แนวปฏิบัติสําหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์
แม้ว่าเยาวชนไทยในยุคปัจจุบันจะเติบโตขึ้นมาพร้อมเทคโนโลยีและมีความสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะรู้วิธีรับมือกับภัยที่มากับเทคโนโลยี เช่น การกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกออนไลน์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ฯลฯ แนวปฏิบัติสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์ ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องในกรณีภัยออนไลน์ต่อเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักสาธารณะ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ภัยและการป้องกันภัยออนไลน์ให้แก่สังคม
เม่นน้อยหลงทาง
สมัยนี้ใครๆ ก็มีมือถือ แล้วส่วนใหญ่ก็เล่นมือถือกันทั้งวัน เม่นน้อยก็เช่นกันเล่นจนลืมเวลา ลืมทุกอย่างรอบตัว ไม่ยอมออกกำลังกาย ไม่ยอมออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ พอเม่นน้อยมารู้สึกตัวอีกทีก็หลุดหลงเข้าไปอยู่ในโลกที่ทุกคนเฉยเมยต่อกันเพราะถูกมนต์สะกดจากมือถือเสียแล้ว เม่นน้อยหลงทาง นิทานภาพที่มีเนื้อหาสะท้อนโลกยุคดิจิทัลและให้ข้อคิดในการบริหารเวลาการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยขึ้นไปที่ผู้ใหญ่สามารถนำมาใช้เป็นสะพานเชื่อมความรู้และทักษะความฉลาดทางดิจิทัลให้กับเด็กๆ ได้ เรื่องราวของเจ้าเม่นน้อยตัวกลม ที่หลงเข้าไปในโลกของโทรศัพท์มือถือ จนลืมเวลา ... แล้วเขาจะออกมาจากโลกในโทรศัพท์มือถือได้อย่างไรกัน? ติดตามได้จากวีดีโอนิทานนี้เลย
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - อังคณา มาศรังสรรค์
เส้นทางสู่การตื่นรู้ ‘ปล่อยตัวเองออกจากสนามรบ’ โดย คุณอังคณา มาศรังสรรค์ อดีตวิศวกร สู่ผู้บริหารโรงเรียนสอนพิเศษ กับวิถีทางเลือกเพื่อจัดการปมปัญหา ‘Midlife Crisis’ การตั้งคำถามต่อชีวิตและเส้นทางสู่การเรียนรู้โลกภายในตัวตน ที่ช่วยสร้างการตื่นรู้ การมองเห็นและเข้าใจปมปัญหาภายใน อีกทั้งได้สร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายจากการที่ได้ทำความรู้จักตัวตน เกิดการ ’คลี่คลายอดีต’ ‘การใคร่ครวญ’ ‘การรู้ตัว’ เกิดความรัก ความเมตตาและความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบกายที่ดีขึ้น
คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง
Child Online Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย
คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562
ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83% ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์” จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย
ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องต่อมาตรการในการกำกับดูแล ป้องกัน เด็กและเยาวชน ที่เข้าร่วมแข่งขัน เล่นวิดีโอเกม เกมออนไลน์เพื่อแข่งขันชิงเงินรางวัล eSports อย่างปลอดภัยและรู้เท่าทัน
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ว่าด้วยประเด็นเรื่องนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ป้องกันเด็กและเยาวชนจาก eSports หรือการแข่งขันเล่นวิดีโอเกมผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสนิยมในกลุ่มเด็กและเยาวชนยุคดิจิทัล โดยให้คุณค่าเทียบเท่ากับการเล่นกีฬา ในขณะที่ความจริงอีกด้านกระแสดังกล่าวอาจกำลังผลักให้เด็กที่ไม่รู้เท่าทันกลายเป็นเด็กติดเกม ที่มีปัญหาด้านสุขภาพต่อไปในอนาคต งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาประเด็นกังวลเหล่านี้ ผ่านการสำรวจจากเอกสาร งานวิจัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับ eSports ในหลายหลายมิติ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายให้ได้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการกำกับดูแลเยาวชนให้ปลอดภัยและรู้เท่าทัน
10 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์
การเลี้ยงลูกในยุคไซเบอร์ ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ จัดสรรหาเวลาให้ลูก ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว เพื่อลดทอนเวลาในการติดเกมและอินเทอร์เน็ต ปลูกฝังวินัยและความรับผิดชอบให้ลูก ที่สำคัญอย่าลืมชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ดีงาม
ลูกติดเกม เกมที่ครอบครัวต้องช่วยกันแก้
ผลสำรวจเด็กไทย “ติดเกม เล่นออนไลน์” ปี 2556 สูงถึง 2.7 ล้านคน จากเยาวชน 18 ล้านคน พบอาการเด็กติดเกม 4 ระดับ คือ แสวงหาการเล่น ชินชาการเล่น ขาดการเล่นไม่ได้ และเล่นจนเสียการทำหน้าที่หลัก ทว่าพ่อแม่สามารถแก้ไขได้ เพียงหาเวลาและกิจกรรมดี ๆ ทำร่วมกันกับลูก
แผ่นพับสำรวจตัวเองว่าติดเกมหรือไม่
หลายคนเล่นเกม เล่นเยอะ เล่นจนไม่รู้ว่าตัวเองเข้าข่ายติดเกมหรือเปล่า? ถ้าอยากได้คำตอบ ลองมาสำรวจตัวเองง่าย ๆ ด้วยแผ่นพับสำรวจตัวเองว่าเข้าข่ายติดเกมหรือไม่? ถ้าสำรวจแล้วพบว่าเข้าข่ายเป็นคนติดเกมก็อย่าเพิ่งเสียกำลังใจ มีวิธีช่วยเหลือแก้ไขอาการติดเกมเบื้องต้นมาให้ศึกษาพร้อมกันด้วยในสื่อเดียว
การ์ตูน ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์
'ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์' เป็น 1 ในชุดนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวการ์ตูนสนุกๆ อ่านง่ายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการติดหน้าจอของเด็ก ๆ ในยุคนี้ เนื้อเรื่องเป็นโลกแห่งจินตนาการ เมื่อเด็ก ๆ ที่ติดหน้าจอต้องเข้าไปติดอยู่ในโลกไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์ เด็ก ๆ จะออกมาจากไซเบอร์แลนด์ได้ ก็ต่อเมื่อหาคำตอบของการรู้เท่าทันในการใช้สื่อโซเชียลได้เท่านั้น
ใจดีสู้สื่อ สื่อเกม เท่าทันได้ 3May13
ใจดีสู้สื่อ ตอน สื่อเกม เท่าทันได้ พาคนดูทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไปเปิดใจสู้สื่อเกม ที่วันนี้กำลังเข้ามายึดครองพื้นที่ชีวิตของเด็กและเยาวชนไทย เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องรู้เท่าทันถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเล่นเกมมากเกินไป ทั้งต่อสุขภาพกาย ใจ สังคม รวมถึงปัญหาความรุนแรงที่เกิดจากเกม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวคนเล่นเอง ครอบครัว รวมถึงสังคมในวงกว้างด้วย