Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ปี2" พบ 30 ข้อมูล

Words Can Kill ฟังเสียงเด็ก - สปอตรณรงค์

สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงเด็ก ๆ กับความรู้สึกเมื่อได้ยินคำพูดทำร้ายจิตใจจากพ่อแม่ ลองเปิดใจ ฟังเสียงเด็ก และเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสมไม่ทำร้ายกัน ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน **

Words can kill ฟังเสียงผู้ใหญ่ - สปอตรณรงค์

สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงผู้ใหญ่ ที่มา เหตุผล และความรู้สึกของการใช้คำพูดของตนเองและความรู้สึกจากคำพูดของเด็กเมื่อย้อนกลับมา ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน 

Words can kill - โปสเตอร์

สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน 

Creative Shield - 1

ผลงานอินโฟกราฟิก โดยนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำเสนอเรื่องของพื้นที่สร้างสรรค์ จากการลงพื้นที่เรียนรู้ที่ชุมชนดวงแข กับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) โดยได้สะท้อนแนวคิดออกมาเป็นการทำสื่อ FB ชื่อ CreativeShield ในประเด็น ทำอย่างไรให้มีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Safe Space โดยสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง Safe Space ในความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง เกิดความเข้มแข็งที่จะปกป้องตนเองจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยอินโฟกราฟิกชิ้นนี้เป็น 1 ในผลงานที่ใช้ในการเผยแพร่

ต่างปลูก ต่างแปลง

ผลงานการสะท้อนคิดผ่านงานออกแบบชิ้นงานรูปแบบต่าง ๆ โดยนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรม ภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ จุฬาลงกรณ์ นำเสนอการให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ที่ผู้บริโภคต้องมีความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เราบริโภคเข้าไปว่ามีวัตถุดิบประกอบด้วยอะไร การผลิตด้วยวิธีใด มีสารตกค้างหรือไม่ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และนำเสนอทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยเกษตรอินทรีย์ที่มีกระบวนการทางธรรมชาติ ปลูกด้วยธรรมชาติ ไม่ปนเปื้อนสารเคมี

ซุปเปอร์มาเก็ต

เพราะเชื่อว่าเกษตรอินทรีย์เป็นคำตอบของความสุขที่ยั่งยืน ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์แก่ผู้บริโภค และการปลูกกับการผลิตที่ปราศจากสารเคมีนั้น จะทำให้ผู้บริโภคไม่เจ็บป่วย มีอาหารและสุขภาพที่ดี นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้สะท้อนความคิดประเด็นนี้ออกมาเป็นงานนิทรรศการชื่อ ซุปเปอร์มาร์เก็ต กระตุ้นเตือนให้คนได้เห็นว่า สิ่งที่แฝงมากับอาหาร บางอย่างเราไม่เห็น จึงคิดว่าไม่มี 

สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 2

สปอตรณรงค์ สะท้อนประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงเรียนรู้พื้นที่ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา สปอตชุดนี้มี 2 ตอน ตอนที่ 2 นี้เป็นการสรุปภาพรวมตัวเลขให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดตัวเลขความเสียหายทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ

สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 1

สปอตรณรงค์ ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้ลงพื้นที่เรียนรู้ประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกิน ณ ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานสปอตนี้จุดประเด็นกระตุ้นเตือนให้เราได้หันมามองคนในชุมชน คนในพื้นที่ ผู้ไม่อาจเข้าถึงโอกาสในการเป็นเจ้าของที่ดินทำกินและใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุมชนตนเองได้ตามความต้องการอย่างแท้จริง  

ป่าชายเมือง สารคดีสั้น ตอน จุดชมลิง

ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม ผลงานชุดนี้มีจำนวน 4 ตอน สำหรับตอนนี้เป็นนำเสนอในลักษณะสารคดีสั้นสะท้อนปัญหา 'จุดชมลิง' ย่านบางขุนเทียนชายทะเล ได้รับการโปรโมทเป็นสถานที่ให้คนมาชมลิง แต่ตอนนี้กำลังพบกับวิกฤติขยะที่เกิดขึ้นมากมาย 

ป่าชายเมือง นักข่าวพลเมือง ตอน ปลูกป่าชายเลน

ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม จำนวน 4 ตอน ในตอนนี้ นักข่าวพลเมือง พาไปคุยกับชาวบ้านต่อถึงแง่มุมของการปลูกป่าชายเลน เปิดข้อมูลความเป็นจริงให้เห็นว่าการปลูกป่าชายเลนควรทำอย่างไร และจะมีส่วนช่วยในการคืนชีวิตและความสมดุลให้กับธรรมชาติได้จริงหรือไม่? อย่างไร?

ป่าชายเมือง นักข่าวพลเมือง ตอน บางขุนเทียนกับความเปลี่ยนแปลง

ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม ผลงานชุดนี้มีจำนวน 4 ตอน ในตอนนี้เป็นเรื่องราวการสะท้อนมุมมองเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะนักข่าวพลเมือง พาไปเจาะลึกเรื่องราวของป่าชายเลนบางขุนเทียน พูดคุยกับชาวบ้านถึงวิถีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งธรรมชาติ กับการเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษความทรุดโทรมที่กำลังคืบคลาน และหนทางอยู่รอดอย่างสมดุลระหว่างชีวิตและธรรมชาติ

ป่าชายเมือง Spot viral video ตอน Forest s Lost

ผลงานสารคดีจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม มีทั้งหมด 4 ตอน สำหรับผลงานชิ้นนี้เป็นสปอตรณรงค์ความยาวประมาณ 1.39 นาที กระตุ้นเตือนให้คนเห็นความสำคัญของป่าชายเลนกับชีวิต และวันนี้ผืนป่ากำลังจะหายไป

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.