รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554 ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง
Pocket English ตอนที่ 20 ของขวัญวันเกิด
Pocket English ตอนที่ 20 ตอนนี้ตรงกับวันเกิดของน้องพี่หลุยส์ พี่หลุยส์จึงชวนพี่เจี๊ยบไปช่วยกันเลือกซื้อของขวัญให้น้องวัย 10 ขวบด้วยกัน เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกเด็กวัยต่าง ๆ ทั้ง Baby, Toddler, Children รวมถึงศัพท์ที่ใช้เรียกของเล่น และศัพท์เกี่ยวกับของขวัญวันเกิดอีกด้วย
Pocket English ตอนที่ 19 หาของฝาก
เมื่อน้อง ๆ ไปเที่ยวที่ต่าง ๆ หลายคนมักจะมองหาของฝากหรือของที่ระลึกจากสถานที่ท่องเที่ยว Pocket English ตอนนี้จึงพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้คำศัพท์เรียกของฝากประเภทต่าง ๆ ที่มักอยู่ในร้านขายของฝาก ไม่ว่าจะเป็น รูปถ่าย โปสการ์ด พวงกุญแจ เสื้อยืด เพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียกให้ถูกต้องและซื้อของฝากได้อย่างสนุกไปเลย
Pocket English ตอนที่ 18 ไปอาบน้ำล้างรูปกัน
พี่หลุยส์กับพี่ลูกเจี๊ยบ พาไปเรียนรู้ศัพท์เกี่ยวกับการถ่ายรูปเพื่อไปใช้สมัครงานหรือสมัครเรียนที่ร้านถ่ายรูป ทั้งการบอกขนาดรูปถ่าย ครึ่งตัวหรือเต็มตัว ไปจนถึงการถามราคา บอกจำนวนที่ต้องใช้ รวมไปถึงคำว่าล้างรูป เราต้องใช้คำว่า Develop ไม่ใช่ Wash ไม่อย่างนั้นเราอาจจะได้อาบน้ำแทนล้างรูปเพราะใช้คำผิด
หมอลำหุ่น สื่อศิลปะของกลุ่มออมทอง มหาสารคาม
ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทย เน้นเรื่อง “ศาสตร์” แต่ขาดศีลธรรมและจริยธรรม ทำให้คนเราขาดเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้เผชิญหน้ากับกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อนของปัญหาทางสังคม กลุ่ม “ออมทอง” จึงริเริ่มถอดองค์ความรู้จากการดำเนินโครงการ “หมอลำหุ่น” เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมเสพติดวัตถุนิยมแก่เยาวชน ให้เยาวชนได้รู้จักเรียนรู้เท่าทันตนเองและคุณค่าของวิถีชุมชนผ่านงานสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่ผสมผสานเรื่อราวของพระพุทธศาสนาเข้ากับกระบวนการศิลปะบูรณาการหลายแขนง อีกทั้งยังปลูกฝังคุณธรรมและคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เยาวชนได้สืบสานอัตลักษณ์ของชาวอีสานให้ยั่งยืนต่อไป
บทเรียนชุมชน 3 ดีวิถีสุข การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาพื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี
หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข” ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.
บ้านสาวะภี สินไซโมเดล 2 เมืองวิถีสุข พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี
บทสรุปการดำเนินงานของโครงการสินไซโมเดลเมืองสามดีวิถีสุขปี 2 ผ่านกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมได้แก่ ค่าย, สัญจร, การแลกเปลี่ยน และการถอดบทเรียน โดยชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่นแห่งนี้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบเมือง 3 ดีของภาคอีสาน (พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี) ที่เป็นพื้นที่กลางในการปฏิบัติงานของเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เรื่องราววรรณกรรมสินไซซึ่งเป็นเรื่องเล่าของแผ่นดินล้านช้าง สามารถเชื่อมโยงคนทํางานสื่อพื้นบ้านจากหลากหลายสาขาในภาคอีสาน เข้ามาปฏิบัติการด้วยกันจนสําเร็จในปีแรก ด้วยสื่อหลากหลายชนิดทั้ง เพลงกล่อมลูก, กันตรึม, ทอผ้า, หมอลํา หุ่น, หนังตะลุง, เพลง และการสืบค้นภูมิบ้านภูมิเมืองของตนเอง วรรณกรรมสินไซ สามารถเป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นสื่อกลางของชุมชนแห่งนี้ เป็นการการันตีในการเชื่อมประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน บ้าน วัด โรงเรียน
รักษ์นที
ผลงานสารคดี จากผักหวานทีม โรงเรียนภูกระดึงวิทยาคม พาไปหมู่บ้านผาสามยอด พูดคุยกับคุณเกษม สมชาย เจ้าของฟาร์มเกษตรอินทรีย์ กับวิถีอนุรักษ์น้ำ ดิน อากาศ นำสู่การปลูกผักอินทรีย์ ไร้สารพิษ พึ่งพาธรรมชาติ อยู่อย่างพอเพียง ส่งต่อแนวคิดให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันสร้างวิถีชีวิตสุขภาวะอันงดงาม
ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าชาวบางลำพู (ตอนที่ 2)
ธุรกิจเล็ก ๆ ย่านบางลำพู ยังคงมีความทรงจำที่ยิ่งใหญ่ ถึงครั้งหนึ่งที่เคยมีโอกาสถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ห้าง ต.เง๊กชวน ผู้ผลิตแผ่นเสียงตรากระต่าย ที่เคยอัดเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ ร้านไทยนคร ผู้ผลิตเครื่องถมเงินถวายงานรับใช้ ต่างปลื้มปิติที่ได้รับตราตั้งพระราชทาน นับเป็นเกียรติยศสูงสุดของชีวิตและการดำเนินธุรกิจ และในวันที่คนไทยต้องโศกเศร้าอย่างหาใดเสมอเหมือน ชุมชนย่านบางลำพู ทั้งเจ้าของธุรกิจ ชาวบ้านทุกครัวเรือน และทุกศาสนา ต่างสมัครสมานสามัคคี ร่วมกันเป็นจิตอาสา เจริญรอยตามเบื้องยุคลบาทในการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน นำอาหารเครื่องดื่ม และบริการอำนวยความสะดวกแก่พี่น้องประชาชนที่เดินทางมาถวายอาลัยพระบรมศพในหลวง รัชกาลทื่ 9 อย่างมิเหน็ดเหนื่อย ต่างร่วมแรงร่วมใจทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ศูนย์รวมจิตใจคนไทยอันเป็นที่รักยิ่งตลอดกาล