ลงทะเบียนเรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทอล (MIDL)
ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! แนะนำ! คอร์สเรียนออนไลน์ ที่ชาวโซเชียลควรรู้ หลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด ทักษะ และทัศนคติ ด้วยชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media, Information and Digital literacy หรือ MIDL) เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น Chulalongkorn University Values Integration Program หรือ CUVIP มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จัก ค้นพบ และพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการ ทำงานอย่างมือ อาชีพ เมื่อสิ้นสุดการเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ผู้เรียนจะได้รับองค์ความรู้ใหม่หรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว และสร้างแรงบันดาลใจใน การดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต จนสามารถร่วมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณสมบัตินิสิต บัณฑิต และบุคลากรให้สามารถเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก . หลักสูตร CUVIP series "เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก” Media Literacy, the essential skill for well-being เปิดพื้นที่เรียนรู้ออนไลน์ด้วยเนื้อหาที่ได้รับออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งเป็นทักษะสร้างสุขภาวะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 หมวดเนื้อหา 13 หัวข้อเรียนรู้ 2 ชั่วโมงต่อครั้ง . หมวดเนื้อหาที่ 1 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน โดย คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย หมวดเนื้อหาที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อพลเมืองดิจิทัล โดย คุณณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต , คุณปราศรัย เจตสันติ์, คุณอลงกรณ์ อัศวโสวรรณ และ คุณพรพรรษ อัมพรพฤติ กลุ่ม Critizen หมวดเนื้อหาที่ 3 สูงวัยเท่าทันสื่อ โดย เอกชัย เธียรสรรชัย, ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ และ ฐานิสร์ ริ้วสุวรรณ์ (กลุ่มคนตัวดี บริษัท ทำมาปัน จำกัด) หมวดเนื้อหาที่ 4 การคุ้มครองจากภัยออนไลน์ โดย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช , คุณสุพิชฌาย์ ชัยธัมมะปกรณ์ และ คุณณัชวลัย สุวรรณฑัต มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย หมวดเนื้อหาที่ 5 การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) และ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท. . การสมัครและเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP สำหรับบุคคลทั่วไป 1. ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php 2. ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project 3. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php 4. ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม*** CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 หรือ Inbox Facbook: CUVIP Project 5. ผู้เรียน จะได้รับประกาศนียบัตร หลังจบการเรียนรู้แต่กิจกรรม
หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน
สุขภาวะทางปัญญาหรือการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ ตัวช่วยสำคัญที่มีอิทธิพลในการพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายในองค์การหรือการพัฒนาตัวบุคลากรในสถานที่ทำงาน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการทำงานก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ทางบวก การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะผู้นำ โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งเสริมหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานในองค์รวม องค์การที่สนับสนุนสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานจะเป็นองค์การที่ตระหนักรู้ว่าผู้คนไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นมนุษย์ที่แสวงหาความหมายและเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ หลักสูตรและคู่มือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจหรือไม่เคยมีความคุ้นเคยในเรื่องนี้มาก่อน เพื่อนำไปปรับใช้พัฒนาให้เกิดแนวคิดเชิงบวกในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์การให้มีประสิทธิผล
ฉลาดทำบุญ โครงการปันกันอิ่ม
ในแต่ละวันเราทำบุญแบบไหนกันบ้าง คลิปวิดีโอ “ฉลาดทำบุญ” โครงการปันกันอิ่ม โครงการดีๆ ที่ทำให้เราได้เห็นอีกมุมหนึ่งของสังคมที่มีน้ำใจและเต็มใจที่จะแบ่งปันความสุขให้ผู้อื่นเพื่อบรรเทาทุกข์ โดยมีทั้งร้านอาหารและร้านน้ำที่มองเห็นว่าการแบ่งปัน คือ การทำบุญรูปแบบหนึ่งและสนใจเข้าร่วมโครงการ เพราะได้ทั้งทำบุญและได้ความสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นอิ่มท้อง พร้อมทั้งได้เชิญชวนร้านค้าต่างๆ ให้เข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน เพราะการให้เป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้สังคมมีความสุข
มุมมองแนวคิดเรื่อง บุญ กับ จิตอาสา โดย พระไพศาล วิสาโล
เมื่อเรานึกถึงการทำบุญเรามักจะนึกถึงแต่การให้ทานโดยเฉพาะการเข้าวัดทำบุญกับพระสงฆ์ ทว่าการทำบุญนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสละทรัพย์เท่านั้น แต่การสละเวลาและแรงกายในการช่วยเหลือผู้อื่นหรือสัตว์ที่เจ็บป่วยก็นับเป็นการทำบุญตามหลักพระพุทธศาสนาเช่นกัน คลิปเสียง มุมมองแนวคิดเรื่อง บุญ กับ จิตอาสา โดย พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ซึ่งพระอาจารย์ไพศาลได้ให้มุมมองเกี่ยวกับการทำบุญไว้ว่า เพียงแค่เรามีจิตที่อาสาเราก็สามารถทำบุญหรือช่วยเหลือผู้อื่นได้ การทำบุญที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนานั้นคือการทำบุญที่ให้ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านและนำมาซึ่งความปิติที่ได้บรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่น รวมทั้งเกิดปัญญาแก่ผู้ให้เพราะผู้ให้จะรู้สึกว่ามีอัตตาตัวตนที่น้อยลง
ฉลาดทำศพ
งานศพ เป็นงานที่ไม่เป็นมงคล และเมื่อจำเป็นต้องจัดก็จะไม่มีเวลาในการเตรียมตัวมากนัก หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรทำ และปริศนาธรรมที่จะได้รับจากงานศพ เพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้ที่จำเป็นต้องใช้ได้เกิดประโยชน์ เพราะแท้จริง งานศพ เป็นงานที่รำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว แสดงถึงความกตัญญู ความรัก และเป็นการอำลาอาลัยครั้งสุดท้าย เพื่อชำระล้างสิ่งที่ค้างคาใจ
รู ว่าเขาหลอก อย่าเต็มใจให้หลอก
นอกจากกินผักผลไม้ให้มากขึ้น สิ่งที่เราควรระวัง เตรียมตัว และทำความเข้าใจ คือความปลอดภัยของผักผลไม้ที่เรากิน เพราะทุกวันนี้ ผักผลไม้เชิงเดี่ยวในท้องตลาดมักมีของแถมเป็นสารเคมีที่ไม่ปลอดภัยต่อร่างกาย และหลักการจดจำเดิมๆ อย่างการเลือกผักที่มีรู เลือกผักที่มีตรารับรอง หรือเลือกกินผักพื้นบ้าน ใม่ใช่ทางออกที่ปลอดภัยเสมอไป เพราะมีการตรวจพบสารปนเปื้อนจากผักผลไม้เหล่านี้เช่นเดียวกัน มารู้เท่าทัน และคัดสรรผักผลไม้ที่เราไว้วางใจว่าจะไม่ถูกหลอกด้วยหลักการเบื้องต้นเหล่านี้
อ่านฉลาก อย่างฉลาด
หนึ่งในหนทางสู่การเลือกกินดี คือการรู้จักพลิกอ่านฉลากโภชนาการที่อยู่หลังซองหรือกล่องก่อนซื้อทุกครั้ง Greenery ลองถอดสูตรวิธีการอ่านตัวเลขแบบง่ายๆ ให้เอาไปใช้กันได้จริง เพื่อการเลือกกินอย่างฉลาด
การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence)
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’