทางวิชาการไหม และดีที่สุดควรมีการเช็คข้อมูลเทียบเคียงในข่าวเดียวกันจากเว็บไซต์อื่น ๆ ประกอบด้วย
รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 1 คลิกเบท วิธีการเรียกไลค์ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน
คลิกเบท (Clickbait) คือ วิธีการเรียกไลค์จากผู้อ่าน หรือชวนให้ผู้อ่านบทความทางสื่อออนไลน์คลิกเข้าไปอ่าน ยิ่งคลิกอ่านเยอะ ยิ่งกดไลค์มาก ก็จะนำรายได้มาสู่คนโพสต์ รูปแบบของการคลิกเบท จะมีทั้งรูปภาพ หรือข้อความพสดหัวเรื่อง มีลักษณะกระตุ้นความอยากและอารมร์ , การจัดอันดับ TOP TEN, การพูดเกินจริง เป็นต้น
รู้เท่าทันหรือยัง
พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เนื่องจากมีช่องทางสื่อสารมากมาย แม้ว่าจะทำให้ได้รับข่าวสารได้รวดเร็ว แต่อาจขาดการกลั่นกรองความถูกต้อง และส่งต่อกันไปอย่างกว้างขวาง และเป็นช่องทางให้กับผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวปลอมมาปะปนให้คนหลงเชื่อ เรามาดูกันซิว่า ข่าวปลอมคืออะไร และมีลักษณะแบบไหน เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันข่าวปลอม ก่อนตัดสินใจเชื่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์
การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวพุทธ โดย รศ.ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว
จากศาสตร์ความรู้ด้านจิตวิทยาตะวันตก ถูกเสริมผสานให้ลึกซึ้งถึงแก่นความจริงแท้แห่งพุทธธรรม เสริมแรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์พุทธทาส กลายเป็นผลึกความงามและคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น
วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ สู่หนึ่งเดียวกัน
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มนุษย์ได้ออกตามหาความจริงหนึ่งเดียวนั้นมานานแสนนาน และที่ผ่านมาเราต่างมีวิถีการตามหาความจริงหลากหลายแนวทาง จนมาถึงวันนี้ความจริงที่มนุษย์ค้นพบจากหลากหลายเส้นทางนั้นค่อยๆ มาบรรจบพบเจอกันอย่างน่าตื่นใจ คลิปนี้จะพาเราไปพบคำตอบระหว่าง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ มีการเชื่อมโยงสู่หนึ่งเดียวกันได้อย่างไร หมอปอง หรือนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล แพทย์แนวมนุษยปรัชญา กับประสบการณ์ดูแลสุขภาวะกาย-จิต-จิตวิญญาณ จะมาร่วมให้คำตอบเรื่องร่วมกับนักคิดด้านปรัชญาท่านอื่น ๆ
แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย
บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข
รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน
รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี
รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)
ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์ และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง
ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)
การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย
หลง ทีมอยากทำProduction
1 ใน 11 ผลงานในโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เจ้าของผลงาน 1. ภัณฑิรา เทิดเกียรติชัย 2. กฤตยานี ทาระพันธ์ 3. ปภัสรา ศรีสุคนธรัตน์ 4. วชิรวิทย์ เตมียกุล 5. ชนาธิป พันธ์ลีค้อ จาก : นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาลัยศรีปทุม เรื่องย่อ เรื่องราวของ “ฮาย” เด็กเนิร์ดที่ไม่เคยออกไปสังสรรค์กับเพื่อนเลยได้บังเอิญดูวิดีโอบนออนไลน์ซึ่งเป็นโฆษณาเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง เพื่อนร่วมห้องเห็นจึงเดินมาชวนให้ออกไปกินเหล้าด้วยกัน ฮายตอบตกลงและพากันไปร้านเหล้า เมื่อฮายดื่มจนเมาก็หันไปมองผู้หญิงคนหนึ่งในร้านตามที่เพื่อนมองอยู่ ทำให้แฟนของเธอไม่พอใจมากแล้วเข้ามาทำร้ายฮาย ส่วนเพื่อน ๆ ที่มาด้วยกันก็ทิ้งฮายไว้ แล้วพากันหนีออกจากร้านไป ก่อนที่ทุกอย่างจะตัดกลับมาที่ความจริงว่าทั้งหมดคือความคิดของฮาย หากเขาเลือกจะไป ตอนจบอาจจะไม่ได้สวยเหมือนในโฆษณาก็ได้