จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก
จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป
การตลาดแบบตรงทางโทรทัศน์กลุ่มดิจิตอล HD
รายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ นับเป็น 1 ในรูปแบบธุรกิจการตลาดแบบขายตรง เป็นการขายสินค้าผ่านหน้าจอที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 20 ปี แต่ก็ยังคงมีคำถามถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและการเคารพกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค มีเดียมอนิเตอร์จึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาถึงปริมาณ รูปแบบ และลักษณะของรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัล (HD) โดยศึกษาทั้งหมด 7 ช่อง ครอบคลุมหน่วยการศึกษาทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ผลสรุปมีทั้งเชิงปริมาณของรายการ กลยุทธ์ที่ใช้ในการขาย รวมไปถึงการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมทางวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแก่สังคมและเพื่อต่อยอดนำสู่การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
หนังเล่าเรื่อง ตอน สมปองนักข่าวแห่งตำนาน
"สมปอง นักข่าวแห่งตำนาน" ภาพยนตร์สั้นสะท้อนภาพการโกง แต่เป็นการโกงในด้านจรรยาบรรณ การทุจริตต่อวิชาชีพ ไม่ได้วัดกันที่ตัวเงินแต่วัดกันที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพยนตร์แสดงเรื่องของความรู้สึก บอกเล่าผ่านอาชีพ “นักข่าว” ที่จำเป็นต้องทำเสนอข้อเท็จจริง ภาพยตร์สั้นเดินเรื่องแนวตลกเสียดสีให้ผู้ชมได้ฉุกคิดเรื่องราวต่าง ๆ กับจรรยาบรรณและจริยธรรม