ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ไข่เจียว จังหวัด กรุงเทพ
วิถีชีวิตชุมชนเมือง แม้จะมีเวลาน้อย แต่ก็สามารถทำอาหารทานเองได้ ตัวอย่างเมนูง่าย ๆ แสนอร่อยและสนุกของเด็ก ๆ กลุ่มเยาวชนรองเมืองเรืองยิ้มก็คือ 'ไข่เจียวทรงเครื่อง' การทำไข่เจียวของเด็ก ๆ มากไปกว่ารสชาติอร่อยคือบรรยากาศของมิตรภาพ การได้พูดคุยกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ได้พัฒนาทักษะ ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน กลุ่มผ้าทอมือ ชุมชนคุณธรรม อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวนบ้านผือ กลุ่มผ้าทอมือ ชุมชนคุณธรรม คุ้มวัดศรีโสภณ เทศบาลตำบลบ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ผลงานผลิตสื่อของเด็กเยาวชนโรงเรียนภูพระบาทวิทยา โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
วิถีไทยเบิ้ง สายใยวัฒนธรรมสายสัมพันธฺ์ชุมชน
วิถีไทยเบิ้ง “สายใยวัฒนธรรม สายสัมพันธ์ชุมชน” กระบวนการถอดบทเรียนการทำงานร่วมกันกว่า 15 ปี ระหว่างกลุ่มแกนนำและผู้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น : วิถีไทเบิ้งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ตำบล โคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้เป็นการทบทวนการทำงานและกลั่นประสบการณ์จากการทำงานจริงเพื่อพัฒนาชุมชน โดยมีภูมิปัญญา ประเพณี และวัฒนธรรมชุมชนเป็นสื่อกลาง เพื่อสื่อสารเรื่องราวและบทเรียนจากการทำงานพัฒนาบนฐานวัฒนธรรมของชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจอยากจะขับเคลื่อนงานในลักษณะใกล้เคียงกัน และนำไปปรับประยุกต์เป็นแนวทางในการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนตนเองต่อไป
เรื่องเล่าจากโต๊ะ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด วิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่เปลี่ยนไปตามตรรกะที่อุบัติขึ้นแม้แต่ในตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ วิถีชุมชนเดิมเริ่มเปลี่ยนไปเน้นบริโภคนิยม เกิดการแข่งขันและไล่ตามวัตถุนิยมมากขึ้น “เรื่องเล่าจากโต๊ะ” เป็นเรื่องราวที่ปราชญ์ ครูภูมิปัญญา หรือผู้เฒ่าในชุมชน ได้ถ่ายทอดเรื่องราววิถีการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับท้องทะเล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงที่ตกทอดเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบ้านเรือนท้องถิ่น จากอดีตกาลที่เป็นเอกลักษณ์จวบจนปัจจุบัน ผ่านกิจกรรมในโครงการศิลปะสร้างสรรค์ โกงกางสร้างสุข ชุมชนสร้างภูมิปัญญา ดำเนินงานโดย กลุ่มละครมาหยา ศูนย์สื่อสารเด็กไทยมุสลิม เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับหน่วยงาน องค์กร โรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งสืบสานเอกลักษณ์ของดีในพื้นที่และวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงให้ยั่งยืน
เรื่องเก่าเล่าใหม่ถึงหัวใจบางหลวง
เสน่ห์ของประวัติศาสตร์ คือ บทเรียนที่คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เพื่อเข้าใจวิธีคิด การต่อสู้ ความอดทน ของ“คนสองวัย” ในบางหลวงที่ร่วมกันสืบสานและบันทึกตำนานรวมเรื่องเล่าย่านความหลัง ถ่ายทอดเป็นตำนาน “เสื่อผืน หมอนใบ” ของชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับคนไทยและชาวลาว ที่บ้านบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ จนเกิดเป็นแหล่งอารยธรรมผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์ ไทย จีน ลาว ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสามัคคี ความเรียบง่ายและวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวจวบจนถึงปัจจุบัน
สำนึกสุขภาวะ
ด้วยสภาพสังคมไทยทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมโลก จนอาจทำให้เรามองข้ามความงามในตัวตนและรากเหง้าของเราไป วรรณกรรมชุมชน สำนึกสุขภาวะ กระจกบานเล็กที่สะท้อนวิถีชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สายใยแห่งบรรพบุรุษที่ได้บ่มเพาะมาอย่างยาวนาน โดยมุ่งหวังปลูกสร้างจิตสำนึกการพึ่งตนเอง ให้แก่คนในพื้นที่โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ให้มองเห็นลึกซึ้งถึงรากเหง้า เข้าถึงปัจจุบันของตัวตนทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม ปลูกสำนึกรักในบ้านเกิด หวงแหนในทรัพยากรของชุมชน ผ่านทางกิจกรรมอันได้แก่ ดนตรี กวี ศิลปะ เพื่อสืบทอดเจตนาของบรรพบุรุษด้วยจิตวิญญาณความเป็นชาติไทยต่อไปให้ยั่งยืน
สื่อศิลปวัฒนธรรมสู่มหาลัยภูมิปัญญาแห่งอีสาน
“คู่มือการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน” โดย เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน เป็นการถอดแบบบทเรียนกระบวนการการทำงานของ 9 เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ที่ได้ดำเนินการแบบแยกส่วนอยู่ในหลายพื้นที่ในภาคอีสาน ทั้งจังหวัด ขอนแก่น มหาสารคาม นครราชสีมา เลย สุรินทร์ และศรีสะเกษ ซึ่งทั้ง 9 เครือข่ายนี้ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการนำสื่อศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าสู่ชุมชน ทั้งละคร หมอลำ หนังประโมทัย การทอผ้า ดนตรี กันตรึม ผญา และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการฟื้นฟู เยียวยา กล่อมเกลา สร้างสรรค์และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในภาคอีสาน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์ความรู้สำคัญให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ เพื่อนำมาปรับใช้พัฒนาบ้านเกิดของตนเองต่อไป