รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเรื่อง ธนาคารที่ดินชุมชน เพื่อการผลิตอาหารที่ยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา และฉะเชิงเทรา
ปัญหาความเหลื่อมล้ำอยู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานาน หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากที่สุด ก็คือ การถือครองทรัพย์สินที่ดิน ...การปฏิรูปที่ดินจะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดินมากขึ้น และทำให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม เนื่องจากจะมีการจัดสรรทรัพยากรใหม่ระหว่างผู้เป็นเจ้าของที่ดินและผู้ที่ต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีการนำที่ดินที่ถูกทิ้งร้างมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ก่อให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการใช้ที่ดิน นอกจากนั้นการปฏิรูปที่ดินยังทำให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ลดการกระจุกตัวของการถือครอง ที่ดิน และลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
โปสเตอร์รณรงค์ชุด ที่ดินของใคร - 3
ผลงานโปสเตอร์รณรงค์ชุด ที่ดินของใคร โดยนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานชุดนี้ประกอบด้วยภาพโปสเตอร์จำนวน 3 ชิ้นสะท้อนประเด็นการจัดสรรที่ดินทำกินที่ไม่เป็นธรรมของประเทศไทย การหลงลืมความต้องการและเสียงที่แท้จริงของคนในชุมชน ความด้อยโอกาสของคนในพื้นที่ที่วันหนึ่งต้องกลายเป็นผู้รุกล้ำพื้นที่ของตนเองอย่างน่าเศร้า
โปสเตอร์รณรงค์ชุด ที่ดินของใคร - 2
ผลงานโปสเตอร์รณรงค์ชุด ที่ดินของใคร โดยนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานชุดนี้ประกอบด้วยภาพโปสเตอร์จำนวน 3 ชิ้นสะท้อนประเด็นการจัดสรรที่ดินทำกินที่ไม่เป็นธรรมของประเทศไทย การหลงลืมความต้องการและเสียงที่แท้จริงของคนในชุมชน ความด้อยโอกาสของคนในพื้นที่ที่วันหนึ่งต้องกลายเป็นผู้รุกล้ำพื้นที่ของตนเองอย่างน่าเศร้า
โปสเตอร์รณรงค์ชุด ที่ดินของใคร -1
ผลงานโปสเตอร์รณรงค์ชุด ที่ดินของใคร โดยนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานชุดนี้ประกอบด้วยภาพโปสเตอร์จำนวน 3 ชิ้นสะท้อนประเด็นการจัดสรรที่ดินทำกินที่ไม่เป็นธรรมของประเทศไทย การหลงลืมความต้องการและเสียงที่แท้จริงของคนในชุมชน ความด้อยโอกาสของคนในพื้นที่ที่วันหนึ่งต้องกลายเป็นผู้รุกล้ำพื้นที่ของตนเองอย่างน่าเศร้า
สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 2
สปอตรณรงค์ สะท้อนประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา จากการลงเรียนรู้พื้นที่ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา สปอตชุดนี้มี 2 ตอน ตอนที่ 2 นี้เป็นการสรุปภาพรวมตัวเลขให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรที่ดินทำกินในประเทศไทย ที่พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกจัดสรรอย่างไม่เป็นธรรม ส่งผลให้เกิดตัวเลขความเสียหายทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ
สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 1
สปอตรณรงค์ ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้ลงพื้นที่เรียนรู้ประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกิน ณ ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานสปอตนี้จุดประเด็นกระตุ้นเตือนให้เราได้หันมามองคนในชุมชน คนในพื้นที่ ผู้ไม่อาจเข้าถึงโอกาสในการเป็นเจ้าของที่ดินทำกินและใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุมชนตนเองได้ตามความต้องการอย่างแท้จริง
ปัญหาที่ดิน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้
บอร์ดเกม เกมสิทธิ - เกมชุมชน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้ “เกมสิทธิ์/เกมชุมชน” จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของปัญหาที่ดินในวงกว้างผ่านการใช้ “เกมกระดาน” จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด และเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ต่อปัญหาดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งยกระดับความรู้ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงแนวทางการป้องกันชุมชนและทรัพยากรของตน ผ่านการเรียนรู้สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทุกคนพึงมี เพราะเราไม่รู้ว่า เมื่อใดความไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับเราหรือชุมชนของเรา
สื่อรณรงค์เพื่อการปฎิรูปโครงสร้างการจัดสรรที่ดินในประเทศไทย โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : จากข่าวต่างๆ ตามทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จะเห็นปัญหาการความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คนยิ่งถี่ห่าง ความเหลื่อมล้ำก็มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาการเอาเปรียบระหว่างคนชั้นสูงคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างจึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยอาศัยข้อได้เปรียบทางการเงิน ความรู้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างการจัดสรร “ที่ดิน” หรือ “ที่ทำกิน” เป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกนำเสนอพูดถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีอายุอยู่ได้ไม่นาน…ไม่ใช่เพราะถูกแก้ แต่เหตุผลคือคนไทยขี้ลืม...การเลือกทำสื่อหัวข้อนี้เพราะไม่อยากให้ทุกคนแค่ ”รับรู้” ถึงปัญหา แต่อยากให้ “รู้สึก” ถึงหัวใจของคนที่ถูกกระทำ และพร้อมที่จะช่วยกันแก้ปัญหา
กลไกและกติกาการจัดการที่ดินภาคเกษตรกรรมของลาวในบริบทของจินตนาการใหม่
งานวิจัยศึกษาระบบการจัดการที่ดินของประเทศลาว ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ปี 1975 ที่ลาวเปลี่ยนจากระบบสังคมนิยม เข้าสู่เศรษฐกิจเสรีเต็มตัวในแนวทางที่เรียกว่า 'นโยบายจินตนาการใหม่' ส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่อหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งของประเทศ การศึกษานี้จะเข้าไปมุ่งศึกษาในทุกกระบวนการจัดการที่ดินของประเทศลาว ในสถานการณ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้
สังคมไทยต้องสูญเสียอะไร หากไม่ปฏิรูปที่ดิน
งานวิจัยศึกษาเรื่องของการจัดการที่ดินกับความเป็นธรรมในสังคม ศึกษากรณีเกษตรกรในพื้นที่ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะศึกษาระบบแนวคิดและปฏิบัติการการใช้ 'โฉนดที่ดินชุมชน' อันเป็นมาตรการที่ชุมชนร่วมพลังกันนำมาต่อรองและรักษาพื้นที่ของชุมชนเอาไว้จากภาครัฐและนายทุน