แผนที่นำสุข โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จัดทำแผนที่โดยรอบกรุงเทพ เพื่อให้เด็กเร่ร่อนรู้จักสถานที่ราชการและเข้าไปรับความช่วยเหลือได้
Free Box (รถบูธกล่องเคลื่อนที่รับบริจาค) โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จำลองโมเดลรถเคลื่อนที่รับบริจาคสิ่งของและเป็นแหล่งหางานให้เด็กเร่รอนเพื่อสร้างการยอมรับให้กับสังคม
ชาวนาทราบแล้วเปลี่ยน ตอนที่ 3 ผลงาน Red Hot Organic Farmer โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชิญชวนชาวนาหันมาปลูกข้าวแบบอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวผู้ปลูกและผู้บริโภค
ชาวนาทราบแล้วเปลี่ยน ตอนที่ 2 ผลงาน Red Hot Organic Farmer โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชิญชวนชาวนาหันมาปลูกข้าวแบบอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวผู้ปลูกและผู้บริโภค
ชาวนาทราบแล้วเปลี่ยน ตอนที่ 1 ผลงาน Red Hot Organic Farmer โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
เชิญชวนชาวนาหันมาปลูกข้าวแบบอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยทั้งตัวผู้ปลูกและผู้บริโภค
Creative Shield - 1
ผลงานอินโฟกราฟิก โดยนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำเสนอเรื่องของพื้นที่สร้างสรรค์ จากการลงพื้นที่เรียนรู้ที่ชุมชนดวงแข กับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) โดยได้สะท้อนแนวคิดออกมาเป็นการทำสื่อ FB ชื่อ CreativeShield ในประเด็น ทำอย่างไรให้มีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Safe Space โดยสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง Safe Space ในความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง เกิดความเข้มแข็งที่จะปกป้องตนเองจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยอินโฟกราฟิกชิ้นนี้เป็น 1 ในผลงานที่ใช้ในการเผยแพร่
สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 2
สปอตรณรงค์ สะท้อนประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงเรียนรู้พื้นที่ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา สปอตชุดนี้มี 2 ตอน ตอนที่ 2 นี้เป็นการสรุปภาพรวมตัวเลขให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดตัวเลขความเสียหายทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ
สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 1
สปอตรณรงค์ ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้ลงพื้นที่เรียนรู้ประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกิน ณ ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานสปอตนี้จุดประเด็นกระตุ้นเตือนให้เราได้หันมามองคนในชุมชน คนในพื้นที่ ผู้ไม่อาจเข้าถึงโอกาสในการเป็นเจ้าของที่ดินทำกินและใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุมชนตนเองได้ตามความต้องการอย่างแท้จริง
คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตัวเอง
4 โรคภูมิแพ้ที่คนไทยเป็นมากที่สุด คือ แพ้ผิวหนัง แพ้ยา แพ้อาหาร และแพ้อากาศ สิ่งที่คนเป็นภูมิแพ้ควรรู้เพื่อดูแลตนเอง คือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ตัวเองแพ้ หันมาใช้สิ่งของหรือสินค้าออร์แกนิก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ งดเครียด และอย่านอนดึก
อาหารที่ดีของลูก เริ่มต้นที่นมแม่
'นมแม่' อาหารมื้อแรกเพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย ใน 6 เดือนแรกที่ลูกได้รับนมแม่ จะได้สารอาหารครบถ้วน มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ ส่วนคุณแม่ก็มีสุขภาพดี ไม่เสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมและรังไข่ และเมื่อลูกอายุ 1-5 ปี ก็ให้กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารรส ทั้งมันจัด หวานจัด และเค็มจัด
นาอีฟพาไป ตอน ตามหาของดี วิถีชุมชน ฝั่งธนบุรี
ชมบรรยากาศงานตามหาของดี วิถีชุมชน ฝั่งธนบุรี กิจกรรมปลุกพลังฟื้นฟู ปลุกชีวิตวิถีชุมชน ฝั่งธนบุรี ของชุมชนบางกอกน้อย ณ วัดโพธิ์เรียง ซอยจรัลสนิทวงศ์ 18 เพื่อสืบสานให้เป็นพื้นที่ 3 ดี สื่อดี ภูมิดี และพื้นที่ดี พลังของคนในชุมชนได้ร่วมกันสร้าง พัฒนา และสานต่อ เปิดชุมชนเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ส่งต่อภูมิปัญญาให้เด็กและเยาวชน อีกทั้งเติมเต็มวันวานแสนสุขให้กับกลุ่มผู้สูงอายุด้วย
ตามรอยโกโบริ ชิม ชม ของดี บางกอกน้อย
กลุ่มเยาวชน “สื่อเด็กเปลี่ยนโลก” นำคนในชุมชน และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมพื้นที่ 3 ดี ออกเดินทางเรียนรู้ชุมชนผ่าน 2 เส้นทาง คือ 'ปั่นยิ้ม' เดินทางด้วยจักรยาน และ 'เดินยิ้ม' เดินเท้าเข้าถึงชุมชนอย่างใกล้ชิด โดยแวะชมสถานที่เด่น ๆ ของชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน โรงรถจักรธนบุรี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ซึ่งทุกสถานที่ล้วนตามรอยประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่องไปตามเส้นทางของ โกโบริ พระเอกอมตะจากคู่กรรม...นวนิยายชื่อดังของไทย