ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก
ผศ.ดร.ณรงค์ กาญจนะ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครูสายแข็งผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการฟัง โดยการนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการครูกล้าสอนและในโครงการต่างๆ มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง ทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในการฟังอย่างมีสติและกระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน ที่สำคัญคือความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัวได้
ในอ้อมกอดของครู มหัศจรรย์แห่งสัมพันธ์ ที่ สุขมิตร กอมณี ได้จากครูกล้าสอน
อาจารย์น้อย ดร.สุขมิตร กอมณี อาจารย์ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครูในโครงการครูกล้าสอนรุ่นที่ 1 ได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้จากหลักสูตรในโครงการครูกล้าสอนและกระบวนการลดความขัดแย้งมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อลดความขัดแย้งในองค์กรและสร้างความเข้าใจระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวมถึงได้นำกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน
ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง
ครู คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น่าสนใจและมีคุณภาพ โครงการ “ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง เปิดหลักสูตรอบรมให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อทบทวนบทบาท สร้างแรงบันดาลใจ คุณค่าความหมายของการเป็นครูและสร้างการยอมรับในความแตกต่างผ่านทักษะการฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งทักษะในการฟังนี้จะเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและนักเรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในชั้นเรียนต่อไป
แนะนำโครงการครูกล้าสอน
บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จัก “ครูกล้าสอน” ผู้ที่ต้องการมายืนอยู่หน้าห้องเรียนเพื่อเปลี่ยนให้ห้องเรียนนั้นเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดย “ครูกล้าสอน” ล้วนเป็นครูที่ผ่านการเรียนหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Courage to Teach : Exploring the Inner Landscape of a Teacher Life ของนักจัดการศึกษาคนสำคัญปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรนี้ เพื่อฟื้นฟูพลัง ปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูให้กลับมาเปี่ยมพลังอีกครั้ง โดยหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานโดย ทีม New Spirit (จิตวิญญาณ ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง) บริษัท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากส านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ก่อการครู PLC ก่อการครู ร.ร.ชุมชนบ้านผานกเค้า
กระบวนการเรียนรู้ที่มีชีวิต หรือ PLC เป็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงเด็กให้มีความสุขในการเรียนที่มากขึ้น แล้วสุดท้ายก็จะส่งผลมาที่ครูผู้สอนให้มีความสุขด้วยเช่นกัน โรงเรียนชุมชนบ้านผานกเค้า จ.เลย เน้นการเรียนการสอนแบบ PLC ที่มีการเปิดใจ เปิดหู เปิดตาในการเรียนการสอน โดยใช้หลักการฟังทุกเรื่อง ฟังให้จบ มองให้ทั่ว ไม่ด่วนตัดสิน แล้วเมื่อนั้นทั้งศักยภาพของเด็กและครูก็จะเกื้อหนุนกันอย่างมีความสุข
ก่อการครู : ทัศนะ ดร.กันตพงศ์ คงหอม ครูแกนนำรุ่น 1
ดร.กันต์พงศ์ คงหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสี่แยก ครูแกนนำในโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่หนึ่ง และ นายสมโชค อารยา ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนบ้านสี่แยก ได้ร่วมกันผลักดันและจุดประกายให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมในจุดที่ขาดหายไป เพื่อสร้างความสมดุลและให้เด็กในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ รวมถึงได้นำหลักการระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้
ใจคน ชุมชน การเปลี่ยนแปลง บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม
บทเรียนการนำร่วมจากผู้ขับเคลื่อนสังคม เป็นหนังสือรวบรวมบทความวิจัยซึ่งเกิดจากการเดินทางเข้าไปเรียนรู้ ประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนชุมชนในพื้นที่ 3 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จังหวัดเชียงราย, ชุมชนโคกสลุง จังหวัดลพบุรี, กลุ่มทราเวลล์และชุมชนรอบข้างในเขตพระนคร กรุงเทพฯ ภายใต้โครงการวิจัย “การถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่ผ่านภาวะการนำร่วม”
พังงาแห่งความสุข สุขที่คุณสัมผัสได้
การถอดบทเรียนการทำงานชุมชนร่วมกันของคนในจังหวัดพังงามากว่า 20 ปี หนังสือเล่มนี้จะทำให้เห็นถึง "การล้มลุกคลุกคลาน จุดแข็ง จุดอ่อน หรือแนวทางการทำงานของชุมชน" เพื่อให้ผู้อ่านไม่ทำพลาดซ้ำ "พังงาแห่งความสุข" ไม่ใช่ตัวอย่างความสำเร็จ แต่คือตัวอย่างการ "เริ่มต้นนับหนึ่ง" เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทบทวน ทั้งส่วนชุมชน ประชาสังคม หน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ รวมถึงผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมในบริบทอื่น ๆ เพื่อนำข้อคิดไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองต่อไป
จุดนัดพบบนเส้นขนาน
หนังสือจุดนัดพบบนเส้นขนาน เป็นการถอดบทเรียนกระบวนการทำงานยกระดับและพัฒนาศักยภาพการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ 4 แห่ง คือ มูลนิธิบ้านครูน้ำ จ.เชียงราย, ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งโคกสลุง จ. ลพบุรี, เครือข่ายขอนแก่นนิวสปิริต จ.ขอนแก่น และเครือข่ายสภาพลเมืองพังงาแห่งสุข จ.พังงา โดยเน้นการประสานร่วมพลังระหว่างชาวบ้าน ชุมชน และการประกอบการสังคม โดยการเรียนรู้นี้สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมยุคนี้ เราไม่ได้ต้องการผู้นำแบบพระเอกขี่ม้าขาว ที่ฉายเดี่ยว แต่สังคมกำลังต้องการผู้นำที่มีวุฒิทางปัญญา สามารถหลอมรวมสภาวะการนำและการขับเคลื่อนสังคมสู่สังคมอารยะ หรือการมีคุณค่า และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในสังคมแห่งทุน หรือมูลค่า ได้อย่างมีสมดุล
ชุมชนรับน้ำ จังหวัดอุทัยธานี โดย จิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ชุมชนรับน้ำ (เกาะเทโพ) จังหวัดอุทัยธานี เป็นชุมชนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี แต่คนทั่วไปในสังคมกลับไม่รับรู้ถึงปัญหาของชุมชนดังกล่าว กลุ่มจึงต้องการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเพื่อสะท้อนปัญหาดังกล่าวให้คนทั่วไปได้รับรู้ ซึ่งอาจนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคตได้
ลำพู รำลึก โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ตามตรอกซอกซอยในชุมชนบางลำพูให้สวยงาม เพื่อให้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวที่ผ่านไปผ่านมาได้ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด