New Heart New World 3 : โตมร ศุขปรีชา
คุณโตมร ศุขปรีชา นักเขียน กับการเปิดมุมมองทางความคิด ความทุกข์ ความสุขที่ปะปนกันอยู่ในทุกขณะและการเปลี่ยนมุมมองการมองโลกด้วยการอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายพรมแดนทางความคิด ขยายจิตใจให้กว้างขึ้นและยังทำให้เราค้นพบโลกอีกใบ “ที่ดีกว่า” โลกที่ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างปราศจากการตัดสิน เพื่อให้เราหันกลับมาดูตัวเองและตั้งคำถามกับโลกในปัจจุบันของเราว่าที่จริงแล้วเป็นอย่างไร "ตอนนั้นมีความสุขมากๆกับทุกอย่าง แต่ทันใดนั้นมันก็พัง เราคิดว่ามีสติ แต่เราไม่มี เห็นทุกข์มาเป็นก้อนๆ แต่มันน่าสนใจที่มันไม่ได้มาตลอดเวลา มันมาเป็นก้อน แล้วก็จะมีบางช่วงที่มันคลายลง ตอนนั้นได้เห็นเลยว่าไม่มีอะไรที่มาแล้วอยู่กับเราไปถาวร" "ชีวิตเป็นทุกข์ ไม่ได้หมายความว่า เรานั่งอยู่ตรงนี้แล้วเราไม่ทุกข์ มันทุกข์อยู่ตลอดเวลา โดยที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว ต่อให้ตอนที่เรามีความสุข มันก็มีความทุกข์อยู่ด้วย" โตมร ศุขปรีชา นักเขียน
ชีวิต และปรัชญา โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ
ร่วมฟังมุมมอง ชีวิตและปรัชญา โดย ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ผู้เชี่ยวชาญแนวคิดของปรัชญา ศาสตร์ของการคิดอย่างสร้างสรรค์ บนพื้นฐานของหลักเหตุและผล เพราะแท้จริงการเรียนปรัชญา เพื่อเหตุผล 3 ประการ หนึ่งมองเห็นปัญหาที่คนอื่นธรรมดามองไม่เห็น สองมองเห็นคำตอบเพื่อไปหาทางออกหรือแก้ไขปัญหาที่เราพบด้วยเหตุและผล และสุดท้ายเราสามารถเลือกสิ่งที่ดีที่สุดของคำตอบนั้น เพื่อพัฒนาชีวิตของเราและดูแลสังคมได้ ชีวิตและปรัชญา จึงเกิดขึ้นมาคู่กันอย่างแยกไม่ออก
วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ สู่หนึ่งเดียวกัน
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ มนุษย์ได้ออกตามหาความจริงหนึ่งเดียวนั้นมานานแสนนาน และที่ผ่านมาเราต่างมีวิถีการตามหาความจริงหลากหลายแนวทาง จนมาถึงวันนี้ความจริงที่มนุษย์ค้นพบจากหลากหลายเส้นทางนั้นค่อยๆ มาบรรจบพบเจอกันอย่างน่าตื่นใจ คลิปนี้จะพาเราไปพบคำตอบระหว่าง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา จิตวิญญาณ มีการเชื่อมโยงสู่หนึ่งเดียวกันได้อย่างไร หมอปอง หรือนายแพทย์ทีปทัศน์ ชุณหสวัสดิกุล แพทย์แนวมนุษยปรัชญา กับประสบการณ์ดูแลสุขภาวะกาย-จิต-จิตวิญญาณ จะมาร่วมให้คำตอบเรื่องร่วมกับนักคิดด้านปรัชญาท่านอื่น ๆ
สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง ปรัชญา โดย ดร เมธา หริมเทพาธิป
เมื่อผู้ตื่นรู้สามารถรวมใจกันให้เป็น Oneness ย่อมสามารถสร้างสรรค์สังคมเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมร่วมกันได้ด้วย ความรักความเข้าใจ ความงามในจิตใจ และความรักในเพื่อนมนุษย์ตามความเป็นจริง สิ่งที่ทำได้เลยก็คือ ความเข้าใจ การยอมรับ และอภัยตนเองจากนั้นก็มองให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ‘การเชื่อมต่อ” (Connect) ด้วยอำนาจและผลประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็น ‘การปฏิเสธการเชื่อมต่อ’ (Disconnect) การเชื่อมต่อให้ลึกถึงระดับความรู้สึกทางจิตใจนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเข้าถึงความจริง ความงาม ความรักในตัวมนุษย์ เข้าใจตนเอง เห็นใจเห็นผู้อื่น เชื่อมโยงด้วยความรักความเข้าใจกับเพื่อนมนุษย์ . - ดร.เมธา หริมเทพาธิป ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากหนังสือ "ONE หนึ่งเดียวกัน"
ดุจสายน้ำดั่งสายลม ภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออก
ปัญหาการเมือง ปัญหาคอร์รัปชั่น การเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ล้วนเป็นสนิมที่กัดกร่อนบ้านเมือง เราก็ได้แต่หวังว่าจะมี “ผู้นำ” ที่ดีมาแก้ไขปัญหาเหล่านี้ งานวิจัยเล่มนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออกจาก 5 ปราชญ์ คือ ขงจื่อ เหล่าจื่อ จวงจื่อ หานเฟยจื่อ และพระพุทธเจ้า กับ 4 สำนัก คือ สำนักขงจื่อ สำนักเต๋า สำนักมั่วจือ ฝ่ายจยา (นิตินิยม) เพื่อนำเสนอมุมมองการเป็นภาวะผู้นำที่ดี ซึ่งต้องมีหลักคุณธรรม ให้ความเสมอภาคและเสรีภาพกับประชาชน ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น และต้องมีกฎกติกาในการส่งเสริมคนดี
เศรษฐศิลป์ ผู้นำแห่งโลกวัตถุในปรัชญาตะวันออก
หนังสือรวมบทความวิจัย 4 เรื่องในโครงการผู้นำแห่งอนาคต บทเรียนจากปรัชญาตะวันออก โครงการวิจัยนี้พัฒนาขึ้นจากการเล็งเห็นว่าสังคมไทยยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำในปรัชญาตะวันออก ที่ศึกษาภาวะผู้นำจากประเด็นการจัดการโลกแห่งวัตถุหรือทรัพย์สินผ่านมุมมองปรัชญาขงจื่อ ปรัชญาสำนักเต๋า สำนักนิตินิยมจีนและพุทธปรัชญา
หนังเล่าเรื่อง ตอน หิ้ว
หิ้ว คือ คำศัพท์ในกระบวนการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในวงการการเมือง เมื่อคนโกงบ้านโกงเมือง 2 ฝ่าย ไม่อยากให้ตนเองเดือดร้อน ก็จะมีการว่าจ้าง คนกลาง ให้มาทำหน้าที่เป็น “คนหิ้ว” ท้ายสุดภาพยนตร์ก็แสดงให้เห็นว่าการโกงนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายดาย เมื่อกิเลสมันเรียกร้อง ความอยากได้ ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเงินที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นกระบวนการโกงเป็นทอดๆ ไม่มีสัจจะในหมู่โจร