สุขกายสุขใจวัยเกษียณ
สุรีย์ นาวีเรือรัตน์ หรือ ครูเจี๊ยบ ครูสอนออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ทางเลือกของการออกกำลังที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เพราะเน้นการหายใจและการเคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงแบบไม่เร่งรีบ ครูเจี๊ยบอดีตเป็นดีไซน์เนอร์กระเป๋าที่โรงงานย่านนครปฐม หลังจากหายป่วยจากโรคมะเร็งรังไข่ ก็หันมาดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเต้าเต้อจิง รวมทั้งชักชวนเพื่อนๆ ในวัยเกษียณ มาจัดตั้งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกกำลังกายแบบเต้าเต้อจิง ที่จังหวัดนนทบุรีด้วย อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ร้านยิ้มสู้ คาเฟ่ของคนหัวใจไม่พิการ
“ปัจจุบันคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงานมีทั้งหมดประมาณ 7 แสนคนและยังมีศักยภาพที่ความสามารถทำงานได้ประมาณ 4 แสนคน ส่วนที่เหลืออีก 2 แสนมีความพิการซ้ำซ้อนซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ทว่าหากสังคมไทยมองข้ามความบกพร่องของผู้พิการสู่การเติมเต็มความแตกต่างแล้ว คนพิการจะสามารถทำงานได้มากกว่าอาชีพขอทานอย่างแน่นอน” ศ. ดร. วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ กล่าวไว้ และนี่เองคือแนวคิดของ “ยิ้มสู้คาเฟ่” ร้านคาเฟ่ธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา เพราะที่นี่มีคนพิการแตกต่างกัน ทว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขด้วยหัวใจที่ไม่พิการ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ลมหายใจแห่งความสุขของ ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะเมื่อปี 2521 ครูผู้มุ่งมั่น บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ที่ใคร ๆ ตั้งข้อกังขาว่าจะเติบโตงดงามได้เพียงไร ครูประทีปใช้เวลาเกือบทั้งชีวิตทำหน้าที่เป็นครูผู้ต่อสู้เพื่อให้สิทธิทางการศึกษากับเด็ก ๆ ในชุมชนแออัด “สลัมคลองเตย” และสามารถพิสูจน์แล้วว่า โอกาสทาง “การศึกษา” ช่วย “ยกระดับ” เด็กในชุมชนคลองเตยแห่งนี้ เติบโตได้งดงามไม่แพ้พื้นที่อื่น ๆ ภายในเมืองหลวงเลย อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ความสุขไร้กรอบเพศภาวะของ อวยพร เขื่อนแก้ว
อวยพร เขื่อนแก้ว นักสตรีนิยมในสังคมไทย ผู้ก้าวเดินบนถนนสายนักต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางเพศมาเนิ่นนาน เธอได้เห็นตัวอย่างแนวทางปฏิบัติของ “หลวงแม่ธัมมนันทา” ภิกษุณีองค์รูปแรกของเมืองไทย (เจ้าอาวาสวัดทรงธรรมกัลยาณี) ที่ได้ขับเคลื่อนประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศผ่านการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิง โดยที่ท่านเป็นผู้นำแนวหน้าเรื่องสิทธิสตรีในพุทธศาสนาระดับโลก ตั้งแต่นั้นมาคุณอวยพรได้ศึกษาเรื่องการทำงานบนฐานความเมตตากรุณาแทนการทำงานที่ถูกผลักดันจากความโกรธ ความไม่พอใจที่เห็นความไม่เป็นธรรม คุณอวยพรจึงเริ่มทำงานเรื่องสิทธิสตรีแนวพุทธ ที่เน้นการพัฒนาและเปลี่ยนแปรจิตใจตนเองให้พ้นจากความโลภ โกรธ หลงด้วย ทั้งภายนอกและภายในที่ผสานสอดคล้องไปด้วยกัน โดยมีชื่อเรียกกลุ่มตัวเองว่า “บุดดิสท์ เฟมินิสต์” (Buddhist Feminist Activist) หรือนักสตรีนิยมแนวพุทธ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
Folk Rice ตลาดข้าวอินทรีย์ในมือคนรุ่นใหม่
Flok Rice พันธุ์ข้าวหลากหลายพันธุ์ ที่เกิดจากริเริ่มจากการ “อกหัก” ขออนุกูล ทรายเพชร อดีตเด็กวัด ที่เกิดมาเป็นลูกชายของชาวนา แต่กลับบอกแม่ให้ขายที่นา เพื่อส่งตนเองรียนวิศวกรรมศาตร์ สายอินเตอร์ฯ แต่สุดท้ายก็ไม่ปลื้มจนกระทั่งมาสอบเข้าศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ด้าน area studies ที่คณะสหวิทยาการสังคมศาสตร์ สาขาอนุภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากจบการศึกษามีความรู้สึก “ดาวน์และดาร์ก” ด้วยบาดแผลจากระบบการศึกษา จึงตัดสินใจกลับบ้านเกิดมาเช่าที่นาเพื่อปลุกข้าวอินทรีย์ และทำการตลาดผ่านออนไลน์ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Flok Rice” ที่ทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มความโดดเด่นด้วยการหุงข้าวให้ชิมหลากหลายสายพันธุ์ ..ปัจจุบัน“Flok Rice” มีออเดอร์หลักพันตัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
หมอต้นไม้ เมตตาธรรมค้ำจุนโลกสีเขียว
“หมอต้นไม้” คือ การดูแลรักษาต้นไม้เก่าแก่ให้อยู่คู่กับชุมชนเพื่อท าหน้าที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนให้คนรุ่นต่อไปได้รับรู้ ส าหรับบ้านเราเพิ่งเริ่มได้ยินคำนี้ ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยมี “ศาสตร์จารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ” เป็นหมอต้นไม้รุ่นบุกเบิก และต่อมา “อาจารย์บรรจง สมบูรณ์ชัย” คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้น าแนวคิดหมอต้นไม้มาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ธรรมชาติบำบัด หมอที่ดีที่สุดคือ ตัวเราเอง
อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ฟังด้วยหัวใจ ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
การฟังด้วย “หัวใจ” จะช่วยดูแลคุณและคนที่คุณต้องดูแล เมื่อใดที่เราต้องรับสายโทรศัพท์เพื่อนซึ่งอยู่ในภาวะซึมเศร้าโทร. เข้ามาระบายให้คุณฟัง คุณจะต้องทำอย่างไร ? จะช่วยเขาได้ไหม ? บางครั้งการรับฟังด้วยหัวใจ นอกจากจะช่วยดูแลเพื่อนที่โทร. มาหาคุณแล้ว มันยังช่วยให้คุณได้ฟังเสียงข้างในของตัวเองว่าพร้อมจะรับฟังเพื่อนไหม ด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. สังเกตุความรู้สึกตัวคุณเอง ว่าเป็นอย่างไร พร้อมจะรับฟังไหม 2. สังเกตเสียงความคิดในหัวคุณ เพื่อรู้เท่าทันและหรี่เสียงนั้นให้เบาลงๆ โดยไม่ต้องพูดมันออกมา 3. ฟังความรู้สึกคนพูด มากกว่าเรื่องราวที่เขาพูด 4. ไม่พูดแทรก หรือพูดขัด 5. ถามความรู้สึกเขา 6. ฟังด้วยความเห็นใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้เขารู้ว่าเขามีตัวตน มีคุณค่า และมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้าง และ 7. ฟังแล้วต้องปล่อยวางให้เป็น เพียงเท่านี้ก็ฟังก็จะดูแลใจของกันและกันเป็นอย่างดี
DIY Your Heart: Sky Memories
คุณจำท้องฟ้าในวันสำคัญของคุณได้ไหม? - ความทรงจำดีๆ ที่เคยผ่านมาในชีวิต สามารถเป็นเรี่ยวแรงให้เรามีกำลังใจไปต่อในวันข้างหน้าได้ แต่ถ้านึกไม่ออก รู้สึกว่าไม่มีวันดีๆ ให้เก็บเป็นความทรงจำเลย อืม จะทำอย่างไรดี...
DIY Your Heart: Ikigai
คุณมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร? - ถ้าคุณยังไม่รู้ เรามีวิธีการที่ช่วยให้คิดได้ ไม่ว่าคุณจะชอบอะไร ทำอะไรได้ดี คุณสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจชีวิตได้ ลองเล่นดูสิ "Ikigai"
DIY Your Heart: Her Emotion
ตอนนี้อารมณ์ของคุณเป็นอย่างไร? - มันอาจมีวันที่คุณรู้สึกสบายดี แต่ก็แอบมีวันที่แย่ๆ เหมือนกัน ในช่วงเวลาเหล่านั้น คุณได้ดูแลอารมณ์ของตัวเองบ้างไหม ถ้าไม่รู้จะระบายมันอย่างไร ลองหยิบกระดาษและแท่งสีออกมาลองดูสิ...
อยากมีความสุข เริ่มต้นจากที่ไหน
หลายคนวิ่งไล่ล่าหาความสุข โดยไม่รู้เลยว่าความสุขมันเกิดขึ้นจากภายในตัวเรานั่นเอง “ตัวตลก” ผู้ทำหน้าที่สร้างรอยยิ้มและความสุขให้ผู้อื่น ทำไม ??? เขาจึงไม่มีความสุข เพราะเขายึดโยง ผูกติด และคาดหวังความสุขจากผู้อื่นที่หยิบยื่นให้ด้วยความชื่นชม หรือเสียงหัวเราะ แท้จริงแล้ว...”ความสุขอยู่ที่นี่เอง” ที่ภายในจิตใจของเราเอง เราสามารถสัมผัสความสุขด้วยปัญญา และการทำคุณประโยชน์ให้กับสังคม สุขง่ายๆ กับสิ่งรอบตัวด้วยตนเอง ไม่ต้องไปคาดหวังความสุขจากผู้อื่น หรือออกตามหาความสุขที่ไม่จีรัง