Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ชา" พบ 344 ข้อมูล

คู่มือนิเวศภาวนา เตรียมการเดินทาง ค้นหาตัวเองในธรรมชาติแห่งป่าเขา

“ชีวิตคือการเดินทางอยู่ทุกขณะจิต” มนุษย์เราเริ่มออกเดินทางตั้งแต่วินาทีแรกที่เราเกิดมาและระหว่างการเดินทางนั้น เราได้เรียนรู้ ได้ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจากสิ่งที่เราได้ประสบพบเจอในสังคมและตลอดเวลาเราต้องเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เราสับสนหรือแม้กระทั่งรู้สึกหมดคุณค่าในตัวตน แล้วการเดินทางแบบไหนที่จะสร้างคุณค่าและการตระหนักรู้ให้กับเรา? คู่มือเตรียมการเดินทางค้นหาตัวเองในธรรมชาติแห่งป่าเขา หรือ นิเวศภาวนา ฉบับปี 2563 คือ คู่มือเตรียมความพร้อมในการเดินทางกลับสู่บ้านภายในที่จะนำเรากลับไปค้นหาตัวตนและคุณค่าที่แท้จริงของเราอย่างตระหนักรู้และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เพื่อนำคุณค่าที่เราค้นพบในธรรมชาติกลับมาสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตัวเราและสังคม

การจัดระบบชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ

ในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่ซัดเข้าฝั่งไทยเมื่อปี 2547 ได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และในความสูญเสียนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องการยึดครองที่ดินของนายทุนตามเข้ามาซ้ำเติมชาวบ้านอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งสร้างผลกระทบแก่ชาวบ้านและชุมชนชาวพื้นเมืองทางภาคใต้อย่างรุนแรงไม่ต่างไปกว่าคลื่นยักษ์ แต่วิกฤตปัญหานี้ได้กลายเป็นโอกาสให้เกิดการริเริ่ม การจัดระบบชุมชน โดยการจัดระบบดังกล่าว เป็นการฟื้นฟูรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองทางภาคใต้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตน รวมถึงสร้างจิตสำนึกแก่คนในสังคมให้มองชนพื้นเมืองอย่างเท่าเทียมและเข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์

ในยุคปัจจุบันมนุษย์เราถูกกลืนเข้าไปในกระแสแนวคิดภาวะทันสมัย เราใช้ชีวิตมุ่งเน้นไปในทางบริโภคนิยมเพื่อหาความสุขและแข่งขันกับเวลาเพราะต้องการความก้าวหน้าและความทันสมัย แต่ความก้าวหน้าและความทันสมัยนี้กลับทำให้เราขาดความอ่อนโยนและยังต้องเบียดเบียนผู้อื่นและธรรมชาติ อีกทั้งยังสร้างวิกฤตปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคม สร้างความขัดแย้งและมลภาวะเอาไว้มากมายอย่างไม่มีทางแก้ การใช้ชีวิตในแนวคิดแบบเดิมๆ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน ทางออกเดียวที่จะยับยั้งวิกฤตเหล่านี้ได้ คือ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ให้เข้าใจต้นตอของปัญหาและสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตอย่างตระหนักรู้คุณค่าของธรรมชาติที่เรามี ก็จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับตัวเราและสังคมได้

เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

หลายๆ คนอาจจะไม่เคยคิดคำนวณจำนวนไฟฟ้าที่เราใช้ในชีวิตประจำวันว่าเราใช้ไปมากน้อยเท่าไร อีกทั้งอาจจะไม่ได้นึกไปไกลถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ไฟฟ้าของเราในแต่ละวัน ในประเทศไทยเมื่อมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทางรัฐก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเท่ากับทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรเพิ่มขึ้นและยังไม่นับผลกระทบอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลัง เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมชุดนี้ มาพร้อมกับเกร็ดความรู้ในเรื่องผลกระทบในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างสิ้นเปลืองและวิธีการประหยัดพลังงาน ที่เราในฐานะผู้บริโภคสามารถนำไปศึกษาและประยุกต์ใช้งานได้จริง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประเทศของเราและช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติได้อีกทาง

Slow is beautiful วิถีทางเลือกนั้นเป็นไปได้จริง

หลายคนคงจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัว “สลอธ” ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้สุดแสนจะเชื่องช้านั้น ที่จริงแล้ว พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตและรู้สำนึกถึงคุณค่าของธรรมชาติมากกว่ามนุษย์อย่างเราๆ เสียอีก ในโลกของมนุษย์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเสรีนิยมและการแข่งขัน เราใช้ชีวิตกันอย่างรีบเร่งเน้นสร้างปริมาณและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าจิตใจ เพราะมีกรอบความเชื่อแบบเดิมๆ ตามฝั่งตะวันตกว่า ยิ่งมีมากยิ่งสุขมาก แต่ยิ่งเรามีมากก็เท่ากับเราต้องเบียดเบียนธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น ถ้าหากเราลองเปลี่ยนกรอบความคิดเดิมให้กลับมาใช้วิถีชีวิตแบบตะวันออก ที่ใช้ชีวิตให้ช้าลง ใจเย็นลง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมากขึ้น เราจะค้นพบว่า เราได้สร้างการเบียดเบียนชีวิตอื่นน้อยลง เรามีความสุขง่ายขึ้นและมองเห็นคุณค่าของสิ่งเล็กๆ ได้ง่ายมากขึ้น

การสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563

COPAT กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ปี 2563 โดยได้ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-18 ปี ผลการสำรวจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เด็ก 89% เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยหรือความเสี่ยงต่างๆ 69% มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ด้วยการเรียกถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น และมีเด็ก 29% เคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ เป็นต้น

เด็กดอยยังกินดี

หนังสือที่ต้องการนำเสนอให้เห็นว่าเด็กในชุมชนชาติพันธุ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในชุมชนที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีวิถีการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมทั้งครอบครัวชาติพันธุ์ใช้ชีวิตอย่างไรกับกระแสบริโภคนิยมเช่นนี้

เมนูถูกใจเด็กใกล้ฟ้า

หนังสือรวมสูตรอาหาร ๙ ชาติพันธุ์ จำนวน ๓๐ ชนิด โดยเลือกจากชนิดของอาหารที่ได้จากการสำรวจอาหารชาติพันธุ์ที่เด็กชอบมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ   

ชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา

น่าดีใจที่ชุมชนห้วยยอด และพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดตรัง มีกระแสของการดูแลใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย โดยที่ทั้งชุมชนและทีมสุขภาพต่างมีส่วนร่วม หนุนเสริมซึ่งกันและกัน นำโดย พระกฎษดา ขนฺติกโร ประธานชมรมชายผ้าเหลือง และผู้นำสังฆะแห่งการเยียวยา ชมการทำงานและแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ในวีดีโอชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ฉบับสมบูรณ์

งานวิจัยสำรวจและตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลระดับบุคคลที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่21 ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน รวมถึงความสามารถในการผลิตสื่อ เพื่อช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเคารพสิทธิของคนอื่นๆ ในสังคม 

ทำไมชาวนาปลดหนี้ได้

ทางออกของการช่วยชาวนา หรือพี่น้องเกษตรกรปลดหนี้ ด้วย 5 วิธี คือ หนึ่งไม่เหนียวหนี้ มีเงินแล้วต้องรีบชำระหนี้ สองมีความเพียรและอดทน หารายได้เสริม ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น สามรู้จักการประหยัดอดออม สี่วิเคราะห์และทบทวนตนเองอยู่เสมอ ห้ารวมกลุ่มพี่น้องเกษตรกร เพื่อพัฒนาผลผลิตและช่องทางการจำหน่าย ที่สำคัญร่วมกันต่อรองเจรจาในการลดหย่อนจำนวนหนี้อย่างเหมาะสม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.