สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP2 New Normal มีคุณค่าอย่างไร
ความปกติใหม่ของการดูแลใจให้ยกระดับสู่ความสุข หรือ New Normal ของใจ คือ ความเปลี่ยนแปลงเพื่อความมั่นคงจากภายในใจ ด้วยการมีความตระหนักและตื่นรู้ ไม่หลงตกร่องไปในความคุ้นชินเดิม ๆ แต่ให้เราฝึกฝนในการรู้เนื้อรู้ตัว แก้ไขนิสัยไม่ดีด้วยการยอมรับความเป็นจริงโดยไม่มีเงื่อนไข และปล่อยวางมันด้วยใจที่เป็นกลาง
สุขสัญจรออนไลน์ - New Normal EP1 1 New Normal อัตโนมัติใหม่ของใจ
รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา กล่าวว่า “ใจ” มีพื้นฐานที่ผ่องใสอยู่แล้ว แต่มีความขุ่นมัวจากกิเลสที่แวะเวียนมาเป็นครั้งคร่าว เพื่อทำให้ใจเป็นทุกข์จากอกุศลต่าง ๆ หน้าที่ของเราในการดูแลใจ คือการต้องรู้เท่าทันกิเลสที่มากระทบใจ และการเสริมสร้างแรงใจด้วยกุศล ซึ่งวิธีง่ายๆ เลยก็คือ การคิดบวก ทำอารมณ์ให้แจ่มใส เบิกบาน
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP4 Mental Garden กับการใช้ชีวิต
การดูแลจิตใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน หรือ Mental Garden เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่การแยกระหว่างการปฏิบัติติธรรมกับการใช้ชีวิต การที่เราสามารถกำจัดวัชพืช-อกุศลในใจจากความโกธร หลง ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ก็มิได้รับประกันว่าโจรหรือกิเลส อกุศลต่าง ๆ จะไม่เข้ามากระทบใจเรา เราจำเป็นต้องมีสติ เจริญภาวนา และทำสมาธิเสมอ เพื่อให้ทุกสภาวะของจิตเป็นกลางตลอดเวลา
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP3 Mental Garden ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน
การดูแลใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน แนวคิดนี้ เพื่อเป็นการชำระล้างใจให้เบา สบาย คลายความวิตกกังวล เหตุที่เปรียบกับสวนหลังบ้าน เพราะการปฏิบัติธรรม หรือการเจริญภาวนา เพื่อปรับใจให้คลายทุกข์และเป็นสุข ไม่จำเป็นต้องจัดสวนหน้าบ้านไว้โออวดใคร การหมั่นกำจัดวัชพืชในสวนหลังบ้าน เสมือนการนำเอา “อกุศล” ออกจากใจ โดยยึดหลัก ของใหม่ไม่เอาเข้า - ของเก่าให้นำออก และหมั่นดูแลดอกไม้เล็กที่เป็นกุศลให้เติบโตในใจของเราเอง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP2 New Normal ของใจที่ได้จากโรคโควิดคืออย่างไร
หลังวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 โรคอุบัติใหม่ ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนชีวิตสู่รูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal กันมากมาย แล้วเมื่อพูดถึง New Normal ของใจ ทุกคนรู้ไหมว่าคืออะไร ? การดูแลใจในรูปแบบของ New Normal คือการติด “เซนเซอร์ที่ใจ” ทำให้ใจมีการใคร่ครวญ ตอบสนองด้วยสติและปัญญา ไม่ทำอะไรรวดเร็วตามอารมณ์ ตามอัตโนมัติวูบไปวาปมา New Normal ของใจต้องตระหนักรู้-ยอมรับ-กลับสู่ความจริง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP1 การยอมอย่างไม่มีเงื่อนไข คือการปล่อยวางที่แท้จริง
เชื่อว่าในช่วงชีวิตของคนเราต้องมีการเผชิญกับสิ่งที่กังวลและหวาดกลัว การต่อสู้ หรือวิ่งหนีความกลัวเหล่านั้นใช่ทางออกที่แท้จริงหรือไม่ ? รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ให้ข้อคิดกับทุกคนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ ของชีวิต คือ “การยอมรับความจริงอย่างไท่มีเงื่อนไข คือการปล่อนวางอย่างแท้จริง เพื่อเรียกสติว่าเราจะลุกขึ้นสู้ใหม่อย่างไร เหมือนเราอยู่ในทะเล หากมีคลื่นมา ก็แค่ประคองตัวไปกับคลื่นนั้นให้ผ่านไปได้ เราไม่ได้มีหน้าที่ทำให้คลื่นสงบ
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก
ทำงานที่บ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลลูกน้อยในบ้านด้วย ทำอย่างไรจะดูแลใจกันได้ทั้งครอบครัว? ท่ามกลางสถานการณ์ new normal สิ่งใหม่ที่เราต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ work from home และการเรียนจากบ้านของลูกน้อยในบ้าน ทำให้เราต้องมีบทบาทพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เป็นแม่-หัวหน้างาน เป็นพ่อ-เพื่อนในงาน เป็นลูก-นักเรียนออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คงส่งผลกับภูมิคุ้มกันทางใจของเราไม่น้อย จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในฐานะที่เป็นอยู่หรือกับสมาชิกในบ้าน ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก” เพื่อให้มีแนวทางที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว พร้อมกับเติมความเข้าใจและรู้จักคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะพาเราไปรู้จัก Family O’clock ว่าเราจะจัดการเวลาของทั้งครอบครัวอย่างไร และนำเสนอกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันและสร้างให้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอย่าง Family Art Talk เป็นต้น
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19
โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19
ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่แล้วมันโอเคจริงๆ หรือเปล่าสำหรับฉัน? ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ภาพรวมของโลก new normal การ์ดอย่าตก โควิดจะกลับมา การเงินส่วนตัว ความสัมพันธ์ในชีวิต การงานของเรา อาจส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ถึงความเครียด สับสน วิตกกังวล ซึ่งหลายครั้งการหมกหมุ่นในอารมณ์และความคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังซ้ำเติมเราให้อาการหนักขึ้น ความสุขประเทศไทยจึงได้ผลิต “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน” ที่เล่าถึงวิธีสร้าง “ภูมิคุ้มใจ” แบบง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ มีแบบฝึกหัดเล็กๆ ที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันทางใจให้กับตัวเราเอง สามารถรักษาใจให้โอเค ท่ามกลางสถานการณ์ที่ต่างๆ ที่ยังไม่โอเคเท่าไรนัก คู่มือฉบับนี้จะพาเราถามใจตัวเองว่ายังโอเคไหม พาไปดูสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มใจของเราบกพร่อง รวมถึงวิธีดูแลและสร้างภูมิคุ้มใจบางอย่าง เช่น ฮาวทูนับหนึ่งถึงห้า ล้างมือล้างใจ เป็นต้น
5 ขั้นระบายใจ กับการเขียนบันทึกแบบน้ำไหล
เบาสบาย…ปล่อยให้มันไหลออกมา บางสิ่งที่ไม่อาจบอกใครได้ ลองบอกตัวเองอย่างซื่อสัตย์ ผ่านการเขียนบันทึกที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ความคิดความรู้สึกใดๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ด้านในและเข้าใจตนเอง
8 ขั้น ล้างมือ-ล้างใจ ให้มือสะอาดและใจสงบ
ต้องล้างมือกันวันละหลายรอบ แล้วใจของเราล่ะ เราได้ล้างสิ่งไม่ดี อารมณ์ลบๆ ที่หมักหมมออกบ้างไหม? ‘ถ้ามือเราสะอาด ใจเราก็จะสะอาดไปด้วย’ มันจะเยี่ยมไปเลย!