ผลสำรวจข้อมูล ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม
“ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม: Why Cofact Matters” อินโฟกราฟิก สรุปผลการสำรวจ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข่าวลวงและข้อมูลปลอม ปัญหาที่สร้างความสับสนและความเชื่อผิดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและสื่อสังคมออนไลน์ภายในหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยสรุปผลสำรวจจากผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามจำนวน 670 คน ที่เคยตรวจสอบข่าวลวงและข้อมูลปลอมผ่านโคแฟค พร้อมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุต้นตอของข่าวลือ สาเหตุของการเผยแพร่ข่าวลวงซ้ำ สิ่งที่น่ากังวลและข้อมูลปลอมที่พบเห็นในสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์มากที่สุด รวมถึงเสนอทางออกของการแก้ปัญหาข่าวลวงให้กับสังคมในระยะยาว
รายงานสุขภาพคนไทย 2564
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564 ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19
แนวปฏิบัติสําหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์
แม้ว่าเยาวชนไทยในยุคปัจจุบันจะเติบโตขึ้นมาพร้อมเทคโนโลยีและมีความสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะรู้วิธีรับมือกับภัยที่มากับเทคโนโลยี เช่น การกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกออนไลน์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ฯลฯ แนวปฏิบัติสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์ ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องในกรณีภัยออนไลน์ต่อเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักสาธารณะ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ภัยและการป้องกันภัยออนไลน์ให้แก่สังคม
รายงานวิจัย พฤติกรรมและสถานการณ์ทางการเงินของครัวเรือนที่ปัญหาหนี้สิน
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โดยที่ในยุคแรกผู้ให้บริการเงินกู้ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มที่อยู่นอกระบบ จนเมื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) มีนโยบายให้บริการแก่ เกษตรกรรายย่อยและยากจนมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรมิได้หมดไป และยังมีแนวโน้มที่มีหนี้สินในสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น ...รายงานฉบับนี้ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมทางด้านการเงิน การใช้จ่าย รายได้ของครัวเรือน การกู้ยืม และ สถานะทางการเงินของครัวเรือน และ เพื่อศึกษาความไม่เป็นธรรมของสัญญาสินเชื่อของธนาคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของพี่น้องเกษตรกรไทย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง รูปแบบและกระบวนการปรับตัวของชาวนาสู่การผลิตอาหารที่ยั่งยืน
ปัญหาหนี้สิน เป็นปัญหาเรื้อรังสำหรับพี่น้องเกษตรกรไทยมาเนิ่นนาน บั่นทอนคุณภาพและความมั่นคงของชาวเกษตรกรไทย การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรสู่เกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่นำร่อง อย่าง จ.ปทุมธานี จ.ชัยนาท และจ.เพชรบุรี จะทำให้การทำงานส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์หรือการผลิตอาหารที่มีความปลอดภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมถึงช่วยปลดล็อคพันธนาการหรือกับดักหนี้สินที่พี่น้องเกษตรกรยังต้องเผชิญอยู่ด้วย
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง ธนาคารที่ดินชุมชน เพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา และฉะเชิงเทรา
ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากที่สุด ก็คือ การถือครองทรัพย์สินที่ดิน ...การปฏิรูปที่ดินจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินมากขึ้น และทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ระหว่างผู้เป็นเจ้าของที่ดินและผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการนำที่ดินที่ถูกทิ้งร้างมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน นอกจากนั้นการปฏิรูปที่ดินยังทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ลดการกระจุกตัวของการถือครอง ที่ดิน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ภัทรมน วิเศษลีลา
คุณภัทรมน วิเศษลีลา เจ้าของบ้านไม้หอม พระราม 2 บ้านหลังงามท่ามกลางธรรมชาติ ที่เปิดบ้านให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ “ตัวเอง” ได้ร่วมแบ่งปันเรื่อราวเส้นทางสู่การตื่นรู้ “ความรู้สึกตัว” เท่านั้น ที่เป็นมิตรแท้ ที่ช่วยให้ก้าวข้ามความยากในชีวิตไปได้ เพราะเมื่อตื่นรู้ตัว เกิดการยอมรับ ความเข้าใจ ความคิดจะไม่พาไปฟุ้ง ปรุง หรือ แต่ง ไม่ติดอยู่กับอดีต ไม่กังวลกับอนาคต เพราะความสุขเกิดขึ้น ณ ที่ปัจจุบันขณะ
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ชรรินชร เสถียร
ริน ผู้ช่วยอาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษาและเจ้าของหนังสือที่มีชื่อว่า ลูก แม่ ฉันและการเดินทางสู่อิสรภาพของใจ กับบทสัมภาษณ์ประสบการณ์บนเส้นทางแห่งการสร้างการเติบโตภายในและการค้นพบความหมายของการตื่นรู้ ที่ช่วยสร้างการยอมรับในตัวตน ไม่ยึดติด ไม่หลงอยู่กับความคิดและความเชื่อเดิมของเรา เพื่อให้ตระหนักถึงที่มาแห่งความทุกข์และใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจในความจริงของโลกด้วยใจที่เปิดกว้าง
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์
รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์ หรือ คุณติ๊ก เจ้าของเพจ “ลูกในฝันคนอย่างฉันก็สร้างได้” เป็นการแบ่งปันการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีและมีความสุข แต่ครั้งหนึ่งคุณติ๊กเคยทุกข์แสนสาหัส ถึงขั้นอยากจะฆ่าตัวตาย นับเป็นโอกาสดีที่เกิดความคิดมาเปลี่ยนแปลงตนเอง เริ่มศึกษาธรรมะและฝึกสมาธิ จึงทำให้มีสติในการตื่นรู้กับชีวิตมากขึ้น ว่าความทุกข์ทั้งหมดในชีวิตมาจากรากคือความกลัว ซึ่งเกิดจากความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ ตั้งแต่นั้นมาคุณติ๊กก็มุ่งมาในเส้นทางศึกษาธรรมะ เพื่อการตื่นรู้เข้าใจตนเองมากขึ้น
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - อังคณา มาศรังสรรค์
เส้นทางสู่การตื่นรู้ ‘ปล่อยตัวเองออกจากสนามรบ’ โดย คุณอังคณา มาศรังสรรค์ อดีตวิศวกร สู่ผู้บริหารโรงเรียนสอนพิเศษ กับวิถีทางเลือกเพื่อจัดการปมปัญหา ‘Midlife Crisis’ การตั้งคำถามต่อชีวิตและเส้นทางสู่การเรียนรู้โลกภายในตัวตน ที่ช่วยสร้างการตื่นรู้ การมองเห็นและเข้าใจปมปัญหาภายใน อีกทั้งได้สร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากการที่ได้ทำความรู้จักตัวตน เกิดการ ’คลี่คลายอดีต’ ‘การใคร่ครวญ’ ‘การรู้ตัว’ เกิดความรัก ความเมตตาและความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบกายที่ดีขึ้น
ปีใหม่นี้ มาเลิกหลงทางกันเถอะ รัสรินทร์ เรืองบูรณะรัตน์
ที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาชีวิต เพื่อนร่วมทาง ผู้นำพาผู้คนให้ไปพบกับคำตอบที่ตัวเองตามหา ผ่านกระบวนการที่หลอมรวมกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณภายในขัดเกลาตัวเองให้สงบสุขจากภายใน ความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากปัญหาในชีวิตรอบด้าน เป็นเหตุที่ผลักดันให้เธอเข้าสู่เส้นทางการเดินทางภายใน จนเกิดการตระหนักรู้ กลายเป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้ง นำไปสู่การเข้าใจตนเองและผู้อื่น การเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานทางสายจิตวิญญาณ ที่เธอนำพาผู้คนให้ไปพบกับคำตอบที่ตัวเองตามหา ผ่านกระบวนการที่หลอมรวมกับประสบการณ์ทางจิตวิญญาณภายในของเธอเอง ซึ่งเธอนิยามตัวเองว่าเป็น "เพื่อนร่วมทาง"
ความสุขซุกซ่อน อยู่ที่ไหน
ความสุขที่เราตามหา...อยู่ที่ไหน? ชีวิตของเราเต็มไปด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับ คนอื่นและโลกภายนอก จะดีแค่ไหน ถ้าได้พูดคุยกับตัวเองอย่างมีคุณภาพ หรือได้คุยอย่างใส่ใจ ได้ฟังแบบไม่ตัดสิน ได้แลกเปลี่ยนอย่างเปิดใจ กับคนที่รัก คนใกล้ตัว เราอาจพบว่า คนที่เรารักและตัวเรา อาจจะได้เห็น ได้รู้จักตัวเองมากขึ้น โครงการสำรวจความสุขที่ซุกซ่อนภายในใจ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 ช่องทางในการเข้าถึงความสุข รวมถึงการใช้ เกมการ์ด Happiness Explorer 9 คน การ์ด 8 หมวด 64 คำถามและการใช้กระบวนการรับฟังอย่างลึกซึ้ง หรือ Deep listening ฟังอย่างไม่ตัดสินเป็นเครื่องมือในการเล่นเกม ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องมือในการช่วยสะท้อนความคิดและแสดงตัวตนที่แท้ของเราต่อคนรอบข้าง อีกทั้งเป็นการช่วยให้เรากลับมามองตัวตนที่แท้จริงของเราและสร้างการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง ในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ