สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กาญจนบุรี
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม บ้านตีนตก จ.กาญจนบุรี กับความสามารถในการผลิตคลิปวิดีโอเชิงสร้างสรรค์ของน้องๆ กลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะขาดเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต แต่ก็ไม่ย่อท้อที่จะลุย!!
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ขอนแก่น
สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น สนับสนุนให้น้องๆ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้น้องๆ เกิดความรัก และความผูกพันกับชุมชน
คุณตาสุ่ม เล่าเรื่องสาวะถี ปราชญ์ชาวบ้าน ณ. สาวะถี
ศิลป์สร้างสุขพาไปรู้จัก บ้านตาสุ่ม สุวรรณวงศ์ ปราชญ์สาวะถี พักอยู่ตรงใกล้ๆ วัดไชยศรี ผู้รู้เรื่องหมู่บ้านสาวะถี เล่าเรื่องราวชุมชน ไปชมกันว่าคุณตามีชีวิตเรียบง่ายอย่างไร
บทเรียนชุมชน 3 ดีวิถีสุข การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาพื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี
หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข” ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.
บ้านสาวะภี สินไซโมเดล 2 เมืองวิถีสุข พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี
บทสรุปการดำเนินงานของโครงการสินไซโมเดลเมืองสามดีวิถีสุขปี 2 ผ่านกิจกรรมหลัก 4 กิจกรรมได้แก่ ค่าย, สัญจร, การแลกเปลี่ยน และการถอดบทเรียน โดยชุมชนสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่นแห่งนี้ ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบเมือง 3 ดีของภาคอีสาน (พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี) ที่เป็นพื้นที่กลางในการปฏิบัติงานของเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เรื่องราววรรณกรรมสินไซซึ่งเป็นเรื่องเล่าของแผ่นดินล้านช้าง สามารถเชื่อมโยงคนทํางานสื่อพื้นบ้านจากหลากหลายสาขาในภาคอีสาน เข้ามาปฏิบัติการด้วยกันจนสําเร็จในปีแรก ด้วยสื่อหลากหลายชนิดทั้ง เพลงกล่อมลูก, กันตรึม, ทอผ้า, หมอลํา หุ่น, หนังตะลุง, เพลง และการสืบค้นภูมิบ้านภูมิเมืองของตนเอง วรรณกรรมสินไซ สามารถเป็นเครื่องมือที่นําไปสู่การผลิตนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นสื่อกลางของชุมชนแห่งนี้ เป็นการการันตีในการเชื่อมประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน บ้าน วัด โรงเรียน
Endless Night
ผลงานภาพยนตร์สั้นในแนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม บทและกำกับโดย เฉลิมเกียรติ แซ่หย่อง สะท้อนประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ฝุ่น ควัน ความเจริญ เทคโนโลยี และวิถีชีวิตของคนภายใต้สถานการณ์อันเลวร้าย ตัวภาพยนตร์จำลองวิถีชีวิต สภาพบ้านเมืองในอนาคต เมื่อมนุษย์ละเลยสิ่งแวดล้อม จนอากาศบริสุทธิ์ ดวงอาทิตย์ กลายเป็นสิ่งขาดแคลนในชีวิตประจำวัน ดุจดังราตรีที่ยาวนานไม่มีที่สิ้นสุด
Concious
ผลงานคลิปวีดีโอสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ผลงานจากทีม Energy Plus คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา สะท้อนประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนผ่านภาพยนตร์สั้นแนวระทึกขวัญ เมื่อชายหนุ่มคนหนึ่งถูกจิตสำนึกเขาไล่ตามและหลอกหลอน ทำให้เขาต้องลุกขึ้นมาย้อนคิดถึงสิ่งที่ตัวเองทำ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น
แม่น้ำโบราณ
หากพญานาคสะท้อนความในใจออกมาได้? จะเป็นอย่างไร
โลกของชานน
เมื่อชานน เด็กจากต่างจังหวัดต้องเข้ากรุงเทพฯ จะเกิดอะไรขึ้นกับเขาบ้าง??
โขง ชี มูล บ่สูญจากโลกนี้
เรื่องราวที่สะท้อนความรู้สึกของพ่อใหญ่ปาน ผู้ซึ่งพบเห็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติมาหลากหลายด้าน
ร.๙ ในใจชน ตอน เรื่องเล่าชาวบางลำพู (ตอนที่ 1)
การได้เกิดและเติบโตในย่านบางลำพู ที่อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง และสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ยังความปลาบปลื้มมาให้ผู้คนในชุมชนบางลำพู ไม่ว่าจะเป็นการได้มีโอกาสถวายการต้อนรับเมื่อครั้งเสด็จนิวัติผ่านถนนจักรพงษ์ การรับเสด็จเมื่อครั้งพระองค์ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร การสนับสนุนการแปลคัมภีร์อัลกุรอานให้เป็นภาษาไทย เพื่อเผยแพร่หลักคำสอนให้กับพี่น้องชาวไทยมุสลิม แม้กระทั่งการได้ถวายเสื้อเชิ้ตแด่พระองค์และทราบว่าพระองค์ทรงใช้สวมใส่อย่างคุ้มค่า รวมถึงการนำแนวพระราชดำริโครงการจักรยานเผินน้ำมาผสานกับโครงการกังหันชัยพัฒนา เพื่อคืนความใสสะอาดให้กับคูคลองย่านบางลำพู เหล่านี้คือความประทับใจและจิตวิญญาณของลูกหลานชาวบางลำพู ที่จะดูแลชุมชนของตนเองให้เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า และอยู่ในความทรงจำตลอดไป