trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ภัยออนไลน์" พบ 29 ข้อมูล

หวังเซ็กส์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด Beware Sextortion

เสียรู้ เสียทรัพย์ เสียสุขภาพจิต หวังเซ็กซ์ออนไลน์ อันตรายกว่าที่คิด วิดีโออินโฟกราฟฟิค ที่จะช่วยเตือนสติวัยรุ่นหลายๆ คน ถึงเรื่องการไว้ใจคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ เพื่อหวังความสนุก ตื่นเต้น เพียงชั่วครู่ ซึ่งที่จริงนั้นแฝงไว้ด้วยภัยอันตราย เพราะเมื่อตกเป็นเหยื่อนอกจากจะทำให้เสียทรัพย์ ยังทำให้เสียสุขภาพจิต เสื่อมเสียชื่อเสียงและสร้างความอับอายให้แก่ตัวเองและครอบครัว

ภาพลับเพื่อคนรัก เมื่อหมดรัก อาจไม่ลับ อย่าไว้ใจใคร ฺBeware sexting stalking

คลิปวิดีโอ ที่จะช่วยเตือนสติทั้งกับวัยรุ่นและคนทั่วไปว่า “อย่าไว้ใจใคร” แม้จะเป็นคนที่เรารักมากก็ตามก็ไม่ควรส่งภาพลับ หรือ แชร์ข้อมูลส่วนตัวที่อาจกลายเป็นเครื่องมือให้อีกฝ่ายนำกลับมาใช้ทำร้ายเราในภายหลังเมื่อหมดรักต่อกัน นอกจากจะทำให้เราเสียชื่อเสียง เสียความรู้สึก เสียสุขภาพจิตและยังอาจจะถูกติดตามรังควานจากคนแปลกหน้าอีกด้วย

CyberBully

“อย่างให้ความสนุกของเราไปทำร้ายใคร” คลิปวิดีโออินโฟกราฟฟิค CyberBully ที่ช่วยเตือนสติ เรื่องการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งและเกิดขึ้นกับทุกแวดวงสังคม จากการนำปมด้อยและข้อผิดพลาดของผู้อื่นมาเผยแพร่และล้อเลียนด้วยความขบขัน เพียงเพื่อสร้างสีสันและเสียงหัวเราะบนโซเชียลมีเดีย โดยไม่ได้คำนึงว่าความสนุกดังกล่าวจะเป็นการสร้างความอับอายและผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นต่อจิตใจของผู้ที่ถูกรังแก

Infographic แนวปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเด็ก กรณีภัยออนไลน์

ข้อแนะนำและแนวทางการปฏิบัติสำหรับสื่อมวลชนที่ควรพึงระวัง ในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนเรื่องภัยออนไลน์ โดยต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมเป็นหลัก ทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอข่าว ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล อีกทั้งข้อควรระวังต่างๆ ที่จะไม่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ในทางลบแก่เยาวชนหรือสร้างกระแสวิจารณ์จากสาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อตัวเยาวชนและครอบครัวในภายหลัง

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563

แม้ว่ายุคปัจจุบันเยาวชนไทยเติบโตขึ้นมากับการใช้อินเทอร์เน็ตและมีอิสระในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสื่อออนไลน์ยังเป็นตัวกลางในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและด้วยความคุ้นชินกับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างอิสระนี้ อาจทำให้หลงลืมเรื่องภัยที่มากับโลกออนไลน์ คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ชุดนี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางป้องกันภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย ที่สุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สำรวจป้องกันและช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง

Child Online  Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562

ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์  พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83%  ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน  และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์”  จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย    

แอพพิษเคชั่น

ผลงานหนังสั้นของเด็ก ๆ และเยาวชนในโครงการ Young filmmakers of Thailand เนื้อเรื่องเล่าถึงเด็กคนหนึ่งจากเด็กดีตั้งใจเรียน เมื่อได้รับ Tablet เป็นของขวัญ แต่ด้วยความไม่รู้เท่าทัน หลงเชื่อเพื่อนรุ่นพี่เข้าสู่การพนันบอลในโลกออนไลน์จนติดงอมแงม เป็นหนี้เป็นสิน เสียการเรียน เสียอนาคต

Cyber Kid 18 ตอน แจ้งไทยฮอตไลน์

Cyber kid ตอนนี้นำเสนอเรื่องของการสวมรอยบนสื่อโซเชียลมีเดีย แล้วไปก่ออาชญากรรมบนโลกออนไลน์ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น เด็ก ๆ สามารถคลิกแจ้งลบได้ หรือแจ้งไปที่ thaihotline.org จะมีเจ้าหน้าที่ช่วยประสานงานแจ้งลบให้ได้อีกทางหนึ่ง

Cyber Kid 10 ตอน การสั่งซื้อของทางอินเทอร์เน็ต

Cyber kid ตอนนี้ว่าด้วยภัยร้ายจากการสั่งซื้อของออนไลน์ ที่ผู้บริโภคทุกคนจำเป็นต้องรู้เท่าทัน เช็คข้อมูลให้ถูกต้อง เพราะหากตกเป็นเหยื่อแล้ว บางครั้งนอกจากเสียเงินแล้ว ยังอาจอันตรายถึงชีวิตได้ 

Cyber Kid 09 ตอน Phishing

Cyber Kid ตอนนี้พาไปรู้จักกลลวงของมิจฉาชีพออนไลน์ที่เรียกว่าการตกเบ็ดหรือ Phishing โดยการใช้อีเมลหลอกลวงเหยื่อว่าโชคดีได้รับรางวัล แต่ต้องเปิดเผยข้อมูลทางบัญชี ซึ่งหากหลงเชื่อ มิจฉาชีพก็จะใช้ข้อมูลที่เราส่งให้ ทำการโจรกรรมเราให้สูญเสียเงินทองจากบัญชีของเราเอง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.