trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ความรู้" พบ 94 ข้อมูล

โครงการอบรมศิลปะนิทานภาพ ชีวิตและความตาย

โครงการอบรมศิลปะนิทานภาพชีวิตและความตาย เป็นกิจกรรมภายใต้แนวคิดชุมชนกรุณา โดยมีจุดประสงค์ในการจัดกิจกรรมสำหรับคนในครอบครัวให้ได้สื่อสารกัน เพื่อเข้าใจทัศนคติต่อชีวิตและความตาย อีกทั้งได้ใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีและนำไปสู่การดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดีในช่วงท้ายของชีวิต ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ เช่น การแต่งนิทาน วาดภาพสีน้ำ และการพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตและความตายผ่านตัวละครในนิทาน

คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย

การที่บุคคลจะเข้าถึงการอยู่ดีและตายดีนั้น แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การดูแลวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมากและจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทั้งคนในครอบครัว แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมถึงผู้ที่รับจ้างดูแล คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายสำหรับผู้ดูแลและนักบริบาลชุดนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่แนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพที่ดีและจากไปด้วยดี รวมถึงช่วยให้ครอบครัวเข้าใจยอมรับความพลัดพรากสูญเสียที่เกิดขึ้นได้

แนวคิดชุมชนกรุณา หลักสูตรและเอกสารประกอบการอบรม

การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและจากไปอย่างสงบ เราไม่อาจฝากภาระการดูแลที่สำคัญเช่นนี้ไว้เฉพาะแต่เพียงบุคลากรสุขภาพเท่านั้น การดูแลชีวิตช่วงท้ายเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ควรยื่นมือเข้าช่วยเหลือตามศักยภาพและความถนัด ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นสมาชิกในครอบครัว ญาติมิตร หรือกลุ่มสัมคมต่างๆ หลักสูตรอบรมชุมชนกรุณาเล่มนี้ มีเนื้อหาในการสร้างสรรค์ชุมชนกรุณา เริ่มจากความหมายของความกรุณา เพื่อสร้างการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับคนในชุมชน

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563

แม้ว่ายุคปัจจุบันเยาวชนไทยเติบโตขึ้นมากับการใช้อินเทอร์เน็ตและมีอิสระในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสื่อออนไลน์ยังเป็นตัวกลางในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและด้วยความคุ้นชินกับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างอิสระนี้ อาจทำให้หลงลืมเรื่องภัยที่มากับโลกออนไลน์ คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ชุดนี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางป้องกันภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย ที่สุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สำรวจป้องกันและช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ชุดกิจกรรมการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy – MIDL)เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เหมาะสำหรับครูผู้สอนและนักการศึกษาที่ต้องการเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อฯ ให้กับนักเรียน โดยผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทที่แตกต่างกันได้

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก

ทำงานที่บ้านอย่างเดียวไม่พอ ต้องดูแลลูกน้อยในบ้านด้วย ทำอย่างไรจะดูแลใจกันได้ทั้งครอบครัว? ท่ามกลางสถานการณ์ new normal สิ่งใหม่ที่เราต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้คือ work from home และการเรียนจากบ้านของลูกน้อยในบ้าน ทำให้เราต้องมีบทบาทพร้อมๆ กันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น เป็นแม่-หัวหน้างาน เป็นพ่อ-เพื่อนในงาน เป็นลูก-นักเรียนออนไลน์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้คงส่งผลกับภูมิคุ้มกันทางใจของเราไม่น้อย จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกันเองในฐานะที่เป็นอยู่หรือกับสมาชิกในบ้าน ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวและเด็ก” เพื่อให้มีแนวทางที่จะสร้างการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัว พร้อมกับเติมความเข้าใจและรู้จักคนในครอบครัวให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยคู่มือฉบับนี้จะพาเราไปรู้จัก Family O’clock ว่าเราจะจัดการเวลาของทั้งครอบครัวอย่างไร และนำเสนอกิจกรรมที่ครอบครัวสามารถใช้เวลาร่วมกันและสร้างให้รู้จักกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นอย่าง Family Art Talk เป็นต้น

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รักที่ต้องอยู่ด้วยกันในสถานการณ์โควิด-19

โควิดทำให้เราพูดกันไม่รู้เรื่อง โกรธกัน ทะเลาะกันง่ายหรือไม่ ไม่อยากให้ความสัมพันธ์ต้องพังลง ทำอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้มีทิศทางที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ของเรากับคนรักตอนนี้เป็นอย่างไร หลังที่ต้องอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลาส่งผลให้เราทะเลาะกันเพิ่มหรือไม่ หรือห่างเหินกันมากกว่าเดิมหรือเปล่า? ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับคู่รัก” เพื่อแนะนำแนวทางในการดูแลใจ เพิ่มความเข้าใจ เชื่อมสัมพันธ์และสร้างภูมิคุ้มใจเพิ่มให้กันและกัน โดยเนื้อหาในคู่มือฉบับนี้ว่าด้วย เราจะดูแลใจอย่างไรเมื่อความโกรธปรากฏขึ้น จะสื่อสารกับคนรักให้เข้าใจกันมากขึ้นได้อย่างไร และเราจะได้ย้อนเวลาหาความรัก เพื่อดูแลใจและความรักของคนรักไปได้พร้อมๆ กัน

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกันในสถานการณ์โควิด-19

ต่อสู่กับโควิด-19 อยู่ด้านหน้าแทบขาดใจ อยากกอดครอบครัวแค่ไหนก็ทำไม่ได้ จะบอกรักพวกเขาอย่างไรดี? สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่หากมันกลับมาอีกครั้งเราในฐานะผู้ทำหน้าที่เป็นด่านหน้าการต่อสู้กับไวรัสหรือเรามีคนในครอบครัวที่เป็นคนหน้าด่านต่อสู้กับโรคแล้วละก็ เราจะดูแลความรักกันอย่างไรดี ความสุขประเทศไทยจึงขอเสนอ “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับครอบครัวที่ต้องห่างกัน” สำหรับผู้คนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรคโควิด-19 หรือผู้ที่อยู่ในครอบครัวเดียวกับคนที่ต้องทำหน้าที่ต่อสู้กับโรค ให้สามารถดูแลความรักในชีวิตของเราและส่งกำลังใจดูแลกันและกันได้ไม่ให้ความรักล้มป่วยไปเสียก่อน โดยคู่มือฉบับนี้จะนำเสนอ “ภาษาชูกำลัง (ใจ)” ที่จะทำให้ใจใกล้กันได้แม้กายต้องห่าง อันนำไปสู่วิธีบอกรักแบบพอดีๆ

คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน

สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ตอนนี้เหมือนจะโอเค แต่แล้วมันโอเคจริงๆ หรือเปล่าสำหรับฉัน? ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ภาพรวมของโลก new normal การ์ดอย่าตก โควิดจะกลับมา การเงินส่วนตัว ความสัมพันธ์ในชีวิต การงานของเรา อาจส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม ถึงความเครียด สับสน วิตกกังวล ซึ่งหลายครั้งการหมกหมุ่นในอารมณ์และความคิดเหล่านี้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร แถมยังซ้ำเติมเราให้อาการหนักขึ้น ความสุขประเทศไทยจึงได้ผลิต “คู่มือสร้างภูมิคุ้มใจ ฉบับมหาชน” ที่เล่าถึงวิธีสร้าง “ภูมิคุ้มใจ” แบบง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้ มีแบบฝึกหัดเล็กๆ ที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันทางใจให้กับตัวเราเอง สามารถรักษาใจให้โอเค ท่ามกลางสถานการณ์ที่ต่างๆ ที่ยังไม่โอเคเท่าไรนัก คู่มือฉบับนี้จะพาเราถามใจตัวเองว่ายังโอเคไหม พาไปดูสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ภูมิคุ้มใจของเราบกพร่อง รวมถึงวิธีดูแลและสร้างภูมิคุ้มใจบางอย่าง เช่น ฮาวทูนับหนึ่งถึงห้า ล้างมือล้างใจ เป็นต้น

วิธีเอาตัวเองออกจากความรู้สึกห่อเหี่ยว

อินโฟกราฟิกอธิบายขั้นตอนการรับมือความรู้สึกท้อแท้ ห่อเหี่ยวใจ เพื่อการสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้รู้เท่าทันอารมณ์ห่อเหี่ยวใจที่เกิดขึ้น เกิดสติ ไม่จมดิ่งไปกับอารมณ์จนเกิดผลร้ายต่อตัวเองและคนรอบข้าง เป็นหนึ่งในสื่อจากองค์ความรู้ชุด 'เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วัน ฉันทำได้'

คู่มือ มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ

ในช่วงที่โลกของเรากำลังประสบภาวะวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่และมีมาตรการต่าง ๆ ในการรักษาระยะห่างระหว่างกัน “มือเล็ก ๆ เรียนรู้เท่าทันสื่อ” คู่มือที่รวบรวมสาระความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ตลอดจนข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน ที่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปควรรู้ เพื่อให้มีความรู้เท่าทันสื่อและรับมือรูปแบบสื่อ และช่วงเวลาที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก รวมไปถึงกิจกรรมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อวางแนวทางการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนอย่างเหมาะสม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.