trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ประชา" พบ 34 ข้อมูล

พลานุภาพแห่งการรู้เท่าทันประชาธิปไตยเชิงลึก

ผลงานวิจัยประชาธิปไตยเชิงลึกที่จะทำให้เราเข้าใจความหมายของคำว่า “ประชาธิปไตย” ในมิติที่ลึกซึ้งถึงจิตวิญญาณ พร้อมทั้งจะสร้างประสบการณ์แห่งการตระหนักรู้ในความจริงที่สอดคล้องกันระหว่างโลกภายในและภายนอก ประชาธิปไตยเชิงลึกนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ชุดความคิดทางการเมือง แต่ยังเป็นวิธีการทำงานกับผู้คน วิธีการพัฒนาตนเองในระดับปัจเจกบุคคล รวมถึงเทคนิคและกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพื่อการสร้างชุมชนและสังคมที่เข้มแข็ง

Slow is beautiful วิถีทางเลือกนั้นเป็นไปได้จริง

หลายคนคงจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัว “สลอธ” ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้สุดแสนจะเชื่องช้านั้น ที่จริงแล้ว พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตและรู้สำนึกถึงคุณค่าของธรรมชาติมากกว่ามนุษย์อย่างเราๆ เสียอีก ในโลกของมนุษย์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเสรีนิยมและการแข่งขัน เราใช้ชีวิตกันอย่างรีบเร่งเน้นสร้างปริมาณและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าจิตใจ เพราะมีกรอบความเชื่อแบบเดิมๆ ตามฝั่งตะวันตกว่า ยิ่งมีมากยิ่งสุขมาก แต่ยิ่งเรามีมากก็เท่ากับเราต้องเบียดเบียนธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น ถ้าหากเราลองเปลี่ยนกรอบความคิดเดิมให้กลับมาใช้วิถีชีวิตแบบตะวันออก ที่ใช้ชีวิตให้ช้าลง ใจเย็นลง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมากขึ้น เราจะค้นพบว่า เราได้สร้างการเบียดเบียนชีวิตอื่นน้อยลง เรามีความสุขง่ายขึ้นและมองเห็นคุณค่าของสิ่งเล็กๆ ได้ง่ายมากขึ้น

ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ฉบับสมบูรณ์

งานวิจัยสำรวจและตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลระดับบุคคลที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่21 ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน รวมถึงความสามารถในการผลิตสื่อ เพื่อช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเคารพสิทธิของคนอื่นๆ ในสังคม 

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ประชา หุตานุวัตร

อาจารย์ประชา หุตาวัตร ผู้อำนวยการของโครงการ มหาวิทยาลัยทางเลือกของเสมสิกขาลัย ได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์เส้นทางสู่การเติบโตภายใน การค้นพบเป้าหมายของชีวิตที่ไม่ใช่การหาทรัพย์ อำนาจและชื่อเสียง แต่เป็นการศึกษาธรรมะ เพื่อสร้างการตื่นรู้ให้แก่ตนเองและจากการที่ได้ศึกษาและรับรู้ความทุกข์ของสังคมต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจในระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งความเข้าใจและยอมรับจะเป็นวิถีสร้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมและสิ่งแวดล้อมให้ดีงามขึ้น 

ประชา หุตานุวัตร : เราต้องช่วยกันเรียน ไม่ใช่แข่งกันเรียน

‘ประชา หุตานุวัตร’ กระบวนกรรุ่นใหญ่ ผู้บุกเบิกกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงชีวิตจิตใจในแวดวงการศึกษาทางเลือก และผู้จัดทำหลักสูตร Awakening Leadership Training Program กับบทความเรื่องการแข่งขันกันเรียนในโลกปัจจุบัน ที่ทำร้ายและลดคุณค่าในตัวตนของเด็กและครูผู้สอน การจะผลักดันให้เกิดการศึกษาที่ไม่ทำร้ายและลดคุณค่าความเป็นคนได้นั้น จะต้องเริ่มจากการให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้ ร่วมสร้างองค์ความรู้ มีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษา มีความเป็นมิตรเห็นอกเห็นใจกัน เพื่อช่วยกันเรียน รวมถึงครูและนักเรียนเองจะต้องมีความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน 

เอิ้นเน้อ Issue 3 : จุดประกายฝายพญาคำ ความยั่งยืน ภูมิปัญญา และประชาธิปไตย

เพราะมนุษย์กับน้ำเป็นสิ่งที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มนุษย์อยู่ไม่ได้หากขาดไร้ซึ่งแหล่งน้ำ เอิ้นเน้อ ฉบับที่ 3 นี้จึงขอพาไปเรียนรู้ภูมิปัญญาโบราณการจัดการน้ำของคนล้านนา โดยกรณีศึกษาที่เหมืองฝายพญาคำ ที่วันนี้ยังคงมีการจัดการน้ำอย่างเข้มแข็ง สืบต่อรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง การจัดการน้ำยังผูกพันกับวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ที่ร้อยเชื่อมโยงทุกคนในชุมชนเข้าไว้ให้เป็นหนึ่งเดียว

หยุ้ม Issue 1 : รวมพลภาคประชาสัมคม ปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา

หยุ้ม เป็นชื่อวารสารเพื่อการสื่อสารปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา ภายใต้โครงการ Spark U ปลุกใจเมือง โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ฉบับแรกของหยุ้มฉบับนี้พาไปดูภาพรวมการดำเนินการของดครงการต่าง ๆ ภายใต้ Spark U ปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา ในพื้นที่นำร่อง เช่น เทศบาลตำบลท่าพระ ศรีฐาน ชุมชนสาวะถี จ.ขอนแก่น, บ้านนาหนองบง อ.วังสะพุง, บ้านนาห้วยม่วง, บ้านอุมุง อ.เชียงคาน จ.เลย ที่ชุมชนสร้างความเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพื้นที่น่าอยู่ ปลอดภัย มีความสุขกันถ้วนหน้า

เอิ้นเน้อ Issue 1 : รวมพลภาคประชาสังคม

เอิ้นเน้อ คือ วารสารเพื่อการจุดประกายสังคมอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนทั่วภาคเหนือ ฉบับนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์ เนื้อหาว่าด้วยการรวมพลภาคประชาสังคมเพื่อสร้างพลังเปลี่ยนเมืองของคนเชียงใหม่  โดยจะพาไปรู้จักเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานขับเคลื่อนเมืองในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการช่วยกันจุดประกายเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดเมืองหนึ่งของโลก

รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย

รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.