3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข
คลิปแอนิเมชั่น ชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน ภูมิดีมีสุข ทุกวันนี้เด็กๆ จะเติบโตขึ้นได้อย่างมั่นคงแข็งแกร่ง จำเป็นที่ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ คุณครูและผู้ใหญ่ใกล้ชิด จะต้องสร้างภูมิดีให้กับเด็กๆ ซึ่งคำว่าภูมิดีนี้ ไม่ได้หมายความเพียงแค่ภูมิปัญญาทางความรู้ แต่หมายถึงภูมิความรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันสังคม เท่าทันตนเอง เด็กที่มีภูมิที่ดี จะช่วยคุ้มครองป้องกันให้เขาเติบโต ดำเนินชีวิตไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
3 ดีสร้างสุข ตอน ปฐมวัยสร้างสุข
คลิปแอนนิเมชั่นชุด 3 ดีสร้างสุข ตอน ปฐมวัยสร้างสุข เนื้อหาเจาะลึกถึงการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีความสุขด้วยหลักการ 3 ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี หากคุณพ่อคุณแม่ และคุณครูเข้าใจถึงความหมายของ 3 ดี และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กๆ ได้อย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้เด็กๆ เติบโตอย่างมีสุขภาวะครบทุกมิติ ทั้งกาย ใจ สังคม ปัญญา
หนังบักตื้อที่โรงเรียนบ้านเพียมาต
โรงเรียนบ้านเพียมาต (รัฐราษฎร์พิทยาคาร) ที่ จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนแห่งนี้ได้นำเอาภูมิปัญญาที่มีคุณค่า และชุมชนที่เข้มแข็งมาสร้างเป็นหลักสูตรพิเศษ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้กับเด็ก ๆ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การนำหนังบักตื้อ ที่เป็นศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชุมชน มาถ่ายทอดให้เด็ก ๆ โดยครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากทักษะที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มภูมิดีให้เด็ก ๆ ได้ภาคภูมิใจในคุณค่าของชุมชนของตนเอง
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
บทเรียนชุมชน 3 ดีวิถีสุข การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาพื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี
หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข” ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.
บ้านสาวะภี สินไซโมเดล 2 เมืองวิถีสุข พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี
บทสรุปการดำเนินงานของโครงการสินไซโมเดลเมืองสามดีวิถีสุขปี 2 ผ่านกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมได้แก่ ค่าย, สัญจร, การแลกเปลี่ยน และการถอดบทเรียน โดยชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่นแห่งนี้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบเมือง 3 ดีของภาคอีสาน (พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี) ที่เป็นพื้นที่กลางในการปฏิบัติงานของเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เรื่องราววรรณกรรมสินไซซึ่งเป็นเรื่องเล่าของแผ่นดินล้านช้าง สามารถเชื่อมโยงคนทํางานสื่อพื้นบ้านจากหลากหลายสาขาในภาคอีสาน เข้ามาปฏิบัติการด้วยกันจนสําเร็จในปีแรก ด้วยสื่อหลากหลายชนิดทั้ง เพลงกล่อมลูก, กันตรึม, ทอผ้า, หมอลํา หุ่น, หนังตะลุง, เพลง และการสืบค้นภูมิบ้านภูมิเมืองของตนเอง วรรณกรรมสินไซ สามารถเป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นสื่อกลางของชุมชนแห่งนี้ เป็นการการันตีในการเชื่อมประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน บ้าน วัด โรงเรียน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
คลิปวิดีโอประมวลกิจกรรมของคุณครูและเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์) ภายใต้แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง เท่าทันสังคม
กองทุนสื่อสร้างสรรค์ ฉบับประชาชน
คลิปกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ฉบับประชาชนนี้ เป็นคลิปสื่อสารรณรงค์เพื่อให้ประชาชนช่วยกันลงชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ฉบับประชาชน เพื่อผลักดันให้เกิดกองทุนสื่อสร้างสรรค์ ที่จะเป็นกลไกสำคัญในการทำให้เกิดสื่อสร้างสรรค์ในประเทศไทย เปลี่ยนสื่อร้ายเป็นสื่อดี เกิดพื้นที่ดี นำสู่ภูมิดีและการพัฒนาเด็กในทุกมิติ
4 ขั้นตอนพาลูกเรียนรู้ จากพื้นที่ชุมชน
พื้นที่ชุมชนเป็นอีก 1 พื้นที่ดีและพื้นที่สร้างสรรค์ที่น่าสนใจ ลองพาเด็ก ๆ ไปเรียนรู้จากชุมชน ด้วยเทคนิควิธีการ 4 ข้อนี้ ได้ทั้งความสนุก ความคิดและความรู้ไปพร้อม ๆ กัน
3 องค์ประกอบสร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก
ร่างกายยังต้องมีการฉีดวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง จิตใจก็จำเป็นต้องได้วัคซีนเช่นเดียว มาเรียนรู้ 3 เทคนิคช่วยสร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้ลูก ถ้ามีภูมิใจที่แข็งแรง เด็ก ๆ ก็จะเติบโตขึ้นอย่างมั่นใจและมีความสุข
หลักการสร้างภูมิดี
ภูมิดี หมายถึง การที่เด็กมีภูมิปัญญา เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม ชวนคุณพ่อคุณแม่มาเรียนรู้หลักการสร้างภูมิดี เพื่อให้เด็ก ๆ เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีภูมิดีเป็นรากยึดที่แข็งแรงทั้งปัญญาและคุณธรรมต่อไปในอนาคต