เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ Day 4 : อิ่มท้อง อิ่มใจ
บางทีในวิกฤติ ก็ปรับเป็นโอกาสได้ จากที่เคยกินแต่ข้าวนอกบ้าน เร่งรีบในแต่ละมื้ออาหาร วันนี้ เมื่อเรา “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ในสถานกาณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 นี้ เราลองหันมาปลูกพืชผักสวนครัว และลองเข้าครัวเพื่อทำเมนูอาหารแบบบ้าน ๆ แต่อร่อยสุดใจกันดู
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ Day 2 : สิ่งใหม่ๆ เริ่มได้ทุกวัน
การกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ช่างแตกต่างจากภาพฝันที่หลายคนว่าสบาย ๆ เหมือนหยุดพักร้อน เพราะการอยู่บ้านนาน ๆ ในบรรยากาศเดิม ๆ อาจทำให้เราอึดอัด กังวล และเครียดได้ แต่ขอให้เราให้กำลังใจตนเองเสมอว่า สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นในวันใหม่เสมอ...พรุ่งนี้ย่อมดีกว่าวันนี้แน่นอน
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ Day 1 : ใจคือบ้านของเรา
มาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ที่รัฐบาลขอความร่วมมือคนไทยทั้งประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโตวิด 19 เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้หยุดเดินทางภายนอก เพื่อย้อนกลับมาภายในใจ ได้อยู่บ้าน อยู่กับตัวเอง และย้อนกลับมาฟังเสียงภายในของเรา ให้ตื่นรู้กับสถานการ์ต่าง ๆ มากกว่าการตื่นตระหนกกับสิ่งรอบตัว
รายงานการวิจัย โมเดลเชิงสาเหตุของสุขภาวะทางปัญญา ศาสนาและจิตวิญญาณ และดัชนีชี้วัดสุขภาพ โดยมีปัจจัยทางด้านจิตวิทยาด้านความคิด อารมณ์และสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน
รายงานการศึกษาถึงความเชื่อมโยงของสุขภาวะทางปัญญา ปัจจัยทางจิตวิทยา และการเคลื่อนไหวทางกาย โดยทีมอาจารย์ผู้วิจัยจากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ JAI Center ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยประเด็นนี้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่ยืนยันว่า สุขภาวะทางปัญญาทำให้ผู้คนมีความผาสุกทางจิตใจ และเอื้อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและเพิ่มการมีกิจกรรมทางกาย โดยงานวิจัยครั้งนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างชาวไทย จำนวน 473 คน อายุเฉลี่ย 34.99 ปี
1ผู้ให้ ช่วยได้ 8 ชีวิต
แม้เราจะเสียชีวิตแต่ชีวิตเราจะไม่สูญเปล่า เมื่อเราเลือกที่จะเป็นผู้ให้เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการบริจาคอวัยวะเพื่อต่อชีวิตให้ผู้ที่รออวัยวะและรอการปลูกถ่ายอวัยวะ ขอเพียงอายุไม่เกิน 65 ปี สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดเชื้อ หรือโรคร้ายแรง เราก็สามารถบริจาคอวัยวะได้ สนใจบริจาคอวัยวะ โทร. 1661 หรือผ่าน แอปพลิเคชัน “บริจาคอวัยวะ”
อาสารับฟัง ฟังยังไงให้เข้าไปถึงหัวใจ
การฟังให้เป็น ฟังเสียงแล้วเข้าอกเข้าใจไปถึงหัวใจคนพูด ฟังแล้วไม่ตัดสินให้เขาทุกข์ใจไปมากกว่าเดิม ฟังแล้วให้อีกฝ่ายวางใจ กล้าที่จะบอกเล่าสิ่งที่อยู่ในใจออกมา ต้องทำยังไง?นี่เป็น 7 ขั้นตอนในการรับฟังที่อยากให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู
ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
ถ้าคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า หลายครั้งที่เขามาปรึกษาคุณ แต่อาการเขาก็กลับยังไม่ดีขึ้น จนคุณกลายเป็นทุกข์ไปด้วยรึเปล่า? บางครั้งการพยายามจะช่วยหาทางออกให้คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเขา นอกเหนือจากการที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่คุณเป็นพื้นที่รับฟังที่ดีให้กับเขา ก็ช่วยเยียวยาเขาได้มากแล้ว แต่ทุกวันนี้คุณคิดว่าคุณฟังเขาเป็นหรือยัง? ถ้ายัง หรือว่าไม่ชัวร์... คลิปนี้จะช่วยคุณเข้าใจเรื่องการฟังใหม่อีกครั้ง
จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล หรือ อาจารย์แบต อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่จะมาช่วยให้เมืองไทยให้ปลอดภัยและมีความสุข ภายใต้แนวคิด “ หนึ่ง ดร. หนึ่ง อำเภอ” อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
I SEE U จิตอาสาข้างเตียง
อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ หรือคุณชัย ผู้ก่อตั้งกลุ่ม I SEE U Contemplative Care อาสาข้างเตียง มาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อให้กำลังใจด้วยการรับฟัง และสัมผัสผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยหัวใจมากกว่าคำพูดว่า “สู้ๆ นะ” โดยคุณชัยนำประสบการณ์ที่ดูแลคุณพ่อในระยะสุดท้ายมาเป็นแนวทางในการอบรมอาสาข้างเตียง ว่า “...การดูแลพ่อแม่ที่ดีที่สุดคือ การทำในสิ่งที่เขาอยากได้ การที่ใจเราจะไม่ทุกข์ไปกับอาการที่แย่ลงของคนที่เราดูแล มันคือความสุขท่ามกลางความเสื่อมถอยลงไปจนทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี...” การทำงานอาสาที่อยู่ใกล้ชิดกับความตาย ทำให้เราเรียนรู้ถึงลมหายใจที่ยังอยู่อย่างรู้ค่า และพร้อมที่จะตั้งใจทำให้ทุกวันดีที่สุด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com