วิธีดูแลใจตนเองและคนรอบข้างในช่วงโควิด-19 โดย ทีปัก โจปรา
ดร. ทีปัก โจปรา หนึ่งในคุรุผู้โด่งดังด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ได้ให้ข้อคิดในการรับมือความตื่นตระหนกจากวิกฤติโควิด 19 ไว้ดังนี้ ดูแลกายและใจให้รู้สึกดี , รับข่าวแต่พอดี , พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน , เท่าทันข้อมูลสถิติ และมีสติทุกเมื่อในการสื่อสาร
4 เรื่องที่ควรทำ และไม่ควรทำ เพื่อรักษากาย-ใจ ในสถานการณ์โควิด-19
ช่วงวิกฤติโควิด 19 คนไทยทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองทั้งกายและใจ เมื่อต้องอยู่บ้าน หรืออยู่รวม ด้วย 4 เรื่องที่ควรทำและไม่ควรทำ เอาเรื่องที่ควรทำเป็นหลักก่อน เราต้องดูแลสุขอนามัยให้ปลอดเชื้อ , ดูแลจิตใจให้ผ่อนคลาย , พูดจาอ่อนโยนให้กำลังใจกันและกัน และเมื่อมีโอกาสก็แบ่งปัน และช่วยเหลือกันและกัน
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ Day 5 : พบโอเอซิสที่ซ่อนอยู่
ค้นพบความลับ 5 ข้อ ของการมีความสุขในช่วงอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ส่วนใครที่เริ่มเหงา หรือคิดถึงครอบครัว เพื่อนฝูง โชคดีนะที่ยุคนี้เป็นยุคออนไลน์ อย่ารีรอสร้างกลุ่มสนทนาออนไลน์กันเลย เอาแบบเห็นหน้าคาตา หรือจะฟังแค่เสียงให้หายคิดถึงได้นะคะ เพราะความรักคือโอเอซิสเยียวยาใจได้อย่างดีเลย
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ Day 4 : อิ่มท้อง อิ่มใจ
บางทีในวิกฤติ ก็ปรับเป็นโอกาสได้ จากที่เคยกินแต่ข้าวนอกบ้าน เร่งรีบในแต่ละมื้ออาหาร วันนี้ เมื่อเรา “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ในสถานกาณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 นี้ เราลองหันมาปลูกพืชผักสวนครัว และลองเข้าครัวเพื่อทำเมนูอาหารแบบบ้าน ๆ แต่อร่อยสุดใจกันดู
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ Day 2 : สิ่งใหม่ๆ เริ่มได้ทุกวัน
การกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน ในช่วงวิกฤติโควิด 19 ช่างแตกต่างจากภาพฝันที่หลายคนว่าสบาย ๆ เหมือนหยุดพักร้อน เพราะการอยู่บ้านนาน ๆ ในบรรยากาศเดิม ๆ อาจทำให้เราอึดอัด กังวล และเครียดได้ แต่ขอให้เราให้กำลังใจตนเองเสมอว่า สิ่งดี ๆ จะเกิดขึ้นในวันใหม่เสมอ...พรุ่งนี้ย่อมดีกว่าวันนี้แน่นอน
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ Day 1 : ใจคือบ้านของเรา
มาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ที่รัฐบาลขอความร่วมมือคนไทยทั้งประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโตวิด 19 เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้หยุดเดินทางภายนอก เพื่อย้อนกลับมาภายในใจ ได้อยู่บ้าน อยู่กับตัวเอง และย้อนกลับมาฟังเสียงภายในของเรา ให้ตื่นรู้กับสถานการ์ต่าง ๆ มากกว่าการตื่นตระหนกกับสิ่งรอบตัว
จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล หรือ อาจารย์แบต อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่จะมาช่วยให้เมืองไทยให้ปลอดภัยและมีความสุข ภายใต้แนวคิด “ หนึ่ง ดร. หนึ่ง อำเภอ” อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
I SEE U จิตอาสาข้างเตียง
อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ หรือคุณชัย ผู้ก่อตั้งกลุ่ม I SEE U Contemplative Care อาสาข้างเตียง มาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อให้กำลังใจด้วยการรับฟัง และสัมผัสผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยหัวใจมากกว่าคำพูดว่า “สู้ๆ นะ” โดยคุณชัยนำประสบการณ์ที่ดูแลคุณพ่อในระยะสุดท้ายมาเป็นแนวทางในการอบรมอาสาข้างเตียง ว่า “...การดูแลพ่อแม่ที่ดีที่สุดคือ การทำในสิ่งที่เขาอยากได้ การที่ใจเราจะไม่ทุกข์ไปกับอาการที่แย่ลงของคนที่เราดูแล มันคือความสุขท่ามกลางความเสื่อมถอยลงไปจนทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี...” การทำงานอาสาที่อยู่ใกล้ชิดกับความตาย ทำให้เราเรียนรู้ถึงลมหายใจที่ยังอยู่อย่างรู้ค่า และพร้อมที่จะตั้งใจทำให้ทุกวันดีที่สุด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
สายใยรักกลางชุมชนแออัด
ชุมชนแออัด อาจเป็นแหล่งมือบอดที่สังคมส่วนใหญ่มองข้าม ทว่า รัศมี ทอนทอง- ป้าหมี และติ๋ม ชูแก้ว-ป้าติ๋ม คือผู้มอบแสงสว่างให้กับชุมชนแห่งนี้ ด้วยความรักและการเอาใจใส่เสมือนแม่คนที่สองของเด็ก ๆ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ทุกวันนี้ป้าหมี และป้าติ๋ม ทำงานจิตอาสา เพื่อดูแลเด็กในชุมชนวัดดวงแข ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง ให้ก้าวพ้นวัฏจักรของเด็กสลัมที่ท้ายสุดก็หนีไม่พ้นเรื่องยาเสพติด ให้กลายเป็นเด็กที่มีอนาคต และสามารถไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com