เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล
หนังสือเรื่อง “เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล” เป็นการเรียบเรียงมุมมอง แนวคิดและข้อเสนอของกลุ่มคนที่เห็นว่า ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายให้กับประชาชน ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อฯ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างพลังจาก “ผู้ใช้เน็ต” สู่การเป็น “พลเมือง” ที่มีอำนาจในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง
MIDL : DQ for Citizenship
การสร้างความฉลาดในยุคนี้ ไม่ใช่มีแค่ IQ หรือ EQ อีกต่อไป แต่พลเมืองในยุคสื่อสารออนไลน์หรือยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องมีความฉลาดอีก 1 ตัว นั่นคือ DQ หรือ Digital Intelligence ซึ่งประกอบด้วย 8 คุณลักษณะสำคัญที่ได้รับการกำหนดและยอมรับในระดับสากล ทั้ง 8 คุณลักษณะของ DQ นี้ นอกจากจะทำให้ตัวเราปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังจะทำให้เราไม่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือทำร้ายคนอื่นในโลกออนไลน์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ
MIDL : Online Hate Speech
เราทุกคนรู้ดีว่าเรามีสิทธิเสรีภาพในการพูดอะไรก็ได้หรือที่เรียกว่า Free Speech แต่ในสิทธิเสรีภาพที่เรามี เราก็ต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากคำพูดของเราด้วย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้บางครั้งเราอาจเผลอไผลใช้คำพูดของเราทำร้าย แบ่งแยกความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ ฯลฯ จนลุกลามกลายเป็นการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย ผลิตซ้ำความเกลียดชัง สร้างผลร้ายลุกลามไปทั่วทั้งโลกออนไลน์และสังคมในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือ Hate Speech ในโลกออนไลน์ การติดอาวุธรู้เท่าทันสื่อ ไม่สร้าง Hate Speech เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในโลกจริงหรือโลกออนไลน์ คือหน้าที่พลเมืองที่มีคุณภาพและก่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพต่อไป
Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL)
"การใช้ hate speech อาจเกิดขึ้นโดยผู้ใช้อาจจะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้ท้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้" เปิดมุมมอง Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล จาก ‘ครูโจ๊ก’ ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต Natthameth Dulkanit โรงเรียนราชวินิต มัธยม ครูในเครือข่าย MIDL School
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 4
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอกรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) เน้นการพัฒนาใน 4 มิติคือ การรู้ตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยแบ่งการพัฒนาพลเมืองเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 3
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลเจาะลึกการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ที่เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) โดยแบ่งพลเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เรียนรู้รายละเอียดของพลเมืองแต่ละแบบผ่านแนวคิดหลัก แนวปฏิบัติ และตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบที่ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม