รวมพล มหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮมปี 5 จังหวัดอุดรธานี
คลิปวิดีโอประมวลบรรยากาศสนุก ๆ จากงานรวมพลมหกรรมดีจัง อีสานตุ้มโฮมปี 5 จังหวัดอุดรธานี แนวคิดหลักเป็นการแสดงงานศิลปะประเพณีของดีของจังหวัดอุดรธานี โดยความร่วมมือจากสมาชิก 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ ม.มหาสารคาม ม.กาฬสินธุ์ ม.ราชภัฎศรีสะเกษ และ ม.ราชภัฎอุดรธานี เป็นการเปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้เข้ามาร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ อย่างมีความสุข
พื้นที่สร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-จังหวัดอุดรธานี
น้อง ๆ เยาวชนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เดินหน้าสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับน้องๆ ในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในตอนนี้ เราจะไปดูน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ โรงเรียนชุมชนวังทอง เน้นประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เรียนรู้การทำสื่อด้วยตนเอง ทำให้น้อง ๆ ได้รู้วิธี กระบวนการผลิตสื่อ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรมไปพร้อมกัน
ศรีสะเกษติดยิ้ม ปี3 ตอน เรื่องกินเรื่องใหญ่
คลิปวิดีโอประมวลภาพ สรุปเรื่องราวของงานโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ปี 3 ตอนเรื่องกินเรื่องใหญ่ ถอดบทเรียนศรีสะเกษติดยิ้ม 3 ปี ขยายผลสู่ 8 จังหวัดเครือข่ายอีสานตุ้มโฮมในปี 2560 นอกจากจะเห็นบรรยากาศงานแล้ว ในคลิปยังมีบทสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในโครงการตั้งแต่ผู้ดูแลไปจนถึงเด็ก ๆ เยาวชนที่เป็นหัวใจหลักของโครงการ ที่มาช่วยกันสร้างสรรค์หยิบเรื่องกินให้กลายเป็นมาสื่อสร้างสรรค์ส่งต่อเรื่องดี ๆ ในชุมชน
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้
13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554 ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง
หมอลำหุ่น สื่อศิลปะของกลุ่มออมทอง มหาสารคาม
ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทย เน้นเรื่อง “ศาสตร์” แต่ขาดศีลธรรมและจริยธรรม ทำให้คนเราขาดเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้เผชิญหน้ากับกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อนของปัญหาทางสังคม กลุ่ม “ออมทอง” จึงริเริ่มถอดองค์ความรู้จากการดำเนินโครงการ “หมอลำหุ่น” เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมเสพติดวัตถุนิยมแก่เยาวชน ให้เยาวชนได้รู้จักเรียนรู้เท่าทันตนเองและคุณค่าของวิถีชุมชนผ่านงานสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่ผสมผสานเรื่อราวของพระพุทธศาสนาเข้ากับกระบวนการศิลปะบูรณาการหลายแขนง อีกทั้งยังปลูกฝังคุณธรรมและคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เยาวชนได้สืบสานอัตลักษณ์ของชาวอีสานให้ยั่งยืนต่อไป
จุลสาร ร หัน เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2554
ไปรู้จักกับ 'ถนนเด็กเดิน' ถนนสายศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่สะท้อนทั้งอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาของชุมชนได้อย่างน่ารักและลงตัว เป็นการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้ชุมชนและเด็ก ๆ ได้เรียนรู้รากเหง้าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปพูดคุยกับตัวแทนเยาวชน 3 พื้นที่สร้างสรรค์ ปิดท้ายด้วยการชวนเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ที่ชุมชนบางหลวง ย้อนเวลาไปดื่มด่ำในยุค ร.ศ.112 ให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นคุณค่าและช่วยกันสืบสานต่อไป
ตะลุยเมือง 3 ดีต่างแดน @George Town 2014
ตะลุยเมือง 3 ดี @George Town 2014 เป็นหนังสือเล่มเล็กที่เล่าสรุปถึงเมืองจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อครั้งที่สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน พากลุ่มภาคีเครือข่ายเมือง 3 ดีไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ศิลปะมาเป็นตัวเชื่อมโยงเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ว่าจะเป็น การถ่ายรูป หุ่นเงา วาดภาพ หรือการทำอาหารประจำชุมชน ทำให้เยาวชนเกิดความรัก หวงแหนในเมืองจอร์จทาวน์ ไม่ใช่ในฐานะเมืองมรดกโลก แต่เป็นชุมชนของตัวเอง หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จะพาไปรู้จักกิจกรรมและพื้นที่สร้างสรรค์ในจอร์จทาวน์ทุกมุม ผนวกด้วยเส้นทางการเดินทาง โรงแรม ประหนึ่งคล้ายหนังสือท่องเที่ยวเล่มเล็ก ๆ ที่ให้ผู้อ่านได้เพลิดเพลินสนุกกับการเรียนรู้และพร้อมจะออกเดินทางไปสู่เมืองแห่งศิลปะนี้ด้วยกัน
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข พฤษภาคม 2558
ไปรู้จักมหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ ตอน เด็กบันดาลใจ ก้าวใหม่ของการเปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนทุกวัย ครอบครัว และผู้ปกครอง ได้รู้จัก เข้าใจ และเข้าถึงสื่อดีสื่อสร้างสรรค์ที่เหมาะกับเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างเยาวชนรุ่นใหม่ให้กลายเป็นเด็กไทย 'คิดได้ คิดเป็น'
10 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์
การเลี้ยงลูกในยุคไซเบอร์ ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ จัดสรรหาเวลาให้ลูก ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว เพื่อลดทอนเวลาในการติดเกมและอินเทอร์เน็ต ปลูกฝังวินัยและความรับผิดชอบให้ลูก ที่สำคัญอย่าลืมชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ดีงาม