จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับที่ 35 เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560
จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ พาไปพบกับนวัตกรรมสร้างสรรค์ได้รับรางวัลชนะเลิศของเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขุนประเทศ ชื่อว่า 'บ้านขุนสเตชั่น ไม่มีวันอ้วน' จากโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้) ปีที่ 2 และพบกับสื่อไอเดียสร้างสรรค์ของคุณครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่สามารถประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นสื่อให้กับเด็ก ๆ ได้อย่างน่าทึ่ง สุดท้ายขึ้นไปที่เมืองน่าน คุณครูที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56 ได้ใช้ดินน้ำมันชวนเด็ก ๆ สร้างโลกแห่งจินตนาการกลายเป็น 'เมืองในดินอินน่าน' เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ สร้างพลังชีวิตและเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
จุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับที่ 34 เดือนตุลาคม 2560
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับเดือนตุลาคม 2560 เนื้อหาวาระพิเศษครบรอบ 1 ปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พบกับเรื่องเล่าประทับใจและบทสัมภาษณ์ของศิลปินที่มีต่อพระมหากรุณาธิคุณของในหลวง ร.9 ที่มีต่อปวงชนชาวไทย สอดแทรกด้วยเรื่องราวศิลป์สร้างสุข กับโครงการดี ๆ ทั้งมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ที่ จ.พัทลุง กิจกรรมปั่นไปปลูกไปที่วิถีชุมชนท่ามะพร้าว และเรื่องราวสื่อสร้างสรรค์อีกมากมายตลอดทั้งเล่ม
หนังเล่าเรื่อง ตอน สมปองนักข่าวแห่งตำนาน
"สมปอง นักข่าวแห่งตำนาน" ภาพยนตร์สั้นสะท้อนภาพการโกง แต่เป็นการโกงในด้านจรรยาบรรณ การทุจริตต่อวิชาชีพ ไม่ได้วัดกันที่ตัวเงินแต่วัดกันที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพยนตร์แสดงเรื่องของความรู้สึก บอกเล่าผ่านอาชีพ “นักข่าว” ที่จำเป็นต้องทำเสนอข้อเท็จจริง ภาพยตร์สั้นเดินเรื่องแนวตลกเสียดสีให้ผู้ชมได้ฉุกคิดเรื่องราวต่าง ๆ กับจรรยาบรรณและจริยธรรม
จุลสาร ร หัน เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2554
ไปรู้จักกับ 'ถนนเด็กเดิน' ถนนสายศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างน่ารักและลงตัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้รากเหง้าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพูดคุยกับตัวแทนเยาวชน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ ปิดท้ายด้วยการชวนเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่ชุมชนบางหลวง ย้อนเวลาไปดื่มด่ำในยุค ร.ศ.112 ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานต่อไป
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 10
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 10 "ทุกคนมีสิ่งที่พิเศษบางอย่างที่เรียกว่า ศาสนาของข้าพเจ้า อะไรคือศานาของเขา ศาสนาที่ซ่อนอยู่ในหัวใจของเขา และสร้างเขาอย่างต่อเนื่อง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 – 1941
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 9
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 9 "ข้าพเจ้ารู้สึกว่าอินเดียที่แท้จริงเป็นแนวคิด ไม่ใช่เพียงข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ แนวคิดของอินเดียขัดแย้งกับสำนึกอันเข้มข้นของการแบ่งแยกประชาชนของตนเองออกจากชาติอื่น ๆ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบสิ้น ดังนั้นคำอธิษฐานเพียงประการเดียวของข้าพเจ้า คือขอให้อินเดียสนับสนุนความร่วมมือกันของประชาชนทั่วโลก จิตวิญญาณของการปฏิเสธการสนับสนุนการรู้สึกแบ่งแยก จิตวิญญาณของการยอมรับความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน" จากแนวคิดเรื่อง สวราช การปกครองตนเอง โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 - 1941
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 8
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 8 "เมื่ออยู่ในชนบทข้าพเจ้าพยายามตลอดเวลาที่จะเรียนรู้ไปในรายละเอียดปลีกย่อยที่สุด งานของข้าพเจ้าทำให้ต้องเดินทางไกลจากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง จากศิลัยดาถึงหมู่บ้านปักติษา ผ่านแม่น้ำน้อยใหญ่และข้ามหนองน้ำ ด้วยวิธีนี้ข้าพเจ้าได้เห็นชีวิตในหมู่บ้านทุกด้าน ข้านเจ้ากระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะเข้าใจกิจวัตรประจำวันในหมู่บ้าน ความเป็นมาของชีวิตในหมู่บ้านที่สำคัญและน่าสนใจ ไม่นานนักก็เห็นความทุกข์ยาก โศกเศร้าของพวกเขาชัดเจน แล้วรู้สึกอดร้นทดไม่ได้ที่จะต้องทำอะไรบางอย่างกับเรื่องนี้ สำหรับข้าพเจ้ามันน่าละลายที่จะใช้ชีวิตแบบเจ้าที่ดิน สนใจแต่เรื่องหาเงิน และหมกมุ่นอยู่กับกำไรขาดทุนของตนเอง" โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861 - 1941
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 7
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 7 "หากเราปลดปล่อยหมู่บ้านได้แม้เพียงแห่งเดียว จากพันธนาการของความสิ้นหวังและอวิชชา ต้นแบบของอินเดียทั้งประเทศจะเกิดขึ้น ขอให้หมู่บ้านบางแห่งฟื้นฟูมาเช่นนี้ และข้าพเจ้าจะกล่าวว่านี้คืออินเดียของข้าพเจ้า" โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1861-1941
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 6
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 6 "อะไรก็ตามที่ควรรู้ คือความรู้ และความรู้ทั้งชายและหญิง มิใช่เพื่อประโยชน์ใช้แสวงหาในทางปฏิบัติ แต่เพื่อความรอบรู้นั่นเอง ความปรารถนาที่จะเรียนรู้เป็นกฎธรรมชาติของมนุษย์ ความรู้มี 2 ประเภท ประเภทที่หนึ่ง คือความรู้บริสุทธิ์ อีกประเภทหนึ่ง คือความรู้ที่ใช้สอย ในสาขาของความรู้บริสุทธิ์ไม่มีแตกต่างทั้งชายและหญิง ความแตกต่างอยู่ในขอบเขตของความรู้เพื่อใช้สอย ผู้หญิงควรมีความรู้บริสุทธิ์เพื่อให้เป็นผู้ใหญ่ และมีความรู้ใช้สอยเพื่อให้เป็นผู้หญิงที่แท้จริง" จากเรื่องการศึกษาของผู้หญิง โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1915
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 5
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 5 "ข้าพเจ้าเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ใฝ่ฝันจะขยายจิตวิญญาณของมนุษย์ ในบ้านของเรา เราแสวงหาเสรีภาพในอำนาจที่จะใช้ภาษาของเรา เสรีภาพที่จะจินตนาการในวรรณกรรมของเรา เสรีภาพของจิตวิญาณในความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพของความคิดในสภาพแวดล้อมทางสังคม โอกาสเช่นนั้นทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในอำนาจการศึกษา ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิต และเป็นสิ่งเดียวที่จะให้เสรีภาพที่แท้จริงแก่เรา เสรีภาพสูงสุดของมนุษย์ นั่นคือ เสรีภาพของการยึดถือหลักธรรมร่วมกันในโลกมนุษย์" จากเรื่อง อุดมคติของการศึกษา โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1929
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 4
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 4 "ขอให้สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคกลายเป็นหนทาง และขอให้เรารวมกันเข้า...มิใช่ทำเช่นนั้น ทั้งๆ ที่เรามีความแตกต่างกัน แต่ทำโดยอาศัยความแตกต่างนั้น ขอให้มนุษย์ทุกเชื้อชาติรักษาลักษณะเฉพาะของตน และยังมารวมกัน..มิใช่ในความเหมือนกันที่ตายแล้ว แต่ในความเป็นเอกภาพที่มีชีวิต" จากวาทะ โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1924
ดุริยางค์ความคิด รพินทรนาถ ฐากูร ตอนที่ 3
ดุริยางค์ความคิด ชุด 150 ปี เมธีปราชญ์ รพินทรนาถ ฐากูร โดยโครงการสื่อสันติภาพ ร่วมกับภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอรพินทร์รจนาในรูปแบบสื่อเสียงผสานความงามของตัวอักษรเข้ากับเสียงดนตรีในรูปแบบสื่อเสียง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่ 3 "พรมแดนทางภูมิศาสตร์หมดความสำคัญลงไปในโลกสมัยใหม่ ประชาชนในโลกใกล้ชิดกันมากขึ้น เราต้องตะหนักในสิ่งนี้ และเข้าใจว่าความใกล้ชิดต้องมีพื้นฐานมาจากความรัก โลกตะวันออกและตะวันตกต้องร่วมมือกันแสวงหาความจริง" จากเรื่อง ชาตินิยม โดย รพินทรนาถ ฐากูร 1917