ร้านยิ้มสู้ คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ
“ปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงานมีทั้งหมดประมาณ 7 แสนคนและยังมีศักยภาพที่ความสามารถทำงานได้ประมาณ 4 แสนคน ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนมีความพิการซ้ำซ้อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทว่าหากสังคมไทยมองข้ามความบกพร่องของผู้พิการสู่การเติมเต็มความแตกต่างแล้ว คนพิการจะสามารถทำงานได้มากกว่าอาชีพขอทานอย่างแน่นอน” ศ. ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวไว้ และนี่เองคือแนวคิดของ “ยิ้มสู้คาเฟ่” ร้านคาเฟ่ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เพราะที่นี่มีคนพิการแตกต่างกัน ทว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยหัวใจที่ไม่พิการ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
เปิดโลกอาสา : มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ
"เด็กคนหนึ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วเป็นเด็กพิการ ถ้าเขาได้รับศักยภาพ ได้รับความรู้ต่างๆ คุณพ่อคุณแม่ได้รับความรู้เพื่อที่จะฟื้นฟูลูกให้ดีขึ้น มันดียังไง เด็กคนนั้นจะมีโอกาสได้ก้าวต่อไป การช่วยเหลือเด็กจากจุดเริ่มต้น คนที่สำคัญที่สุดคือ ครอบครัวเด็กพิการ ไม่ใช่พวกเรา ไม่ใช่คุณครู ไม่ใช่คุณหมอ แต่เป็นครอบครัวเด็กพิการ ซึ่งสำคัญมาก " เปิดโลกอาสา ตอน เด็กและเยาวชน พาคุณไปรู้จักกับ “มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ” องค์กรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการ โดยเฉพาะเด็กพิการทางสมอง หรือ CP ซึ่งมีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว มูลนิธิเพื่อเด็กพิการเชื่อมั่นในพลังของครอบครัว และพลังความรักของพ่อแม่ การฟื้นฟูและช่วยพัฒนาศักยภาพของเด็กพิการ จึงเน้นให้ครอบครัวเป็นพื้นฐานของการฟื้นฟู ด้วยการอบรมทักษะความรู้ให้กับผู้ปกครองและเด็กทำกิจกรรมร่วมกัน อาทิ การทำกายภาพ การนวดไทย การเคลื่อนไหวต่าง ๆ เมื่อครอบครัวของเด็กมีเข้มแข็ง เด็กก็จะมีพัฒนาการที่แข็งแรงตามมา มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ: ที่อยู่: 546 ซอยลาดพร้าว 47 ถนนลาดพร้าวแขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์: 02-539-2916,02-539-9958 โทรสาร: 02-539-9706 Email: fcdthailand@yahoo.com
Bridger โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ขั้นตอนการออกแบบและผลิตเสื้อผ้าต้นแบบที่เหมาะสำหรับผู้พิการแต่ละประเภท ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ได้จริง
Bridger คลิปวีดีโอ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
การออกแบบและผลิตเสื้อผ้าต้นแบบที่เหมาะสำหรับผู้พิการแต่ละประเภท ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้ได้จริง
WILL SHARE (Wheel Chair) - What is Universal Design โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม
WILL SHARE (Wheel Chair) ผลงาน Animation - It will be (If we shared) โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม Animation "IT WILL BE (IF WE SHARED) "สังคมของเราจะเป็นอย่างไร... เมื่อสภาพแวดล้อมพร้อมสำหรับทุกคน
WILL SHARE (Wheel Chair) ละครหุ่นสั้น HAPPY PUFFY SHOW โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม "THE HAPPY PUFFY SHOW" Puppet Show อารมณ์ดี ที่จะทำให้คุณเห็นถึงประโยชน์ของ Universal Design
WILL SHARE (Wheel Chair) การ์ตูน Everyday is Troubleโดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม การ์ตูนรวบรวมปัญหาอันเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อันเนื่องจากการขาด Universal Design ที่สมบูรณ์ในสังคม
WILL SHARE (Wheel Chair) Infographic โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Universal Design อารยสถาปัตย์ เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อมให้ตอบรับกับทุกคน เพราะเป็นการออกแบบ ปรับเปลี่ยน ปรับใช้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะแก่การใช้งานของทุกคนไม่เฉพาะผู้พิการ แต่ยังรวมถึงผู้สูงอายุ เด็ก และทุกๆ คน จึงมุ่งให้คนในสังคมเข้าใจถึงประโยชน์และความจำเป็นของ University Design จึงออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคม Infographic เสนอ "หลัก 7 ประการ" ที่สำคัญของ Universal Design และ Universal Design ตามสถานที่ต่างๆ มีความสำคัญอย่างไรต่อผู้พิการ ?
ฉัน (ไม่) พิการ stop motion ผลงานจาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากแนวคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดให้เกิดความพิการขึ้น ไม่ใช่เกิดจากการพิการทางร่างกายเท่านั้น และความพิการเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน จึงต้องการให้ความรู้ สร้างเข้าความใจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้พิการ เป็นการช่วยปรับทัศนคติให้เข้าใจผู้พิการมากขึ้น และให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับผู้พิการเทียบเท่าคนปกติ
ฉัน (ไม่) พิการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
จากแนวคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนดให้เกิดความพิการขึ้น ไม่ใช่เกิดจากการพิการทางร่างกายเท่านั้น และความพิการเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน จึงต้องการให้ความรู้ สร้างเข้าความใจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้พิการ เป็นการช่วยปรับทัศนคติให้เข้าใจผู้พิการมากขึ้น และให้ภาครัฐให้ความสำคัญกับผู้พิการเทียบเท่าคนปกติ
หนังสือ My Right ความฝัน ขาฉัน ไดอารี่ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ไดอารี่เล่มนี้ เขียนขึ้นโดยนักศึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ และภาคนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ต้องการสะท้อนมุมมอง ความรู้สึกนึกคิดของคนพิการกับการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม เข้าถึงสิทธิ กฎหมาย สวัสดิการ และสิ่งต่างๆ ที่ผู้พิการพึงจะได้รับ แม้เรื่องราวจะเป็นตัวละครสมมติ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่พบเห็นได้จริงในสังคม ไดอารี่เล่มนี้ จึงเป็นเสียงสะท้อนที่บอกไปยังคนในสังคมได้ตื่นตัวในการเปิดพื้นที่และสิทธิเพื่อดูแลผู้พิการให้ได้รับความเท่าเทียมทางสังคม