trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ดิน" พบ 69 ข้อมูล

สปอตรณรงค์ ที่ดินของใคร - ตอนที่ 1

สปอตรณรงค์ ผลงานโดยนักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ได้ลงพื้นที่เรียนรู้ประเด็นความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรที่ดินทำกิน ณ ชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ต และ ชุมชนทับยาง จ.พังงา ผลงานสปอตนี้จุดประเด็นกระตุ้นเตือนให้เราได้หันมามองคนในชุมชน คนในพื้นที่ ผู้ไม่อาจเข้าถึงโอกาสในการเป็นเจ้าของที่ดินทำกินและใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุมชนตนเองได้ตามความต้องการอย่างแท้จริง  

ปัญหาที่ดิน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้

บอร์ดเกม เกมสิทธิ - เกมชุมชน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept :  ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้ “เกมสิทธิ์/เกมชุมชน” จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของปัญหาที่ดินในวงกว้างผ่านการใช้ “เกมกระดาน” จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด และเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ต่อปัญหาดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งยกระดับความรู้ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงแนวทางการป้องกันชุมชนและทรัพยากรของตน ผ่านการเรียนรู้สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทุกคนพึงมี เพราะเราไม่รู้ว่า เมื่อใดความไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับเราหรือชุมชนของเรา 

สื่อรณรงค์เพื่อการปฎิรูปโครงสร้างการจัดสรรที่ดินในประเทศไทย โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept :  จากข่าวต่างๆ ตามทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จะเห็นปัญหาการความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คนยิ่งถี่ห่าง ความเหลื่อมล้ำก็มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาการเอาเปรียบระหว่างคนชั้นสูงคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างจึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยอาศัยข้อได้เปรียบทางการเงิน ความรู้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างการจัดสรร “ที่ดิน” หรือ “ที่ทำกิน” เป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกนำเสนอพูดถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีอายุอยู่ได้ไม่นาน…ไม่ใช่เพราะถูกแก้ แต่เหตุผลคือคนไทยขี้ลืม...การเลือกทำสื่อหัวข้อนี้เพราะไม่อยากให้ทุกคนแค่ ”รับรู้” ถึงปัญหา แต่อยากให้ “รู้สึก” ถึงหัวใจของคนที่ถูกกระทำ และพร้อมที่จะช่วยกันแก้ปัญหา 

10 เทคนิคเดินทางด้วยรถตู้อย่างปลอดภัย

รถตู้โดยสาร เป็นอีกทางเลือกของการเดินทางที่สะดวกในปัจจุบัน  เทคนิคการเดินทางรถตู้อย่างปลอดภัยคือ ต้องเลือกโดยสารรถตู้ทะเบียนสีเหลืองที่มีป้ายบอกระยะทางวิ่งที่ชัดเจน พนักงานขับรถสุภาพ ไม่ขับเร็วเกินไป ไม่ควรโดยสารรถตู้ที่เกินระยะทาง 300 กิโลเมตรขึ้นไป เพราะพนักงานขับรถอาจมีอาการอ่อนเพลีย ทำให้เกิดอันตรายบนท้องถนนได้ และที่สำคัญผู้โดยสารต้องขึ้น – ลง รถตู้ที่ป้ายจอด  หรือจุดจอดเท่านั้น รวมถึงคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง

ตามรอยโกโบริ ชิม ชม ของดี บางกอกน้อย

กลุ่มเยาวชน “สื่อเด็กเปลี่ยนโลก”  นำคนในชุมชน และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมพื้นที่ 3 ดี ออกเดินทางเรียนรู้ชุมชนผ่าน 2 เส้นทาง คือ 'ปั่นยิ้ม' เดินทางด้วยจักรยาน และ 'เดินยิ้ม' เดินเท้าเข้าถึงชุมชนอย่างใกล้ชิด โดยแวะชมสถานที่เด่น ๆ ของชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน โรงรถจักรธนบุรี พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ซึ่งทุกสถานที่ล้วนตามรอยประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่องไปตามเส้นทางของ โกโบริ พระเอกอมตะจากคู่กรรม...นวนิยายชื่อดังของไทย

ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา)

พาไปดูตัวอย่างการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) จ.ศรีสะเกษ ที่ทำวันศุกร์ให้เป็น Friday is Flyday หรือวันแห่งการโบยบิน โดยที่ตลอดวันเด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่เช้าเป็นการเดินจงกรม ทำสมาธิ ต่อมาที่ช่วงสาย ๆ จะเป็นการทำกิจกรรมศิลปะสนุก ๆ และปิดท้ายด้วยการฝึกทักษะชีวิตกับประสบการณ์ทำอาหารอร่อย ๆ เด็ก ๆ มีความสุข สนุกสนาน และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้

ละครเด็กคลิตี้ 13 ปี ชีวิต สายน้ำ ความหวัง

การแสดงนิทานเพลงจากเด็กและเยาชนของหมู่บ้านคลิตี้ ชุมชนชาวกระเหรี่ยง ที่ จ.กาญจนบุรี   สะท้อนภาพชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำและผืนป่า จนกระทั่งโรงแต่งเหมืองแร่เข้ามาทำธุรกิจที่ชุมชน  ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของที่นี้จึงถูกทำลายด้วยสารตะกั่ว การเล่าเรื่องด้วยเสียงเพลงท่วงทำนองที่ไร้เดียงสา รอยยิ้ม และแววตาที่ใสซื่อบริสุทธิ์พวกเด็กๆ เหล่านี้  มุ่งหวังให้เป็นนิทานสอนใจ ขอให้หมู่บ้านคลิตี้ล่างนี้เป็นบทเรียนสุดท้าย เพื่อไม่ให้ชุมชนอื่นๆ ได้รับผลกระทบแบบชุมชนของตนเอง

13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง

13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน  ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554  ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว  แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม  คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง  ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว  แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ  บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์  เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง  

เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล

ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดช่องและรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้นหลายเท่า ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง หนึ่งในกลยุทธ์ที่รายการนำมาใช้คือการสอดแทรกเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ หยาบโลน เพื่อเป็นจุดขายให้รายการกลายเป็นที่นิยม มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษาประเด็น "เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางดิจิตอลทีวีภาคพื้นดินขึ้น" เพื่อเป็นการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเนื้อหาเพศสัมพันธ์ที่มีอยู่ในเนื้อหาทั้งวัจนภาษา อวัจนภาษา โดยศึกษาเชื่อมโยงกับความคิดเห็นของสังคมในโลกออนไลน์ทาง Facebook, Youtube, Pantip ทั้งนี้เพื่อสะท้อนผลกระทบทั้งในแง่ทัศนคติและค่านิยมในเรื่องเพศสัมพันธ์ของคนในสังคม

หนองจอก บ้านนอกกรุงเทพ

ผลงานคลิปวีดีโอจากทีม Santichon Production House พาเราไปพบกับพื้นที่เล็ก ๆ ใจกลางกรุงเทพที่มีวิถีชีวิตอันงดงามซ่อนอยู่ นั่นคือ หมู่บ้านคอยรุตตักวา บริเวณหนองจอก กรุงเทพมหานคร คำว่า คอยรุตตักวา นั้นมีความหมายว่า แผ่นดินทอง วิถีชีวิตที่นี่เป็นไปอย่างเรียบง่าย พอเพียง ไม่มีหนี้สิน ชาวบ้านนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต ทำสวน ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ทั้งเอาไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นรายได้ ชุมชนแห่งนี้ยังแสดงออกถึงการอยู่ร่วมกันของชาวพุทธและมุสลิมอย่างเอื้ออาทรและมความสุข

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.