trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ปัญญา" พบ 124 ข้อมูล

เทคนิครับมือข่าวร้ายและข่าวลวง

วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร

เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร ผู้บริหารโค้ชชิ่ง (จิตตปัญญาศึกษา) ครั้งหนึ่งในอดีตเคยคิดสงสัยในชีวิตว่าเราเกิดมาทำไม  จนกระทั่งวันหนึ่งได้มารับหน้าที่แม่  จากที่เคยคิดว่าชีวิตประสบความสำเร็จสามารถโค้ชผู้อื่นได้  แต่กับตนเองในความเป็นแม่ ได้แต่สงสัยว่า “ฉันจะเป็นแม่ที่ดีได้อย่างไร?” มันไม่มีกฎตายตัวเลย จึงเริ่มหันมาอยู่กับตัวเอง ฝึกฝนการภาวนา เปิดตาภายใน จึงพบว่าเราไม่รู้ แล้วทำอย่างไรจึงรู้ นั่นคือ การตื่นรู้คือการกลับมาสัมผัสกับธรรมชาติของใจเราอย่างซื่อตรง  ยอมรับว่า “ลูกไม่ใช่ของเรา” จากนั้นก็ต้อนรับกับความจริงว่า “แม่อาจมีอิทธิพลในการเติบโตของลูกทั้งกายและใจ แต่ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นปัจเจกของลูกได้ ...การเป็นแม่จึงค้นพบความตื่นรู้ในใจตน...  

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ชรรินชร เสถียร

ริน ผู้ช่วยอาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษาและเจ้าของหนังสือที่มีชื่อว่า ลูก แม่ ฉันและการเดินทางสู่อิสรภาพของใจ กับบทสัมภาษณ์ประสบการณ์บนเส้นทางแห่งการสร้างการเติบโตภายในและการค้นพบความหมายของการตื่นรู้ ที่ช่วยสร้างการยอมรับในตัวตน ไม่ยึดติด ไม่หลงอยู่กับความคิดและความเชื่อเดิมของเรา เพื่อให้ตระหนักถึงที่มาแห่งความทุกข์และใช้ชีวิตด้วยความเข้าใจในความจริงของโลกด้วยใจที่เปิดกว้าง

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ชวณัฏฐ์ ล้วนเส้ง

“เผชิญทุกข์สู่การพบปัญญาภายใน” บทความ โดย คุณชวณัฏฐ์ ล้วนเส้ง สถาปนิกชุมชน นักออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมกับชุมชน ครูหยินโยคะและกระบวนกร Transformation Game ได้มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวประสบการณ์ ”การตื่นรู้” จากการรู้จักธรรมชาติที่แท้จริงของตัวเราเอง เพื่อให้เข้าถึงปัญญาที่เกิดขึ้นจากภายใน ไม่หลงผิดยึดติดกับความคิดที่ว่ามี “ตัวเราของเรา” ซึ่งปัญญาที่เกิดขึ้นจากภายในจะทำให้เรามีสติในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและปล่อยวาง อีกทั้งจะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงจากภายในสู่ภายนอกได้อย่างแท้จริง

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร

บทความ เส้นทางสู่การตื่นรู้ โดย คุณ ธีรัญญ์ ไพโรจน์อังสุธร โค้ช วิทยากร และที่ปรึกษาด้าน Soft Skills จากที่เคยแสวงหาประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ ได้ผันตัวมาแสวงหาการเติบโตภายในของชีวิต ศึกษาคำสอนและฝึกปฏิบัติตามแนวทางของหมู่บ้านพลัม โดย หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ที่ทำให้ค้นพบ “ความหมายใหม่ของความสุขและความสำเร็จ” จากการปล่อยวาง ‘ความสำเร็จ’ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ชื่นชมสิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามอย่างที่มันเป็น ซึ่งได้ก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่เกื้อหนุนความเจริญงอกงามของชีวิต

New Heart New World 3 : พระไพศาล วิสาโล

พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต กับความหมายของวิถีแห่ง “การตื่นรู้” หรือ “การรู้สึกตัวทั่วพร้อม” ปัจจัยที่นำไปสู่การทำความดี เป็นตัวที่ดึงเราออกมาจากความหลง ความยึดมั่นถือมั่นและความคิดของตัวเราเอง ให้กลับมาพิจารณาตัวตนด้วยสติอย่างรู้เท่าทัน เพื่อลดละปล่อยวางตัวตน ไม่ยึดติดและสร้างศักยภาพในตัวเราในการรับรู้ความเป็นไปของโลก ใช้ชีวิตได้อย่างมีสติรู้เท่าทันความคิดและมีเมตตา สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับทุกสรรพสิ่งได้เป็นหนึ่งเดียวกันอย่างเข้าใจ

สมุนไพรในพระไตรปิฎก

ในยุคปัจจุบันที่คนไทยได้หันกลับมาส่งเสริมการใช้สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์แผนไทยกันอย่างจริงจังมากขึ้น หนังสือ “สมุนไพรในพระไตรปิฎก” จัดทำขึ้นเพื่อ ค้นคว้า ศึกษาพืชในพระไตรปิฎกและจำแนกพืชตามหลักชื่อทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกพืชหรือสมุนไพรให้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการต่อยอดและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจค้นคว้าสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ต่อไป 

พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย

หนังสือ “พระพุทธสาสนากับภูมิปัญญาสุขภาพในสังคมไทย” เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระความรู้ ที่ได้จากการศึกษาในหลักธรรมคำสอนในคัมภีร์ต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา เพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับ “พระธรรมวินัย” และ “พระพุทธศาสนาของชาวบ้าน” ซึ่งเป็นที่มาของการนำภูมิปัญญาสุขภาพในพระไตรปิฎกและภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่น มาผสมผสานกันจนกลายมาเป็นการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา

หนังสือ ”การแพทย์ดั้งเดิมเมียนมา (พม่า) กับพระพุทธศาสนา” เป็นการศึกษารวบรวมความรู้หลักการในพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นข้อมูลความรู้ในการสื่อสารสาธารณะ ให้เกิดการเรียนรู้บทบาทของพระพุทธศาสนาและการดูแลสุขภาพ โดยจะมุ่งเน้นสำรวจความเหมือนและต่างกันในการนำหลักแนวคิดจากพุทธศาสนามาใช้ในการแพทย์แบบดั้งเดิมของทั้งพม่าและแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเป็นแนวทางให้กับแวดวงการแพทย์ดั้งเดิมของไทยในการเรียนรู้เข้าใจหลักการและแนวทางปฏิบัติตามพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขว้างมากยิ่งขึ้น

รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน

รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี 

สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน

วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท

อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา

ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล  หรือ อาจารย์แบต  อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ  นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.