สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี
สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย
การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงเวลารายการเด็กและเยาวชน
ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก มีโฆษณาสินค้าปรากฎอยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งการโฆษณาจริงและโฆษณาแฝง หากแต่ยังไม่เคยมีการสนับสนุนแนวทางการจัดการกับสิ่งที่โฆษณาส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและเยาวชน มีเดียมอนิเตอร์จึงศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยได้สำรวจการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มทางฟรีทีวี ในช่วงวันและเวลารายการสำหรับเด็กและเยาวชน ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. - 7 เม.ย.57 ทั้งนี้เพื่อนำผลที่ได้ไปสนับสนุนแนวทางการจัดการกับผลกระทบต่อเยาวชนและขับเคลื่อนมาตรการและนโยบายด้านการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มต่อไป
การตลาดแบบตรงทางโทรทัศน์กลุ่มดิจิตอล HD
รายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ นับเป็น 1 ในรูปแบบธุรกิจการตลาดแบบขายตรง เป็นการขายสินค้าผ่านหน้าจอที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 20 ปี แต่ก็ยังคงมีคำถามถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและการเคารพกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค มีเดียมอนิเตอร์จึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาถึงปริมาณ รูปแบบ และลักษณะของรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัล (HD) โดยศึกษาทั้งหมด 7 ช่อง ครอบคลุมหน่วยการศึกษาทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ผลสรุปมีทั้งเชิงปริมาณของรายการ กลยุทธ์ที่ใช้ในการขาย รวมไปถึงการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมทางวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแก่สังคมและเพื่อต่อยอดนำสู่การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป