trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ดิจิทัล" พบ 71 ข้อมูล

MIDL : Cyberbullying

คลิปแอนิเมชั่นที่จะพาเราเข้าไปทำความรู้จักประเด็นการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความหมายของการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่หมายถึงการโพสต์หรือเผยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เกลียดชัง ฯลฯ วิเคราะห์สาเหตุของการตั้งต้นเป็นผู้แกล้ง ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกรังแก ตั้งใจระดับเล็กน้อยไปจนถึงผลกระทบในชีวิตจริงที่รุนแรง และสุดท้ายไปหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่เราทุกคนช่วยกันได้ หากเรารู้เท่าทัน มีสติ และรู้จักเห็นอกเห็นใจกันและกัน เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันสื่ออย่างแท้จริง

Digital Footprint

สื่อเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง Digital Footprint อย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ กับคุณครูโอ-ปราศรัย เจตสันติ์ 1 ในคุณครูที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนรู้เท่าทันสื่อ MIDL ทั้งในมุมของผู้ใช้สื่อทั่วไป บทบาทของครู และสังคมในการช่วยกันดูแลสร้างความรู้เท่าทันสื่อให้เกิดขึ้นในพลเมือง

โมเดลกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวัยรุ่น

" วัยรุ่นใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในการปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกับเพื่อนและแบ่งปันข้อมูลต่างๆ รวมถึงการได้รับตอบโต้ปฏิสัมพันธ์ ผลวิจัยระบุว่าวัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งแง่บวกและลบในการสร้างมโนภาพของตนเอง (Self-concept) และการพัฒนาอัตลักษณ์ (Identity) ในแง่บวก วัยรุ่นหาพื้นที่ในการสร้างอัตลักษณ์ต่อกลุ่ม แสดงออกความเป็นตัวตน และสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นในลักษณะที่ปลอดภัย พร้อมกับพัฒนาทักษะการสื่อสารบนสื่อดิจิทัล ในขณะที่ในแง่ลบ วัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยตกหลุมของการจูงใจ การประเมินคุณค่า และแนวโน้มของการเปิดเผยตัวตนที่มากเกินไป "

Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL)

"การใช้ hate speech อาจเกิดขึ้นโดยผู้ใช้อาจจะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้ท้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้"   เปิดมุมมอง Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล จาก ‘ครูโจ๊ก’ ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต Natthameth Dulkanit โรงเรียนราชวินิต มัธยม ครูในเครือข่าย MIDL School  

Digital Footprint ในมุมมองของครูโอ ปราศรัย เจตสันติ์

สังคมในยุคดิจิทัล มีความรวดเร็วในการรับรู้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น และสร้างสื่อนำเสนอบนโลกออนไลน์อย่างมาก ทำให้ผลกระทบของ DF ไม่ได้เพียงกระทบแค่ในวงจำกัดเท่านั้น แต่ยังสามารถแชร์ข้อมูลไปสู่สังคมได้ง่าย สังคมที่มีความระมัดระวังในการใช้สื่อดิจิทัล จะตระหนักเสมอว่า เมื่อใดที่มีการสร้างสื่อ หรือโพสต์ข้อความใดๆ เป็นการนำเสนอความคิดสู่สาธารณะ ย่อมหมายถึงผลกระทบที่จะตามมาต่อสังคมและผู้คน

Hate speech ในโลกออนไลน์

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน... การเดินทางจาก “Hate Speech” สู่ “Cyberbullying” ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ผ่านการพูด ผ่านตัวอักษรที่เต็มไปด้วยอารมณ์ทางลบ อคติ ตีตรา เหมารวม และความรู้สึกต้องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลหรือกลุ่มคนให้ลดลง Hate Speech (การสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง) ในปัจจุบันถูกสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และอาจเป็นที่มาของการเกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) แล้วเราจะจัดการ “Hate Speech” ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? 1.มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง 2.มีความเห็นอกเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังในโลกไซเบอร์ 3.รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์ 4.สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายเพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

การ์ตูน กระต่ายอวกาศ

'กระต่ายอวกาศ' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวของครอบครัวกระต่ายที่อยู่อาศัย ณ ดาวดวงหนึ่งในกาแล็คซี่อันกว้างใหญ่ ก็ยังมิวายได้รับอิทธิพลจากโฆษณาออนไลน์ ในวันเกิดของลูกกระต่าย ป๊ากระต่ายอยากจะเซอร์ไพร้ส์ลูกด้วยหุ่นยนต์ตัวใหม่ที่โฆษณาลดราคาออนไลน์ แต่พอซื้อมาสินค้ากลับไม่เหมือนโฆษณา จนทั้งป๊าและลูกน้อยเกือบต้องกลายเป็นกระต่ายทอด เรื่องราวสนุก ๆ ผูกเรื่องอย่างทันสมัย อารมณ์ขำขันในยุคโฆษณาออนไลน์ จะจับหัวใจของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ให้เพลิดเพลินติดตามไปได้ตลอดทั้งเรื่องอย่างไม่เบื่อหน่ายเลย

การ์ตูน ยอดมนุษย์พลังโซเชียล

'ยอดมนุษย์พลังโซเชียล' เป็น 1 ในผลงานจากโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวตลกขบขันของการ์ตูนแก๊กแนวขายหัวเราะ สอดแทรกด้วยสาระของการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ถูกนำเสนอผ่านสถานการณ์ในดาวจำลองที่ชื่อ 'ดาวน้อยผ่อนนาน' มีเด็กธรรมดาชื่อว่า ด๊อกแด๊ก ไม่มีพลังพิเศษอะไร หน้าตาก็ไม่หล่อ โดนเพื่อนแกล้งเสมอ โดยเฉพาะ 'เจ๊าะแจ๊ะ' ที่ชอบแกล้งด๊อกแด๊กแรง ๆ จนวันหนึ่งเจ๊าะแจ๊ะบาดเจ็บ ต้องรับบริจาคเลือด สุดท้ายได้ด๊อกแด๊กผู้รู้จักใช้ 'พลังโซเชียล' รับบริจาคเลือดมาช่วยชีวิตเจ๊าะแจ๊ะได้อย่างทันท่วงที 

การ์ตูน ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์

'ไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์' เป็น 1 ในชุดนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เรื่องราวการ์ตูนสนุกๆ อ่านง่ายเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมการติดหน้าจอของเด็ก ๆ ในยุคนี้ เนื้อเรื่องเป็นโลกแห่งจินตนาการ เมื่อเด็ก ๆ ที่ติดหน้าจอต้องเข้าไปติดอยู่ในโลกไซเบอร์แลนด์ แดนมหัศจรรย์ เด็ก ๆ จะออกมาจากไซเบอร์แลนด์ได้ ก็ต่อเมื่อหาคำตอบของการรู้เท่าทันในการใช้สื่อโซเชียลได้เท่านั้น 

การ์ตูน วัยปั่นป่วน ก๊วนสาวแชร์

'วัยปั่นป่วน ก๊วนสาวแชร์' เป็น 1 ในผลงานโครงการนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องของการ์ตูนเล่มนี้สะท้อนเรื่องของการแชร์โพสต์ในโลกโซเชียลโดยไม่รู้เท่าทัน ก๊วนสาวน้อยในการ์ตูนเล่มนี้ พอเห็นภาพเพื่อนกำลังใช้เชือกดึงลูกหมา ก็ตัดสินตามชาวโซเชียลที่ไม่รู้ข้อมูลว่าเป็นการทรมานสัตว์ ทั้งที่เรื่องจริงนั้นตรงกันข้าม เป็นการสะท้อนแง่คิดมุมมองที่เหมาะกับคนโซเชียลยุคนี้ได้รู้เท่าทันและคิดให้รอบคอบก่อนโพสต์และแชร์เรื่องราวต่าง ๆ   

การ์ตูน ดีลีท

'ดีลีท' เป็น 1 ในผลงานโครงการหนังสือนิทานภาพและการ์ตูนชุด 'ฉลาดรู้ทันสื่อดิจิทัล' เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นปัญหาการไม่รู้เท่าทันสื่อของเด็ก ๆ ในยุคดิจิทัล ทำให้เกิดปัญหาตามมาต่าง ๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังเช่นตัวละครเอกในเรื่องที่นึกสนุกถ่ายภาพของเพื่อน ๆ แชร์ในโลกออนไลน์ แล้วคิดว่าแค่เพียง 'ดีลีท' ทุกอย่างก็จะหายไป ก่อนที่สุดท้ายเด็กน้อยจะได้เรียนรู้ว่า บางอย่างในโลกออนไลน์หรือในชีวิตจริงไม่สามารถ 'ดีลีท' ได้อย่างแท้จริง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.