trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย" พบ 69 ข้อมูล

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563

แม้ว่ายุคปัจจุบันเยาวชนไทยเติบโตขึ้นมากับการใช้อินเทอร์เน็ตและมีอิสระในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสื่อออนไลน์ยังเป็นตัวกลางในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและด้วยความคุ้นชินกับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างอิสระนี้ อาจทำให้หลงลืมเรื่องภัยที่มากับโลกออนไลน์ คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ชุดนี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางป้องกันภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย ที่สุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สำรวจป้องกันและช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง

Child Online  Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562

ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์  พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83%  ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน  และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์”  จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย    

รายการ อุ้ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์ จะเลือกอะไรอ่ะ

รายการอุ๊ยตายว้ายกรี๊ด ตอน อุ๊บส์...จะเลือกอะไรอ่ะ? น้อง ๆ พิธีกรสาวหน้าใส จะพาไปพูดคุยกับคนดี 10 ที่ค่ายสิรินธร จ.ปทุมธานี พร้อมกับโจทย์สำคัญ ถ้าให้เลือกได้จะเลือกดื่มอะไรระหว่าง 'น้ำเปล่า' และ 'น้ำอัดลม' พร้อมทั้งสรุปข้อดีข้อเสียของน้ำเปล่าและน้ำอัดลมไว้อย่างน่าสนใจ ไปติดตามน้อง ๆ กัน

รู้เท่าทันสื่อไอซีที (ฉบับสมบูรณ์)

เด็ก ๆ อยู่ในโลกของการสื่อสารออนไลน์ นอกจากการเป็นผู้รับสารแล้ว วันนี้เด็ก ๆ เองก็ยังเป็นผู้ส่งสารอีกด้วย ดังนั้นทักษะจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้กับเด็ก ๆ ก็คือทักษะการรู้เท่าทันสื่อ หนังสือรู้เท่าทันสื่อไอซีที (ฉบับสมบูรณ์) นี้ มีเนื้อหาเน้นไปที่การสร้างทักษะเท่าทันสื่อไอซีทีให้กับเด็กอย่างรอบด้าน ตั้งแต่การทำความรู้จักคำว่าการรู้เท่าทันสื่อ ผลของสื่อไอซีทั้งเกม โทรศัพท์มือถือที่มีต่อเด็ก สุดท้ายยังมีตัวอย่าวกิจกรรมและเกมที่จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเท่าทันสื่อให้กับเด็ก ๆ ได้อย่างเพลิดเพลินให้คุณครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้อีกด้วย

แผ่นพับโครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT 54

ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งสื่อที่นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆยังมีอิทธิพลทั้งในด้านบวกและลบต่อความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ของผู้คนซึ่งรวมไปถึงเด็กและเยาวชนในสังคม โครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนมุ่งสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้จักคิดวิเคราะห์และ ”เลือกสื่อ” ที่สร้างสรรค์เหมาะสมกับช่วงวัย โดยได้จัดการสัมมนาและนิทรรศการผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยเด็กและเยาวชน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ให้กับนักเรียนและโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการทั่วประเทศ

แผ่นพับโครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT(สสย) ปี2555

ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งสื่อที่นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆยังมีอิทธิพลทั้งในด้านบวกและลบต่อความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ของผู้คนซึ่งรวมไปถึงเด็กและเยาวชนในสังคม โครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนมุ่งสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้จักคิดวิเคราะห์และ ”เลือกสื่อ” ที่สร้างสรรค์เหมาะสมกับช่วงวัย โดยได้จัดการสัมมนาและนิทรรศการผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยเด็กและเยาวชน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ให้กับนักเรียนและโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการทั่วประเทศ

ดูแลลูกยุคไซเบอร์(เด็กไทยทันสื่อ) ปี2555

“ดูแลลูกยุคไซเบอร์ (เด็กไทยทันสื่อ)” ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลลูกในยุคไซเบอร์ เพราะเด็กและวัยรุ่นอาจยังไม่รู้เท่าทันเรื่องภัยออนไลน์บนโลกไซเบอร์ ทั้ง ”เรื่องคนแปลกหน้า” ที่อาจไม่มีตัวตนจริงอย่างที่กล่าวอ้างหรืออาจเป็นมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงมา “เนื้อหาต้องห้าม” ข้อความหยาบคาย อีเมลโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง และ ”ชุมชนออนไลน์” บางสังคมออนไลน์อาจชวนเราไปทำกิจกรรมที่ดีช่วยเหลือผู้อื่น แต่บางสังคมออนไลน์ก็ชวนให้เราแสดงความคิดเห็นในทางลบ ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่ลูกในเรื่องภัยออนไลน์และช่วยเสริมสร้างให้เขามี “วิจารญาณในการเสพข้อมูลบนเน็ต” รวมทั้งใช้สื่ออินเตอร์เน็ตไปในทางบวกและมีเป็นประโยชน์กับตัวเอง

อินโฟกราฟิก ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เรื่องการประเมินสื่อ

เวลารับสื่อ เด็ก ๆ อาจจะยังไม่สามารถแยกแยะ รู้เท่าทัน หรือประเมินสื่อได้ด้วยตัวเอง คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะช่วยชี้แนะให้เด็ก ๆ ได้เห็นประเด็นและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ในสื่อ ให้เด็กสามารถประเมินสื่อได้อย่างรู้เท่าทัน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ค่านิยม หรือพฤติกรรมในสังคม

โปสเตอร์ 10 วิธีสอนลูกให้ทันสื่อ

ในสังคมยุคที่สื่อมีความง่ายต่อการเข้าถึงและเป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิงในชีวิตประจำวันของคนทุกคน  “10 วิธีสอนลูกให้เท่าทันสื่อ” 10 จึงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่พ่อแม่ควรอ่าน เพื่อทราบข้อแนะนำในการดูแลลูกให้เท่าทันสื่อ เพราะเด็กอาจยังมีทักษะไม่เพียงพอในการตีความในเนื้อหาของสื่อ ผู้ปกครองควรมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสอนเด็กให้รู้เท่าทันสื่อ และมีส่วนร่วมในการดูสื่อไปด้วยกัน เพื่อสอนการรับชมสื่อที่เหมาะสม  การนำสื่อมาใช้ประโยชน์ได้ และที่สำคัญพ่อแม่ผู้ปกครองต้องสอนเรื่องวินัยด้านเวลาของการรับชมสื่อและเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย

Stop Motion สังคมก้มหน้า

ผลงาน Stop motion สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนปัจจุบันที่เรียกว่า "สังคมก้มหน้า" เนื้อเรื่องแสดงให้เห็นถึงการใช้โทรศัพท์จนเกินพอดีของตัวละคร จนทำให้ต้องเป็นอันตราย และหากไม่ระมัดระวัง "สังคมก้มหน้า" ก็อาจทำให้เราถึงแก่ชีวิตได้

ประมวลภาพเวทีสิทธิเด็กภาคกลางครั้งที่ 27 : Be Smart and Safe Online

คลิปประมวลภาพเวทีสิทธิเด็กครั้งที่ 27 ภาคกลาง Be Smart & Safe Online ประเด็น "ก้าวทันสื่อ รู้ทันสิทธิ์" ณ สวนผึ้งคันทรีฮิลล์รวมพลังเด็กเพื่อการเรียนรู้ถึงสิทธิของเด็กในโลกออนไลน์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสิทธิ การรู้เท่าทัน การป้องกันตัว และหาทางแก้ไขภัยที่มาจากโลกออนไลน์ เกิดการระดมความคิดเพื่อนำเสนอต่อเวทีสิทธิเด็กในระดับชาติต่อไป 

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.