สื่อศิลป์ SE - สกาวกวิน กาญจนเสมา กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
เพื่อน - สกาวกวิน กาญจนเสมา ผู้ประสานงานโครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนล้านนา เปิดใจถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ตนเองได้รับเมื่อมีโอกาสมาทำงานกับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม จากเดิมที่ตนเป็นคนไม่กล้าแสดงออก หรือการพูดในที่สาธารณะ ขณะนี้ตนมีทักษะการพูด การแสดงออกเพื่อสื่อสารงานที่ขับเคลื่อน รวมทั้งมีทักษะในการประสานงานกับเครือข่ายภาคีในการเปิดพื้นที่สืบสานล้านนาให้กว้างขวางขึ้น ที่ไม่เพียงเป็นการสานพลังของรากเหง้าในชุมชน ยังเป็นการส่งต่อภูมิปัญญาล้านนาให้กับคนรุ่นใหม่ได้นำมาผสมผสานกับวัฒนธรรมอุษาคเนย์ หรือตะวันตก เพื่อสร้างสรรค์เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นที่จากรุ่นสู่รุ่น กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/jP_8ScWwZ_/
สื่อศิลป์ SE - แววดาว ศิริสุข กับ โครงการพัฒนาต้นแบบวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) สืบสานภูมิปัญญาล้านนา
คุณแววดาว ศิริสุข ได้เล่าถึงความสำเร็จของการขับเคลื่อน “โครงการสืบสานล้านนาสร้างสรรค์ ต่อยอดภูมิปัญญา นำพาวิสาหกิจชุมชนยั่งยืน” ที่เกิดจากถ่ายทอดภูมิรู้จากผู้อาวุโสของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อส่งต่อไปยังเด็กเยาวชนที่จะเติบโตมาเป็นพลังสำคัญในการสร้าง พื้นที่ดี-ภูมิดี-สื่อดี โดยที่ผ่านมามีผลงานน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ กิจกรรม “กินข้าวซอย กอยน้ำปิง อิงประวัติศาสตร์” ที่นำแนวคิดชุมชนพึ่งพาตนเอง มาออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม จนเป็นที่นิยมและรู้จักของนักท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้และความยั่งยืนให้กับท้องถิ่น และอีกหนึ่งกิจกรรม คือ “ฟ้อนล้านนาเพื่อการบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ” เป็นการผสามผสานระหว่างความบันเทิงกับการออกกำลังกาย ช่วยสานสัมพันธ์ของคนต่างวัยให้สามารถทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรง กดลิงค์เพื่อเข้าชมคลิป https://fb.watch/im2Aoy0PgO/
นิเวศวิทยาแนวลึก
บทความที่จะช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้เข้าใจความหมายของระบบนิเวศวิทยาแนวลึกและเปลี่ยนวิถีความคิดเดิมๆ ของเราที่มีต่อธรรมชาติ เพราะธรรมชาติไม่ได้เกิดมาเพื่อรับใช้มนุษย์ แต่ทุกสรรพสิ่งมีคุณค่าในตัวเองและล้วนมีความเชื่อมโยงกัน มนุษย์เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบนิเวศไม่ได้มีความสำคัญที่สุดในข่ายใย อีกทั้งมนุษย์เองที่นำมาซึ่งวิกฤตสิ่งแวดล้อม แนววิถีคิดเดิมของเราที่มีต่อธรรมชาติไม่สามารถแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อมได้ ทางออกของวิกฤตนี้ คือ การเปลี่ยนแปลงวิถีความคิดเดิมและทำความเข้าใจต่อระบบนิเวศวิทยา ว่าทุกสรรพสิ่งในธรรมชาติล้วนเชื่อมโยงและต้องพึ่งพาอาศัยกัน
สมุนไพรในพระไตรปิฎก
ในยุคปัจจุบันที่คนไทยได้หันกลับมาส่งเสริมการใช้สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยกันอย่างจริงจังมากขึ้น หนังสือ “สมุนไพรในพระไตรปิฎก” จัดทำขึ้นเพื่อ ค้นคว้า ศึกษาพืชในพระไตรปิฎกและจำแนกพืชตามหลักชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชหรือสมุนไพรให้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการต่อยอดและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้าสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป
พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย
หนังสือ “พระพุทธสาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย” เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ ที่ได้จากการศึกษาในหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับ “พระธรรมวินัย” และ “พระพุทธศาสนาของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นที่มาของการนำภูมิปัญญาสุขภาพในพระไตรปิฎกและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มาผสมผสานกันจนกลายมาเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน
การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา
หนังสือ ”การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา” เป็นการศึกษารวบรวมความรู้หลักการในพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นข้อมูลความรู้ในการสื่อสารสาธารณะ ให้เกิดการเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาและการดูแลสุขภาพ โดยจะมุ่งเน้นสำรวจความเหมือนและต่างกันในการนำหลักแนวคิดจากพุทธศาสนามาใช้ในการแพทย์แบบดั้งเดิมของทั้งพม่าและแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นแนวทางให้กับแวดวงการแพทย์ดั้งเดิมของไทยในการเรียนรู้เข้าใจหลักการและแนวทางปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขว้างมากยิ่งขึ้น
3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข
คลิปแอนิเมชั่น ชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข ทุกวันนี้เด็กๆ จะเติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง จำเป็นที่ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่ใกล้ชิด จะต้องสร้างภูมิดีให้กับเด็กๆ ซึ่งคำว่าภูมิดีนี้ ไม่ได้หมายความเพียงแค่ภูมิปัญญาทางความรู้ แต่หมายถึงภูมิความรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันสังคม เท่าทันตนเอง เด็กที่มีภูมิที่ดี จะช่วยคุ้มครองป้องกันให้เขาเติบโต ดำเนินชีวิตไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
เอิ้นเน้อ Issue 3 : จุดประกายฝายพญาคำ ความยั่งยืน ภูมิปัญญา และประชาธิปไตย
เพราะมนุษย์กับน้ำเป็นสิ่งที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มนุษย์อยู่ไม่ได้หากขาดไร้ซึ่งแหล่งน้ำ เอิ้นเน้อ ฉบับที่ 3 นี้จึงขอพาไปเรียนรู้ภูมิปัญญาโบราณการจัดการน้ำของคนล้านนา โดยกรณีศึกษาที่เหมืองฝายพญาคำ ที่วันนี้ยังคงมีการจัดการน้ำอย่างเข้มแข็ง สืบต่อรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง การจัดการน้ำยังผูกพันกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ที่ร้อยเชื่อมโยงทุกคนในชุมชนเข้าไว้ให้เป็นหนึ่งเดียว
หนังบักตื้อที่โรงเรียนบ้านเพียมาต
โรงเรียนบ้านเพียมาต (รัฐราษฎร์พิทยาคาร) ที่ จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนแห่งนี้ได้นำเอาภูมิปัญญาที่มีคุณค่า และชุมชนที่เข้มแข็งมาสร้างเป็นหลักสูตรพิเศษ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้กับเด็ก ๆ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การนำหนังบักตื้อ ที่เป็นศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชุมชน มาถ่ายทอดให้เด็ก ๆ โดยครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากทักษะที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มภูมิดีให้เด็ก ๆ ได้ภาคภูมิใจในคุณค่าของชุมชนของตนเอง
บะหมี่เกี๊ยวสมุนไพรเงินแสน - ดีจังอีสานตุ้มโฮม
กิจกรรมการสอนทำบะหมี่เกี๊ยวสมุนไพรโรงเรียนบ้านเทิน ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพการขายบะหมี่เกี๊ยวสมุนไพรให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถนำความรู้และทักษะไปต่อยอดทำเป็นอาชีพเลี้ยงตนเองได้ ซึ่งเด็กนักเรียนให้ความสนใจกันเป็นอย่างมากเพราะได้ใช้ทักษะในการปฏิบัติและได้รับความสนุกสนานในการเรียนรู้ ทั้งการปลูกผักด้วยตนเองและเรียนรู้การทำบะหมี่เกี๊ยวเพื่อสุขภาพสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่น
เรื่องเล่าจากโต๊ะ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด วิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่เปลี่ยนไปตามตรรกะที่อุบัติขึ้นแม้แต่ในตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ วิถีชุมชนเดิมเริ่มเปลี่ยนไปเน้นบริโภคนิยม เกิดการแข่งขันและไล่ตามวัตถุนิยมมากขึ้น “เรื่องเล่าจากโต๊ะ” เป็นเรื่องราวที่ปราชญ์ ครูภูมิปัญญา หรือผู้เฒ่าในชุมชน ได้ถ่ายทอดเรื่องราววิถีการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับท้องทะเล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงที่ตกทอดเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบ้านเรือนท้องถิ่น จากอดีตกาลที่เป็นเอกลักษณ์จวบจนปัจจุบัน ผ่านกิจกรรมในโครงการศิลปะสร้างสรรค์ โกงกางสร้างสุข ชุมชนสร้างภูมิปัญญา ดำเนินงานโดย กลุ่มละครมาหยา ศูนย์สื่อสารเด็กไทยมุสลิม เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับหน่วยงาน องค์กร โรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งสืบสานเอกลักษณ์ของดีในพื้นที่และวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงให้ยั่งยืน
สื่อศิลปวัฒนธรรมสู่มหาลัยภูมิปัญญาแห่งอีสาน
“คู่มือการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน” โดย เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เป็นการถอดแบบบทเรียนกระบวนการการทำงานของ 9 เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ที่ได้ดำเนินการแบบแยกส่วนอยู่ในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ทั้งจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา เลย สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งทั้ง 9 เครือข่ายนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการนำสื่อศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ชุมชน ทั้งละคร หมอลำ หนังประโมทัย การทอผ้า ดนตรี กันตรึม ผญา และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟู เยียวยา กล่อมเกลา สร้างสรรค์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภาคอีสาน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้พัฒนาบ้านเกิดของตนเองต่อไป