ใจคน ชุมชน การเปลี่ยนแปลง บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม
บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม เป็นหนังสือรวบรวมบทความวิจัยซึ่งเกิดจากการเดินทางเข้าไปเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนชุมชนในพื้นที่ 3 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จังหวัดเชียงราย, ชุมชนโคกสลุง จังหวัดลพบุรี, กลุ่มทราเวลล์และชุมชนรอบข้างในเขตพระนคร กรุงเทพฯ ภายใต้โครงการวิจัย “การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม”
วิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม
งานวิจัยถอดบทเรียนการพัฒนาครูผู้นำด้านการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงสังคม ภายใต้ “โครงการผู้นำแห่งอนาคต” เพื่อศึกษาประสบการณ์ แนวคิด ความเชื่อ แรงบันดาลใจของกลุ่มคนหรือองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาครู ซึ่งเป็นกลุ่มที่มุ่งผลักดันให้เกิด “ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง” หรือครูยุคใหม่ที่มีสมรรถนะ มีความสามารถในการสร้างสรรค์กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ๆ และเป็นกำลังขับเคลื่อนทางสังคมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนบนฐานสุขภาวะทางปัญญา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะความพร้อมในการดำรงชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม
พังงาแห่งความสุข สุขที่คุณสัมผัสได้
การถอดบทเรียนการทำงานชุมชนร่วมกันของคนในจังหวัดพังงามากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้จะทำให้เห็นถึง "การล้มลุกคลุกคลาน จุดแข็ง จุดอ่อน หรือแนวทางการทำงานของชุมชน" เพื่อให้ผู้อ่านไม่ทำพลาดซ้ำ "พังงาแห่งความสุข" ไม่ใช่ตัวอย่างความสำเร็จ แต่คือตัวอย่างการ "เริ่มต้นนับหนึ่ง" เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทบทวน ทั้งส่วนชุมชน ประชาสังคม หน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมในบริบทอื่น ๆ เพื่อนำข้อคิดไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองต่อไป
3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก
หนังสือ “3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก” เป็นการถอดบทเรียนการทํางาน “ต้นทุนชีวิต” 3 บริบทสําคัญในชีวิตได้แก่ ต้นทุนชีวิตบริบทครอบครัว บริบทชุมชน และบริบทโรงเรียน ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่เติบโตจากการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์หยั่งรากลงดิน และเติบโตแตกกิ่งก้านเป็นลําต้นใหญ่ ซึ่งแม้แต่ละบริบทจะมีจุดเน้นต่างกัน แต่เป็นการเชื่อมร้อยต่อกันเป็นห่วงโซ่ ทั้งนี้โดยพื้นฐานของคนเราเกิดมาล้วนมีต้นทุนชีวิต (Life Assets) กันทุกคน ซึ่งต้นทุนเหล่านั้นจะแปรเปลี่ยนสภาพตามสภาวะแวดล้อม และการเรียนรู้ทางสังคม หากเราเข้าใจการสานพลัง 3 ฐานนี้แล้ว ก็จะพัฒนาสู่ต้นทุนชีวิตที่ดีงามให้กับเด็กและเยาวชนต่อไป
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
วิถีไทยเบิ้ง สายใยวัฒนธรรมสายสัมพันธฺ์ชุมชน
วิถีไทยเบิ้ง “สายใยวัฒนธรรม สายสัมพันธ์ชุมชน” กระบวนการถอดบทเรียนการทำงานร่วมกันกว่า 15 ปี ระหว่างกลุ่มแกนนำและผู้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น : วิถีไทเบิ้งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ตำบล โคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้เป็นการทบทวนการทำงานและกลั่นประสบการณ์จากการทำงานจริงเพื่อพัฒนาชุมชน โดยมีภูมิปัญญา ประเพณี และวัฒนธรรมชุมชนเป็นสื่อกลาง เพื่อสื่อสารเรื่องราวและบทเรียนจากการทำงานพัฒนาบนฐานวัฒนธรรมของชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจอยากจะขับเคลื่อนงานในลักษณะใกล้เคียงกัน และนำไปปรับประยุกต์เป็นแนวทางในการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนตนเองต่อไป
บทเรียนชุมชน 3 ดีวิถีสุข การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาพื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี
หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข” ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.
A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม
รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ