Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ธรรมศาสตร์" พบ 4 ข้อมูล

ก่อการครู : ก้าวแรกของก่อการครู

โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์และเครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาในภาคประชาสังคม ซึ่งโครงการมีเป้าหมายในการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่และแนวทางการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นอีกแนวทางเลือกให้กับการศึกษาไทย โดยจะเพิ่มทักษะองค์ความรู้ต่างๆ ของการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือกระบวนกรให้กับครู เพื่อให้ครูกลับไปยังชั้นเรียนได้อย่างมีพลังและสร้างสรรค์ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในรูปแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตไปอย่างมีคุณภาพและช่วยพัฒนาประเทศต่อไป

Collective Happiness สุขร่วมสร้าง

ความสุขที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ เริ่มจากตัวเราเองสู่ครอบครัว สู่คนรอบข้าง แล้วค่อยๆส่งต่อความสุขออกไปสู่สังคม ความสุขของคนเราเกิดได้จากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน สุขที่ได้เห็นคนในครอบครัวหรือคนที่เรารักมีความสุข สุขจากการที่ได้ทำกิจกรรมที่เรารัก สุขที่ได้ทานของอร่อย สุขแบบพอเพียง สุขที่ได้ร่วมช่วยเหลือแบ่งปัน หากคนในสังคมมีความสุข มีสุขสภาพจิตใจที่พร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนาสังคมและยังเป็นการร่วมกันช่วยลดความทุกข์ให้สังคมให้เกิดสุขในภาพรวมได้

ก่อการครู : ทัศนะ ดร.กันตพงศ์ คงหอม ครูแกนนำรุ่น 1

ดร.กันต์พงศ์ คงหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสี่แยก ครูแกนนำในโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่หนึ่ง และ นายสมโชค อารยา ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนบ้านสี่แยก ได้ร่วมกันผลักดันและจุดประกายให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมในจุดที่ขาดหายไป เพื่อสร้างความสมดุลและให้เด็กในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ รวมถึงได้นำหลักการระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้

ใจคน ชุมชน การเปลี่ยนแปลง บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม

บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม เป็นหนังสือรวบรวมบทความวิจัยซึ่งเกิดจากการเดินทางเข้าไปเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนชุมชนในพื้นที่ 3 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จังหวัดเชียงราย, ชุมชนโคกสลุง จังหวัดลพบุรี, กลุ่มทราเวลล์และชุมชนรอบข้างในเขตพระนคร กรุงเทพฯ ภายใต้โครงการวิจัย “การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม”    

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.