สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง วิทยาศาสตร์ โดยนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล
“ผมมองว่าการตื่นรู้ไม่ใช่เรื่องมหัศจรรย์อะไร แต่เป็นมุมมองชีวิต เป็นเรื่องของตัวเราเอง เป็นศักยภาพพื้นฐานของมนุษย์ ที่ทุกคนจำเป็นต้องมี” "มนุษย์มีศักยภาพที่จะตื่นรู้ เป็นเรื่องของจิตไม่ใช่ แค่ร่างกาย การตื่นรู้ในมุมของผมจึงไม่ใช่ความสามารถพิเศษ (Extra Ability) แต่เป็นความต้องการพื้นฐานที่สุด (Minimal Requirement) ในการเป็นมนุษย์” (ส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน") - หมอปอง -
สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง ปรัชญา โดย ดร เมธา หริมเทพาธิป
เมื่อผู้ตื่นรู้สามารถรวมใจกันให้เป็น Oneness ย่อมสามารถสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมกันได้ด้วย ความรักความเข้าใจ ความงามในจิตใจ และความรักในเพื่อนมนุษย์ตามความเป็นจริง สิ่งที่ทำได้เลยก็คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และอภัยตนเองจากนั้นก็มองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ‘การเชื่อมต่อ” (Connect) ด้วยอำนาจและผลประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็น ‘การปฏิเสธการเชื่อมต่อ’ (Disconnect) การเชื่อมต่อให้ลึกถึงระดับความรู้สึกทางจิตใจนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเข้าถึงความจริง ความงาม ความรักในตัวมนุษย์ เข้าใจตนเอง เห็นใจเห็นผู้อื่น เชื่อมโยงด้วยความรักความเข้าใจกับเพื่อนมนุษย์ . - ดร.เมธา หริมเทพาธิป ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน"
สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง จิตวิญญาณ โดย คุณจุรี พิพัฒนรังคะ ครูบี
ตระหนักถึงความจริงว่าไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความรักให้ทุกชีวิตโดยไม่แบ่งแยก ตระหนักถึงที่ว่างอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แผ่กว้างไพศาลข้างในตัวคุณ ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น เห็นว่าทุกข์ของผู้อื่นคือทุกข์ของเรา เห็นตัวเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกออกจากกัน เข้าใจความรักที่แท้จริง ความรักที่ไปพ้นขั้วบวกและลบ ไม่มีพวกเรา-พวกเขา ไม่มีฉัน-ไม่มีเธอ มีแต่ความเป็นดั่งกันและกัน ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากบอร์ดเกม "Path to Oneness - ทางสู่หนึ่งเดียวกัน"
ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล หัวข้อ “ตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน” ถ่ายทอดสดจากวัดป่าสุคะโต We Oneness Live เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
สังคมอริยะชน Part 2 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม
สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรักกฺโม ในหัวข้อสังคมอริยะชน ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาธรรมและตอบคำถามแก่ผู้เข้าร่วมเสวนาธรรม เรื่องการสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งปัญญาหรืออริยะสังคม ซึ่งอริยะสังคมสามารถสร้างได้จากการริเริ่มพัฒนาศักยภาพภายในตัวบุคคล โดยนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อฝึกฝนและพัฒนาตนให้เกิดสติปัญญารู้เท่าทันไม่ประมาท รู้เหตุรู้ผล รู้คุณ รู้โทษและฉลาดในการเห็นความจริง เพื่อที่จะรับมือกับสิ่งที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมีสติและช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยดีงาม
สังคมอริยะชน Part 1 โดย พระอาจารย์สมทบ ปรักกโม
สนทนาธรรมกับ พระอาจารย์ สมทบ ปรกฺกโม ช่วงที่หนึ่ง เรื่องหนทางสู่การเป็น “อริยะชน” หรือ ผู้ที่เข้าถึงคุณธรรม รู้เท่าทันตนเอง มีสติและฉลาดในการจัดการ โดยการนำหลักอริยะวิถีมาประยุกต์ใช้และฝึกฝนในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวเราให้มีคุณสมบัติของอริยะชน คือ รู้เท่าทันตนเอง มีความเพียรและใฝ่รู้ รู้จักการเสียสละไม่ยึดถือ มีสติปัญญาในการจัดการที่ดีและมีความเชื่อมั่นในการพัฒนาตนเองในการทำสิ่งที่ดีงามได้ รวมถึงประพฤติตนให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคมและสามารถนำพาชีวิตของตนเองไปสู่จุดหมายได้อย่างมีความสุขจากภายในที่แท้จริง
เราจะเป็นมิตรกับตนเอง ได้อย่างไร โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
ธรรมบรรยายหัวข้อเรื่อง “การเป็นหนึ่งกับตัวเองอย่างมีคุณค่า” โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ถ่ายทอดสดจากงาน Wake up ONE : Writers & Stars Awakening Workshop กิจกรรม Wake up ONE เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้สู่หนึ่งเดียวกัน - We Oneness“ ดำเนินงานโดยมูลนิธิสหธรรมิกชนภายใต้การสนับสนุนของ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) : ThaiHealth
We Oneness คือ
We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม
คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562
ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83% ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์” จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ทำไมสูงวัยต้องรู้ทันสื่อ
ในยุคของการสื่อสารดิจิทัล เครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกลายเป็นของคู่กายของผู้สูงวัย ในยามที่ลูกหลานไม่อยู่ไปทำงานหรือเรียนหนังสือ ผู้สูงวัยจะเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดี คือ เป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้พบเพื่อนเก่า เพื่อนใหม่ให้คลายเหงา มีข่าวสารกิจกรรมต่าง ๆ ให้รับรู้และเข้าร่วม แต่ก็แฝงไว้ด้วยข้อเสีย เพราะเป็นความเสี่ยงที่มิจฉาชีพจะใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้สูงวัยได้ ดังนั้นจำเป็นที่ผู้สูงวัยต้องเรียนรู้ และเท่าทันสื่อยุคใหม่
สารคดีชุด สูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน ผู้สูงวัยกับสื่อสมัยใหม่
เมื่อกระแสการผลิตและการรับชมสื่อในยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป จากสื่อดั้งเดิมในกระแสหลักอย่างวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ได้เกิดการหลอมรวมเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงผู้รับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ผู้สูงอายุจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับตัว เพื่อนำเทคโนโลยีในการสื่อสารยุคดิจิทัลมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทางภูมิปัญญา ศิลปะวัฒนธรรม เพื่อสร้างศักยภาพให้กับตนเอง
สารคดีสูงวัยรู้ทันสื่อ ตอน วิธีการป้องกันผู้สูงวัยการโดนหลอกลวงจากสื่อ
ผู้สูงวัย เป็นช่วงวัยที่มีเวลาว่างเยอะ สมาร์ทโฟนหรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ จึงเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ผู้สูงวัยใช้คลายเหงาเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นสาเหตุของความเสี่ยงที่คนแปลกหน้าจะมาพูดคุย และหลอกลวงได้ ลูกหลานจึงต้องหาเวลาพูดคุยกับผู้สูงวัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันภัยการหลอกลวงจากสื่อ ที่สำคัญเพื่อดูแลปู่ย่าตายายไม่ให้ใช้สื่อมากเกินไปจนส่งผลให้เสียสายตาและสุขภาพได้