เด็กดอยยังกินดี
หนังสือที่ต้องการนำเสนอให้เห็นว่าเด็กในชุมชนชาติพันธุ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในชุมชนที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีวิถีการบริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมทั้งครอบครัวชาติพันธุ์ใช้ชีวิตอย่างไรกับกระแสบริโภคนิยมเช่นนี้
เมนูถูกใจเด็กใกล้ฟ้า
หนังสือรวมสูตรอาหาร ๙ ชาติพันธุ์ จำนวน ๓๐ ชนิด โดยเลือกจากชนิดของอาหารที่ได้จากการสำรวจอาหารชาติพันธุ์ที่เด็กชอบมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ
คู่มือการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มองเห็นปัญหาของการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในเมืองไทย จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่จะใช้ชีวิตในเมืองไทยได้อย่างมีความสุข อาทิเรื่องการแจ้งเหตุเมื่อประสบเหตุร้าย การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นต้น
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน โมฮิงกาโต๊ะ แม่สอด จังหวัด ตาก
ไปรู้จัก 'โมฮิงกาโต๊ะ' หรือยำขนมจีนแท้ ๆ แสนอร่อย อาหารประจำครอบครัวจากประเทศพม่า โดยเด็กเยาวชนกลุ่ม Rays of youth อ.แม่สอด ใช้กระบวนการเรียนรู้อาหารพื้นถิ่นในชุมชนแรงงานเพื่อสร้างความเข้าใจและอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนไทยและพม่าในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
ชาติพันธุ์กูย สุรินทร์
ผลงานจากโครงการอบรมสร้างสื่อสร้างสรรค์ ผลิตคลิปสั้นด้วยมือถือ (4 ภูมิภาค)
อ่อลางมอแกน
“อ่อลางมอแกน” โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุข ศสส. เป็นการถอดบทเรียนองค์ความรู้และถ่ายทอดเรื่องราวกระบวนการการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาบูรณาการเพื่อพัฒนาเยาวชนและชุมชนชาวมอแกนในพื้นที่จังหวัดพังงาและจังหวัดระนอง ในโครงการเด็กอันดามันสร้างสุข (อ่อลางมอแกน) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของปราชญ์พื้นบ้านชาวมอแกน ศิลปิน แกนนำชุมชนมอแกน คณะทำงานเยาวชนมอแกน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้นำการละคร สื่อศิลปะพื้นบ้านมาเป็นตัวเชื่อมร้อยมิติสุขภาวะทางสังคมในชุมชน เพื่อให้เกิดพัฒนาการและการสืบสานทางวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์และเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้แก่เหล่าเยาวชนมอแกน
เรื่องเก่าเล่าใหม่ถึงหัวใจบางหลวง
เสน่ห์ของประวัติศาสตร์ คือ บทเรียนที่คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ เพื่อเข้าใจวิธีคิด การต่อสู้ ความอดทน ของ“คนสองวัย” ในบางหลวงที่ร่วมกันสืบสานและบันทึกตำนานรวมเรื่องเล่าย่านความหลัง ถ่ายทอดเป็นตำนาน “เสื่อผืน หมอนใบ” ของชาวจีนที่ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกับคนไทยและชาวลาว ที่บ้านบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ จนเกิดเป็นแหล่งอารยธรรมผสมผสานระหว่างชาติพันธุ์ ไทย จีน ลาว ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของ ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความสามัคคี ความเรียบง่ายและวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่ผูกพันอยู่กับสายน้ำ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวจวบจนถึงปัจจุบัน
ครัวหลังเขา ข่างปองเต๊กเบิ่งไทใหญ่
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน สำหรับตอนนี้เครือข่ายสตรีชนเผ่าชาติพันธุ์ไทใหญ่ จะมาเล่าถึงเอกลักษณ์ความละเมียดละไมของคนไทใหญ่ผ่านการแต่งกายของสตรี และสาธิตเมนูอาหารทำง่ายและอร่อยได้สุขภาพที่ชื่อ "ข่างปองเต๊กเบิ่ง" ซึ่งมีส่วนผสมหลักคือมะละกอ กระเทียม กระชาย กะปิและขมิ้น นำมาทอดเป็นอาหารทานเล่นหรือรับประทานคู่กับข้าวเหนียวและขนมจีนน้ำเงี้ยวก็อร่อยและสุขภาพดี
ครัวหลังเขา : หมูห่อใบกาแฟ(เมี่ยน)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักชาวเมี่ยน ผ่านการนำเสนอเอกลักษณ์ของชนเผ่าโดยเครือข่ายชุมชนบ้านโป่งป่าแขม อ.แม่จัน จ.เชียงราย ชนเผ่าเมี่ยนเป็นชนเผ่าที่อพยพมาจากประเทศจีน มีเอกลักษณ์การแต่งกายที่งดงาม นอกจากนี้ยังมีอาหารชนเผ่าเมนูเด็ดคือ หมูห่อใบกาแฟ ที่ประยุกต์เอาใบกาแฟที่เป็นพืชปลูกเลี้ยงชีพมาปรุงเป็นอาหารแสนอร่อย รับประทานกับผักต่าง ๆ เกิดเป็นความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพของชุมชน
ครัวหลังเขา-ข้าวซอยน้อย(ลื้อ)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน ตอนนี้พาไปรู้จักอาหารประจำครอบครัวของชนเผ่าไทลื้อ ที่บ้างปางริมกรณ์ จ.เชียงราย กับเมนูอาหารทำง่ายแต่อร่อยและมีประโยชน์ที่ชื่อว่า "ข้าวซอยน้อย" คำว่าน้อยหมายถึงใช้ถาดเล็กในการทำ เหมาะสำหรับทำรับประทานในครอบครัว ข้าวซอยน้อยของชาวไทลื้อปรุงเป็นแผ่นแป้งสีขาวมีผักที่ชอบเป็นส่วนผสม นำไปผ่านกรรมวิธีการต้ม กินเป็นแผ่นร่วมกับเครื่องปรุงรสที่มาจากถั่วดิน เอร็ดอร่อยและสุขภาพดี
ครัวหลังเขา-แกงหน่อส้ม(ไทดำ)
รายการครัวหลังเขา รายการนำเสนอคุณค่าอาหารชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง เพื่อการอยู่พอดี กินพอดี เพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน สำหรับตอนนี้เครือข่ายสตรีไทดำ หรือที่หลายคนเรียกว่า ลาวโซ่ง ไททรงดำ ชนเผ่าที่อพยพมาจากเวียดนาม เข้ามาอยู่เมืองไทยกว่า 200 ปีแล้ว ชาวไทดำมีเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องของอาหาร ตัวอย่างเช่น เมนูแกงหน่อส้มหรือแกงหน่อไม้ดอง ซึ่งเป็นเมนูอาหารที่ใช้สำหรับงานมงคลเท่านั้น แกงหน่อส้มนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อร่อย ชาวไทดำใช้รับประทานทั่วไป หรือนำไปรับประทานในพิธีกรรม เช่น ประเพณีข้าวใหม่ หรือประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ของชนเผ่า