ลงทะเบียนเรียนฟรี การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร
ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น ที่พาผู้เรียนทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ทำให้เข้าใจผิด บิดเบือน ฝึกฝนการตรวจสอบข้อเท็จจริง (FACT-CHECKING) ในข่าวลวง ข่าวปลอม และข้อมูลเท็จ ติดตั้งแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองดิจิทัลรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร และสร้างทักษะประสบการณ์ในการหาความจริงร่วม จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก หมวดเนื้อหา “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร” เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 20 มิถุนายน 2565 หัวข้อ พื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking 101) 7 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เครื่องมือและเคล็ดลับ สำหรับนักตรวจสอบข้อเท็จจริง ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท 8 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลเมืองดิจิทัลกับการรับมือข้อมูลข่าวสาร(นวัตกรรมโคแฟค) ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น. ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ รับจำนวนจำกัด !!! สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่ https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/
เอ๊ะก่อนอ๋อ รู้ให้ทันสื่อ
ในยุคของโซเซียลมีเดีย มีสื่อต่างๆ มากมาย ให้รับเราชม แต่ก่อนที่เราจะหลงเชื่อ แล้วมาร้อง "อ๋อ ..." ทีหลัง เราควรมี 7 เอ๊ะ !!! ในการรู้ให้ทันสื่อ คือ สื่อนั้นมาจากแหล่งไหน, สื่อนั้นมีอะไรให้เราสนใจ, สื่อนั้นมีคนคิดต่างจากเราไหม, สื่อนั้นนำเสนอค่านิยมอะไร, สื่อนั้นมีข้อเท็จจริงอย่างไร, สื่อนั้นมีการละเมิดสิทธิ์และผิดกฎหมายไหม, และสุดท้ายสื่อนั้นใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จริงๆ คนผลิตสื่อ หรือ คนเสพสื่อ