Slow is beautiful วิถีทางเลือกนั้นเป็นไปได้จริง
หลายคนคงจะไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัว “สลอธ” ที่เคลื่อนไหวร่างกายได้สุดแสนจะเชื่องช้านั้น ที่จริงแล้ว พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตและรู้สำนึกถึงคุณค่าของธรรมชาติมากกว่ามนุษย์อย่างเราๆ เสียอีก ในโลกของมนุษย์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยระบบเสรีนิยมและการแข่งขัน เราใช้ชีวิตกันอย่างรีบเร่งเน้นสร้างปริมาณและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าจิตใจ เพราะมีกรอบความเชื่อแบบเดิมๆ ตามฝั่งตะวันตกว่า ยิ่งมีมากยิ่งสุขมาก แต่ยิ่งเรามีมากก็เท่ากับเราต้องเบียดเบียนธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น ถ้าหากเราลองเปลี่ยนกรอบความคิดเดิมให้กลับมาใช้วิถีชีวิตแบบตะวันออก ที่ใช้ชีวิตให้ช้าลง ใจเย็นลง เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติมากขึ้น เราจะค้นพบว่า เราได้สร้างการเบียดเบียนชีวิตอื่นน้อยลง เรามีความสุขง่ายขึ้นและมองเห็นคุณค่าของสิ่งเล็กๆ ได้ง่ายมากขึ้น
ความรักคือการให้อภัย - แม่มุ้ย กุสุมา จันทร์มูล
บทสนทนาเล่าเรื่องราวชีวิตของแม่มุ้ย กุสุมา จันทร์มูล นักรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมทางเพศและสนับสนุนการทำแท้งที่ปลอดภัย ได้เล่าเรื่องราวชีวิตที่เดินทางร่วมกับลูกชายคนเดียวฝ่าฟันความเจ็บปวดมาเกินครึ่งชีวิต กับบทเรียนชีวิตที่สร้างกระบวนการเติบโตภายใน การยอมรับสภาวะในตัวตน วิธีการดูแลความสัมพันธ์กับลูกและการเปลี่ยนแปลงมุมมองความโกรธแค้นในชีวิต ด้วยการใช้ ”ความรัก” เปลี่ยนปมความโกรธให้กลายเป็นมิตรภาพ
เพราะโลกมันร้อน.. เราจึงต้องลงมือทำ : ความสุขสร้างได้ สปาร์คยูอีสาน
เมื่อขยะมันเยอะ มลพิษมันแยะ พืชผักก็มีแต่สารเคมี เรามาเป็นครอบครัวลดโลกร้อนกันดีกว่า
ตื่นรู้ 101 ห้องการเรียนรู้ที่ 3 เส้นทางสู่องค์กรแห่งความสุข
วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา มณีวัฒนา คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ เกตุฉาย ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา , คุณชุลีพร รัมยะรังสิ เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในงาน ตื่นรู้ 101 วันที่ 10 มกราคม 2562 ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา กิจกรรมของ “ตื่นรู้ 101” เป็นการบรรยายผสมผสานกับการลงมือปฏิบัติ (Workshop) เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้น ได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของตนเอง รวมทั้งมีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากเรียนรู้ในแต่ละช่วง โดยวิทยากรประจำห้องแต่ละห้อง ซึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสามารถที่จะเลือกเข้าไปมีส่วนร่วมในห้องต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนแต่ละห้องล่วงหน้า ซึ่งพื้นที่การจัดกิจกรรมทั้ง 3 ห้อง จะถูกสร้างเป็นพื้นที่เปิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจได้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก
ทำงานที่บ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลลูกน้อยในบ้านด้วย ทำอย่างไรจะดูแลใจกันได้ทั้งครอบครัว? ท่ามกลางสถานการณ์ new normal สิ่งใหม่ที่เราต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ work from home และการเรียนจากบ้านของลูกน้อยในบ้าน ทำให้เราต้องมีบทบาทพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เป็นแม่-หัวหน้างาน เป็นพ่อ-เพื่อนในงาน เป็นลูก-นักเรียนออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คงส่งผลกับภูมิคุ้มกันทางใจของเราไม่น้อย จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในฐานะที่เป็นอยู่หรือกับสมาชิกในบ้าน ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก” เพื่อให้มีแนวทางที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว พร้อมกับเติมความเข้าใจและรู้จักคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะพาเราไปรู้จัก Family O’clock ว่าเราจะจัดการเวลาของทั้งครอบครัวอย่างไร และนำเสนอกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันและสร้างให้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอย่าง Family Art Talk เป็นต้น
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19
โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19
ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ
คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่แล้วมันโอเคจริงๆ หรือเปล่าสำหรับฉัน? ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ภาพรวมของโลก new normal การ์ดอย่าตก โควิดจะกลับมา การเงินส่วนตัว ความสัมพันธ์ในชีวิต การงานของเรา อาจส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ถึงความเครียด สับสน วิตกกังวล ซึ่งหลายครั้งการหมกหมุ่นในอารมณ์และความคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังซ้ำเติมเราให้อาการหนักขึ้น ความสุขประเทศไทยจึงได้ผลิต “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน” ที่เล่าถึงวิธีสร้าง “ภูมิคุ้มใจ” แบบง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ มีแบบฝึกหัดเล็กๆ ที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันทางใจให้กับตัวเราเอง สามารถรักษาใจให้โอเค ท่ามกลางสถานการณ์ที่ต่างๆ ที่ยังไม่โอเคเท่าไรนัก คู่มือฉบับนี้จะพาเราถามใจตัวเองว่ายังโอเคไหม พาไปดูสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มใจของเราบกพร่อง รวมถึงวิธีดูแลและสร้างภูมิคุ้มใจบางอย่าง เช่น ฮาวทูนับหนึ่งถึงห้า ล้างมือล้างใจ เป็นต้น
5 ขั้นระบายใจ กับการเขียนบันทึกแบบน้ำไหล
เบาสบาย…ปล่อยให้มันไหลออกมา บางสิ่งที่ไม่อาจบอกใครได้ ลองบอกตัวเองอย่างซื่อสัตย์ ผ่านการเขียนบันทึกที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ความคิดความรู้สึกใดๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่ซ่อนอยู่ด้านในและเข้าใจตนเอง
8 ขั้น ล้างมือ-ล้างใจ ให้มือสะอาดและใจสงบ
ต้องล้างมือกันวันละหลายรอบ แล้วใจของเราล่ะ เราได้ล้างสิ่งไม่ดี อารมณ์ลบๆ ที่หมักหมมออกบ้างไหม? ‘ถ้ามือเราสะอาด ใจเราก็จะสะอาดไปด้วย’ มันจะเยี่ยมไปเลย!
ใช้เวลาอยู่บ้านทำ 6 Sensing รับรู้โลกไร้ขีดจำกัด
ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยจากไวรัสและทำได้ง่ายๆ ที่บ้าน วันหยุดนี้ขอชวนเดินทางไปสัมผัสสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา
สนทนาประสาครอบครัว เริ่มคุยอย่างไรให้ได้ดูแลกัน
โควิด-19 ทำให้เราเห็นชัดว่าบ้านและครอบครัวเป็นที่พักพิงใจที่มั่นคงที่สุด ในวันหยุดที่เราอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน จะดีแค่ไหนที่เราได้ใช้ช่วงเวลานี้