10 พฤติกรรมการใช้ยาผิดๆ
ยารักษาโรค หากใช้ผิดวิธีอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ จากการสำรวจพฤติกรรมของผู้ใช้ยา ส่วนใหญ่มักคิดว่าการใช้ยารักษาโรคคือการป้องกันโรค ทั้งที่แท้จริงแล้วการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรง นอกจากนี้การไม่ฟังคำแนะนำของเภสัชกร เพิ่มหรือลดยาด้วยตัวเอง การเก็บยาผิดวิธี การนำยาของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งการไม่มีวินัยในการใช้ยา เช่น ลืมกินยา ก็จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน
ลมแดด เลี่ยงได้
อากาศร้อนเกินไปทำให้เราเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะช่วงเดือนมีนาคม – เมษายนของทุกปี โดยในปี 2558 มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 41 ราย อันดับแรกเป็นเพศชายวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป สัญญาณการเป็นลมแดด คือ มึนงง เดินโซเซ ไข้สูง หายใจหอบลึก ชีพจรเต้นเร็ว และประสาทหลอน หากพบผู้ป่วยมีอาการดังกล่าว โทร 1669 หรือปฐมพยาบาลเบื้องต้น คือ พาเข้าที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก บรรเทาความร้อนในร่างกายด้วยการเช็ดตัว ประคบน้ำแข็ง และปลดเสื้อผ้าให้สบายตัว
เมนูปิ้งย่างสังสรรค์เซลล์มะเร็ง
เมนูปิ้งย่าง อาหารแสนอร่อยแต่แฝงอันตราย ควันจากการปิ้งย่างไขมันสัตว์ทำให้เกิดสารไฮโดรคาร์บอน การปิ้งย่างเนื้อแดงที่ความร้อนสูงเกิดสารกลุ่มเอมีนส์ และอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่มีแคลอรี่สูง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็ง หากอยากกินเมนูปิ้งย่าง ให้เลือกร้านที่อากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการปิ้งจนไหม้เกรียม และไม่กินอาหารแปรรูป และควรกินผักด้วยเสมอ
อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์
เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
ดูแลลูกยุคไซเบอร์(เด็กไทยทันสื่อ) ปี2555
“ดูแลลูกยุคไซเบอร์ (เด็กไทยทันสื่อ)” ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการดูแลลูกในยุคไซเบอร์ เพราะเด็กและวัยรุ่นอาจยังไม่รู้เท่าทันเรื่องภัยออนไลน์บนโลกไซเบอร์ ทั้ง ”เรื่องคนแปลกหน้า” ที่อาจไม่มีตัวตนจริงอย่างที่กล่าวอ้างหรืออาจเป็นมิจฉาชีพที่ปลอมแปลงมา “เนื้อหาต้องห้าม” ข้อความหยาบคาย อีเมลโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง และ ”ชุมชนออนไลน์” บางสังคมออนไลน์อาจชวนเราไปทำกิจกรรมที่ดีช่วยเหลือผู้อื่น แต่บางสังคมออนไลน์ก็ชวนให้เราแสดงความคิดเห็นในทางลบ ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่ลูกในเรื่องภัยออนไลน์และช่วยเสริมสร้างให้เขามี “วิจารญาณในการเสพข้อมูลบนเน็ต” รวมทั้งใช้สื่ออินเตอร์เน็ตไปในทางบวกและมีเป็นประโยชน์กับตัวเอง
แผ่นพับเมื่อเด็กติดเกม (เด็กไทยทันสื่อไอซีที่) ปี 2555
แผ่นพับที่ช่วยสร้างความตระหนักให้คุณพ่อคุณแม่และครอบครัวเห็นถึงผลร้ายของการติดเกม หลักง่าย ๆ ที่จะใช้สังเกตว่าลูกของเราเข้าข่ายเด็กติดเกมหรือไม่ รวมถึงวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อสังเกตเห็นว่าลูกของเราหรือเด็กในครอบครัวเริ่มเข้าข่ายติดเกม การแก้ปัญหาที่ถูกต้องจะช่วยให้เด็ก ๆ ค่อย ๆ เรียนรู้และจัดสรรเวลาเล่นเกมกับกิจกรรมอื่น ๆ ได้อย่างสมดุล
โปสเตอร์ 10 วิธีรู้ให้ทันสื่อ
อยากเป็นคนรู้ทันสื่อไม่ใช่เรื่องยาก แค่เรียนรู้ 10 วิธีรู้ให้ทันสื่อ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักสงสัย ตั้งคำถาม รู้เบื้องหน้าเบื้องหลังว่าสื่อนั้นมาจากไหน รวมถึงการรู้จักพิจารณาไตร่ตรองสิ่งต่าง ๆ ให้รอบด้าน ฯลฯ จำไว้ให้ขึ้นใจ 10 วิธีนี้ รับรองรู้ทันสื่อได้แน่นอน
ThaiHotline Eng
คลิป Thai Hotline (บรรยาย Eng) เป็นคลิปแนะนำเครื่องมือเฝ้าระวังสื่อที่ไม่เหมาะสมในโลกออนไลน์ที่ชื่อว่า Thai Hotline โดยทุกคนในสังคมมีส่วนช่วยในการสอดส่องสื่อร้ายได้ ด้วยการที่เมื่อพบเห็นสื่อที่ไม่เหมาะสม สามารถแจ้งไปที่ Thai Hotline โดยที่หลังจากนั้นทาง Thai Hotline จะมีการประสานงานกับต้นทางให้ถอดสื่อนั้นออกไป ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตาม ก็จะมีกระบวนการทางกฎหมายต่อไป