รายงานสุขภาพคนไทย 2564
รายงานสุขภาพคนไทยปี 2564 ที่นำเสนอ 10 หัวข้อสถานการณ์เด่นแห่งปี 2564 ที่เกิดขึ้นในสังคมและเป็นตัวชี้วัด “สุขภาพพื้นที่” ที่เป็นตัวสะท้อนความหลากหลายในประเด็นสุขภาพของคนไทย โดยรายงานฉบับนี้นำเสนอตั้งแต่เรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพสังคม เศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพ ปัญหาเรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปจนถึงสถานการณ์ Covid-19 มหันตภัยร้ายเขย่าโลก ที่เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญร่วมกัน ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสถานการณ์การระบาดของโรค การควบคุมและป้องกัน การต่อสู้กับการระบาดของหลายๆ ประเทศ รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงประเด็นเรื่องการพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรคโควิด -19
การจัดระบบชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ
ในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่ซัดเข้าฝั่งไทยเมื่อปี 2547 ได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และในความสูญเสียนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องการยึดครองที่ดินของนายทุนตามเข้ามาซ้ำเติมชาวบ้านอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งสร้างผลกระทบแก่ชาวบ้านและชุมชนชาวพื้นเมืองทางภาคใต้อย่างรุนแรงไม่ต่างไปกว่าคลื่นยักษ์ แต่วิกฤตปัญหานี้ได้กลายเป็นโอกาสให้เกิดการริเริ่ม การจัดระบบชุมชน โดยการจัดระบบดังกล่าว เป็นการฟื้นฟูรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองทางภาคใต้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตน รวมถึงสร้างจิตสำนึกแก่คนในสังคมให้มองชนพื้นเมืองอย่างเท่าเทียมและเข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์
เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
หลายๆ คนอาจจะไม่เคยคิดคำนวณจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันว่าเราใช้ไปมากน้อยเท่าไร อีกทั้งอาจจะไม่ได้นึกไปไกลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ไฟฟ้าของเราในแต่ละวัน ในประเทศไทยเมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทางรัฐก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเท่ากับทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรเพิ่มขึ้นและยังไม่นับผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลัง เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชุดนี้ มาพร้อมกับเกร็ดความรู้ในเรื่องผลกระทบในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองและวิธีการประหยัดพลังงาน ที่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้งานได้จริง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประเทศของเราและช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทาง
เสม็ด Let s fun โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รณรงค์ให้นักท่องเที่ยวที่เสม็ดมีความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ ช่วยกันรักษาความสะอาด เพื่อให้ทะเลยังคงสวยงาม
Our Ocean โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รณรงค์ให้ผู้คนช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล ไม่ทิ้งขยะ หรือของเสียลงสู่ทะเลซึ่งเป็นบ้านของสัตว์น้ำ
Our Ocean โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รณรงค์ให้ผู้คนช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล ไม่ทิ้งขยะ หรือของเสียลงสู่ทะเลซึ่งเป็นบ้านของสัตว์น้ำ
น้ำเหลือในเมืองใหญ่ โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
เปรียบเทียบทรัพยากรน้ำในสังคมปัจจุบันว่า เกิดภัยแล้ง แต่คนในสังคมเมืองปัจจุบันยังคงใช้น้ำแบบฟุ่มเฟือยอยู่ เราจึงให้อาสาสมัครแต่งตัวเป็นคนที่ขาดแคลนน้ำ แล้วให้อาสาสมัครไปใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องใช้น้ำเป็นปัจจัย 4 ในสถานที่ที่เราใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อแสดงให้เห็นว่า น้ำที่เราใช้อย่างฟุ่มเฟือยนี้มันมีประโยชน์กับคนที่ไม่มีน้ำใช้ เหมือนกับน้ำในขวดที่ทุกคนกินเหลือแล้วก็ทิ้ง เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีน้ำจะกิน มันมีค่ามากเกินกว่าที่เราจะทิ้ง
ขุนน่าน โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ป่าขุนน่านเป็นต้นน้ำสายหลักที่ส่งไปแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 45% จึงสร้างอัตลักษณ์ของป่าขุนน่านขึ้นมา เพื่อสื่อให้คนเมืองตระหนักถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำ และร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูต่อไป
ทำไม ต้องแม่วงก์ โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
การสร้างเขื่อนแม่วงก์ เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะส่งผลกระทบต่อป่าตะวันตก และสัตว์ป่าบริเวณนั้นอย่างร้ายแรง เลยได้เป็น Concept ที่ว่า The dam killer.
น้ำ ป่า สัตว์ คน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การออกแบบสื่อ เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการเขื่อนแม่วงก์ โดยแสดงผลที่จะเกิดขึ้น ต่อกันเป็นลำดับ จากการสร้าง และไม่สร้างเขื่อนควบคู่กันไปในประเด็นเดียวกัน สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการมาก่อน เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและเข้าใจได้มากขึ้น
รายการ เสือเล่าเช้านี้ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
TV Scoop โดยมีเสือและกวาง เป็นนักรายงานข่าว ในรายการพูดถึงความรู้ในเรื่องของป่าตะวันตก ระบบนิเวศน์ คือน้ำ 1 แก้ว สามารถทำอะไรได้ยิ่งใหญ่กว่าที่คิด และภัยพิบัติที่เกิดจากการทำลายป่า รุกรานสัตว์ป่า รายการมีความสนุกสนาน แต่มีคำพูดและบางช่วงที่เป็นตลกเสียดสี สาเหตุที่ทำในเชิงสนุกสนาน เสียดสี เพราะว่า ข้อมูลของเรื่องนี้มันเยอะมากๆ จึงทำให้ต้องใช้ความสนุกเข้ามาเล่าเรื่อง เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของความรักป่า เสริมสร้างความรู้ให้กับคนเมืองว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว มัน สามารถเกิดผลกระทบต่อตัวพวกเขาได้ และให้ทุกคนมีความตระหนักต่อป่า สัตว์ป่า และธรรมชาติมากขึ้น
For Rest s Life - Stop Motion ป่าแม่วงก์ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ต้องการให้ประชาชนได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องการจัดการน้ำและสร้างเขื่อน ตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าตะวันตก เข้าใจ และเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดกระแสที่ช่วยผลักดันให้อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นมรดกโลกในอนาคต ตัดวงจรการสร้างเขื่อน