trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ท่าพระ" พบ 5 ข้อมูล

หยุ้ม Issue 1 : รวมพลภาคประชาสัมคม ปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา

หยุ้ม เป็นชื่อวารสารเพื่อการสื่อสารปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา ภายใต้โครงการ Spark U ปลุกใจเมือง โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ฉบับแรกของหยุ้มฉบับนี้พาไปดูภาพรวมการดำเนินการของดครงการต่าง ๆ ภายใต้ Spark U ปลุกใจเมืองอีสานบ้านเฮา ในพื้นที่นำร่อง เช่น เทศบาลตำบลท่าพระ ศรีฐาน ชุมชนสาวะถี จ.ขอนแก่น, บ้านนาหนองบง อ.วังสะพุง, บ้านนาห้วยม่วง, บ้านอุมุง อ.เชียงคาน จ.เลย ที่ชุมชนสร้างความเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นพื้นที่น่าอยู่ ปลอดภัย มีความสุขกันถ้วนหน้า

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ขอนแก่น

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น สนับสนุนให้น้องๆ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้น้องๆ เกิดความรัก และความผูกพันกับชุมชน

A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค  คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ   

Spark U ปลุกใจคุณ ปลุกใจเมืองอีสาน

Spark U ปลุกใจคุณ ปลุกใจเมืองอีสาน เป็นการรวบรวม สรุปบทเรียนและองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการ Spark U ปลุกใจเมืองอีสาน ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี จากตัวอย่างจริงของพื้นที่ปฏิบัติการใน 3 จังหวัด คือ ขอนแก่น เลย มหาสารคาม ลงรายละเอียดใน 5 พื้นที่กรณีศึกษาอันเป็นผลงานการสืบเสาะ ค้นหา และสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเยาวชนในพื้นที่ เพื่อหวังเป็นตัวจุดสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมในวงกว้างต่อไป 

ท่าพระ ชุมชนเศรษฐกิจ อดีตชุมทางการค้าภาคอีสาน

เสียงฉึกกะฉัก...ฉึกกะฉัก...ของรถไฟดังขึ้นครั้งแรกในชุมชน “ท่าพระ” หนึ่งใน 18 ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น จากชุมชนเล็กๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 2 – 3 ครอบครัว เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่คนไทยแต่ยังมีคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ มาตั้งหลักปักฐานบนแผ่นดินนี้ เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตลาดสถานีรถไฟที่พ่อค้าแม่ขายได้นำสินค้ามาจำหน่าย แม้จะเป็น “ตลาดแบกะดิน” หรือตลาดที่ขายของบนพื้น แต่ตลาดแห่งเดียวกันนี้ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า เพราะนอกจากชาวท่าพระแล้วยังมีชาวบ้านจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และใกล้เคียง บ้างเดินเท้า บ้างนั่งเกวียนเพื่อนำ “ของป่า” มาขายให้คนท่าพระและพ่อค้าคนกลางที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในกรุงเทพมหานคร รายได้จากการขายของป่าก็นำมาซื้อข้าวของกลับไปขายต่อให้คนในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวโกสุมพิสัยและใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงในตัวจังหวัดขอนแก่นเพราะมีแม่น้ำชีขวางกั้นการสัญจรค่อนข้างลำบาก สำหรับ “ของป่า” ที่ว่านั้น ชาวท่าพระผู้เป็นบุคคลอาวุโสได้บอกเล่าให้ฟังว่า ของป่าเป็นสินค้าชาวบ้านนิยมขาย ได้แก่ มะขามเปียก ครั่ง นุ่น ปอ ข้าว เศรษฐกิจท่าพระในขณะนั้นจึงคึกคักมาก ทำให้บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟมีการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.