เพราะมีค่ามากกว่า โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
คลิปวีดิโอนำเสนอผลงานการจัดทำสื่อ อาทิ เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน และ Interactive Game โดย นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี เพื่อนำเสนอคุณค่าของ จ.กระบี่ในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณค่าทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ แนวคิดนำเสนอให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าจะนำมาแลกกับเชื้อเพลิงถ่านหิน รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลพลังงานทางเลือกที่มีผลกระทบทางธรรมชาติให้น้อยที่สุด
ปัญหาที่ดิน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้
บอร์ดเกม เกมสิทธิ - เกมชุมชน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้ “เกมสิทธิ์/เกมชุมชน” จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของปัญหาที่ดินในวงกว้างผ่านการใช้ “เกมกระดาน” จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด และเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ต่อปัญหาดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งยกระดับความรู้ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงแนวทางการป้องกันชุมชนและทรัพยากรของตน ผ่านการเรียนรู้สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทุกคนพึงมี เพราะเราไม่รู้ว่า เมื่อใดความไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับเราหรือชุมชนของเรา
ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน
boomsharang โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
สะกิดเตือนให้ผู้ใช้สื่ออนไลน์เช็คและคิดก่อนที่จะแชร์ข้อมูลใดๆออกไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียย้อนกลับมา