รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)
ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์ และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง
ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)
การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย
คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562
ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83% ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์” จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence)
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)
โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
หนังสือสรุปผลงานวิจัย 3 เรื่อง เพื่อการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนในสื่อยุคดิจิทัล ในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย 1. งานวิจัยประเด็นข้อเสนอนโยบายของหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมต่อประเด็นการแข่งขันอีสปอร์ตในประเทศไทย 2. งานวิจัยประเด็นการขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กเยาวชนในต่างประเทศและแนวทางสำหรับประเทศไทย และ 3. งานวิจัยประเด็นการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กผ่านสื่อเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนตระหนักและรู้เท่าทันสื่อในโลกยุคดิจิทัลอย่างทันท่วงที
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย
งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้
รายงานการวิจัย เรื่อง บทบาทของผู้ปกครองในการกํากับดูแล การเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็กและเยาวชน
สิ่งที่มาพร้อมกับการสื่อสารที่รวดเร็วเปิดกว้างให้กับคนทุกเพศทุกวัย นำมาซึ่งความเสี่ยงในการสื่อสารด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม นอกจากการกำกับดูแลของภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว การส่งเสริมให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กมีบทบาทสำคัญในการหนุนเสริมให้เข้าใจและรู้เท่าทันสื่อ เพื่อช่วยคัดกรองการเปิดรับสื่อของเด็กเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง งานวิจัยชิ้นนี้ จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับรายการจากสื่อดิจิทัลของเด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง รวมถึงความคิดเห็นและแนวทางการเสริมสร้างบทบาทของผู้ปกครองในการดูแลการเปิดรับรายการในสื่อดิจิทัลของเด็ก ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการหาแนวทางเสริมสร้างบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็กและเยาวชนต่อไป
Digital Balance สร้างสมดุลชีวิตทางดิจิทัลในวัยเด็ก
รู้จักกับวิธีการสร้างสมดุลชีวิตทางดิจิทัลในกับเด็ก ๆ พร้อมชวนคิดต่อถึงบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลให้เขาสามารถใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างไม่เป็นพิษกับวัยของเขา
MIDL for Kids การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับเด็กปฐมวัย
หนังสือรวบรวมกรอบความคิดเรื่องของการจัดการความรู้เท่าทันสื่อสำหรับปฐมวัย ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ได้มองเห็นแนวทางในการดูแลเด็กระดับปฐมวัยในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ โดยเนื้อหารวบรวมค้นคว้ามาจากทั้งงานวิจัย เกร็ดความรู้ และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มองประเด็นนี้ได้อย่างรอบด้าน และนำไปประยุกต์สร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัยต่อไป
MIDL คืออะไร
เรียนรู้ความหมายของการเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจจิทัลในศตรรษที่ 21 ผ่านคลิปอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย จากสถานการณ์การสื่อสารแบบไร้พรมแดนในโลกที่มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้หลายหลากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิทัล หรือ สมาร์ทโฟน โลกของความจริงได้หลอมรวมให้คนเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว คนเราเป็นได้ทั้งผู้เสพสื่อและผู้ผลิตสื่อในคราวเดียวกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล ที่เรียกว่า Media Information and Digital Literacy (MIDL) โดยรัฐต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องมีรอบรู้ในการคิด วิเคราะห์สื่ออย่างชาญฉลาด ไม่หลงเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ รวมทั้งมีการเสพและผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์