trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ควา" พบ 610 ข้อมูล

ความเซ็กซี่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยป๊อบ ฮิปฮอป ลูกทุ่ง (2554-2556)

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องประเด็นกลยุทธ์การขายภาพลักษณ์ 'ความเซ็กซี่' ในเนื้อหาสื่อมิวสิควีดีโอเพลงไทยทั้งป๊อบ ฮิปฮอป และลูกทุ่ง ในประเทศไทยช่วงปี 2554-2556 โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการประกอบสร้างความเซ็กซี่ การใช้ภาษา พฤติกรรมการแสดงออกเรื่องเพศ เสื้อผ้าเครื่องแต่างกาย การทำให้ผู้แสดงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความเชื่อมโยงกับทัศนคติ แนวคิด ค่านิยม และการเลียนแบบ โดยสำรวจจากเว็บไซต์ Youtube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูงรวมถึงมีอิทธิพลหลักในการนำเสนอมิวสิควีดีโอเพลงสู่สังคม

การตลาดแบบตรงทางโทรทัศน์กลุ่มดิจิตอล HD

รายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ นับเป็น 1 ในรูปแบบธุรกิจการตลาดแบบขายตรง เป็นการขายสินค้าผ่านหน้าจอที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 20 ปี แต่ก็ยังคงมีคำถามถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและการเคารพกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค มีเดียมอนิเตอร์จึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาถึงปริมาณ รูปแบบ และลักษณะของรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัล (HD) โดยศึกษาทั้งหมด 7 ช่อง ครอบคลุมหน่วยการศึกษาทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ผลสรุปมีทั้งเชิงปริมาณของรายการ กลยุทธ์ที่ใช้ในการขาย รวมไปถึงการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมทางวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแก่สังคมและเพื่อต่อยอดนำสู่การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม

หนังสือองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเล่มนี้เป็นชุดที่ 2 จากทั้งหมด 4 ชุดองค์ความรู้ เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้จากโครงการต่างๆ ในเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ โดยในเล่มนี้ประกอบไปด้วย 6 องค์ความรู้คือ องค์ความรู้เรื่องการฟ้อนพื้นเมือง องค์ความรู้เรื่องกลองชัยยะมงคล องค์ความรู้เรื่องกลองสะบัดชัย องค์ความรู้เรื่องแคนม้ง องค์ความรู้เรื่องเตหน่า และองค์ความรู้เรื่องการฟ้อนไตประยุกต์ เพื่อให้แต่ละพื้นที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเองและเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสารกับคนในชุมชนและสังคมต่อไป

องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่

หนังสือองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่เล่มนี้ ประกอบไปด้วยเรื่องราว ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่รวบรวมจากการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลทั้งจากเอกสารวิชาการและจากการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนไทใหญ่ในโครงการดนตรีหลากเผ่าพันธุ์สร้างสรรค์คนดี โรงเรียนบ้านเวียงหวาย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และของเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมอำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน  ประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ดังนี้ “ประเพณี 12 เดือน” “ประเพณีการเกิด การแต่งงาน การตาย” “ประเพณีกาดหลู่” “การแสดงจ้าดไต” “เฮินไต” และ “ภาษาไทใหญ่” โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แต่ละพื้นที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเอง และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสารให้ความรู้กับคนในชุมชนและเยาวชน ร่วมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาต่างๆ ของศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ

องค์ความรู้ด้านประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ

เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมเดปอทู่ จากชนเผ่าปกาเกอะญอ อ.แม่แจ่ม เชียงใหม่, พิธีกรรมการมัดมือ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่, พิธีกรรมอ้อผญา และนิทานเรื่องแม่กาเผือก  มาร้อยเรียงเป็นหนังสือองค์ความรู้ด้านประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติ ผ่านความเชื่อ วิถีชีวิต และความผูกพัน ว่าแท้จริงแล้ว แผ่นดินและแม่น้ำล้วนมีธรรมชาติเป็น “เจ้าของ” มนุษย์เป็นเพียงผู้มาขอใช้ และเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเท่านั้น

วิถีไทยเบิ้ง สายใยวัฒนธรรมสายสัมพันธฺ์ชุมชน

วิถีไทยเบิ้ง “สายใยวัฒนธรรม สายสัมพันธ์ชุมชน” กระบวนการถอดบทเรียนการทำงานร่วมกันกว่า 15 ปี ระหว่างกลุ่มแกนนำและผู้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น : วิถีไทเบิ้งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ตำบล โคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้เป็นการทบทวนการทำงานและกลั่นประสบการณ์จากการทำงานจริงเพื่อพัฒนาชุมชน โดยมีภูมิปัญญา ประเพณี และวัฒนธรรมชุมชนเป็นสื่อกลาง  เพื่อสื่อสารเรื่องราวและบทเรียนจากการทำงานพัฒนาบนฐานวัฒนธรรมของชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจอยากจะขับเคลื่อนงานในลักษณะใกล้เคียงกัน และนำไปปรับประยุกต์เป็นแนวทางในการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนตนเองต่อไป

ความรักศิลปะบทกวีมีใบไม้เป็นครู

“เพราะความงามคือความจริง” ร่วมเรียนรู้การอยู่ร่วมกันระหว่างชีวิตและธรรมชาติ  ที่กลุ่มเด็กรักป่าอีสานใต้ ได้ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2532 จนเกิดโครงการโรงเรียนเด็กรักป่าขึ้นในปี 2534  เป็นศูนย์ศึกษาธรรมชาติและผืนป่า ที่เชื่อมโยงระหว่างเด็ก ชุมชน และธรรมชาติเข้าหากันอย่างเกื้อกูล มีการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้ชุมชนรักษ์และเห็นคุณค่าของป่าและธรรมชาติ ด้วยงานศิลปะหลากหลายขนาด เช่น งานวาดภาพ งานเขียนบทกวี ดนตรี กิจกรรมดูนกเดินป่า ทำบาติกย้อมสีธรรมชาติ

บทเรียนชุมชน 3 ดีวิถีสุข การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาพื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี

หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข”  ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี  สื่อดี  และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ  สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.    

สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (3)

ตอนสุดท้ายของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เนื้อหาต่อจากตอนที่ 2 เรื่องการย้อมสีจาก ใบห้อม หรือ เทคนิคการย้อมหม้อห้อม  ต้องมีการดูแลอย่างดี ขั้นตอนอาจจะยุ่งยาก  เมื่อย้อมเสร็จแล้ว การที่จะปล่อยให้ผ้าเป็นสีน้ำเงินหรือสีคราม จะต้องให้ผ้ามาทำปฏิกริยากับอากาศหรือออกซิเจน  ปัจจุบันหลายคนอาจตั้งคำถามว่าการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติเป็นความยุ่งยาก แต่ครูนุสราอยากให้ลองมองมุมใหม่ ให้มองเป็นความสนุก การได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติทำให้จิตใจเราอ่อนโยน เป็นความสุข การได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นชีวิตที่พอดี พอเพียง พอใจและภูมิใจที่ได้ทำ

A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค  คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ   

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.