ความตาย ภาวะใกล้ตาย สื่ออย่างไรให้เข้าถึงใจ
วิกฤตที่สุดในชีวิตของมนุษย์ คือการรู้ตัวว่าอยู่ในสภาวะคนใกล้ตาย แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราเกิดมาทุกคนต้องตาย แต่การสื่อสารกับทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วย ครอบครัวของผู้ป่วย จะทำอย่างไรให้เพิ่มพลังบวกให้กับชีวิตที่กำลังจะจากไป และที่ยังดำรงอยู่ การฟังอย่างกรุณา ไม่ด่วนตัดสิน พูดชื่นชมในสิ่งดี ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจและความสุขของกันและกัน นั่นคือ การส่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เดินทางจากไปอย่างมีความสุข ส่วนผู้ดูแล ครอบครัว ที่ยังต้องก้าวเดินต่อไปก็จะอยู่กับความทรงจำที่สวยงามที่มีต่อกันตลอดไป
ความตาย พูดได้ พูดถึงความตายอย่างไรดี
ความตายเป็นความจริงของธรรมชาติที่คนเราอย่างไรก็ต้องเจอ เพียงแต่เราจะไม่รู้วันและเวลาที่แน่นอนว่าเมื่อไหร่...ความตายจะเข้ามาทักทายและนำคนที่เรารักหรือแม้กระทั่งตัวเราเองต้องจากครอบครัวไป ในสังคมจึงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงความตาย เพราะถือว่าเป็นเรื่องเศร้า เรื่องไม่เป็นมงคล แต่แท้จริงแล้วการหาเวลาในการสื่อสารเรื่องความตายในครอบครัว หรือคนรอบข้างเป็นสิ่งที่เราควรสื่อสาร ควรพูด เพื่อใช้ช่วงเวลาในการเตรียมใจ และเตรียมตัวจากไปอย่างสงบทั้งผู้เดินทาง และผู้ส่งผู้เดินทางน็น
คลายโศก
ความสูญเสียจากคนที่เรารักย่อมนำมาซึ่งความโศกเศร้า การจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกนี้ต้องอาศัยระยะเวลา ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว แต่ทุกชีวิตสามารถฟื้นฟู เยียวยา และดูแลตนเองได้ ขอเพียงเรามีกันและกัน และระลึกไว้เสมอมว่าความตายเป็นความจริงของชีวิต เราทำดีที่สุดแล้วในการส่งคนที่เรารักเดินทางไปสู่เส้นทางใหม่อย่างมีความสุข และเราเองก็ต้องก้าวต่อไปเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อดูแลครอบครัวที่ยังอยู่เคียงข้างเรา
แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย
บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข
เก็บสุข กลางทุกข์
คนที่ต้องเผชิญความเจ็บป่วยระยะสุดท้าย ทั้งผู้ป่วยเอง หรือผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย กระทั่งบุคลากรสุขภาพที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้าย ย่อมหลีกหนีความรู้สึกโศกเศร้าและเจ็บปวดไม่ได้ แต่ทำอย่างไรเราจะพลิกความรู้สึกนั้นให้เป็นพลังใจที่แข็งแกร่งขึ้นมา ใช่ !!! นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เราจะค้นหาความสุข ท่ามกลางความทุกข์ได้ด้วยวิธีไหน ? อย่างไร ? หนังสือเก็บสุข กลางทุกข์ จะพาไปพบคำตอบจากบันทึก 23 เรื่อง จาก 14 ผู้เขียนที่จะแบ่งปันแนวคิดและทัศนคติเชิงบวก แนะวิธีการปฏิบัติตนอย่างมีสติ เตรียมตัวและเตรียมใจในการรับมือ รวมทั้งบอกเล่าการเติมเต็มหัวใจที่โศกเศร้าให้อบอุ่นจากกำลังใจคนรอบข้าง เพื่อส่งแรงหนุนให้เราก้าวข้ามเรื่องราวต่าง ๆ ไปอย่างเข้มแข็ง
ปทานุกรมความตาย
ทุกวันที่คนเราคิดถึงแต่การใช้ชีวิตที่ดี แต่จะมีสักกี่คนที่มองไปยังปั้นปลายของชีวิต ว่าเราควรจะจากไปอย่างสงบหรือตายดีได้อย่างไร ? หนังสือ ปทานุกรมความตาย เป็นการรวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับการเตรียมตัวตาย ที่เราทุกคนสามารถศึกษาและวางแผนเพื่อเผชิญความตายอย่างสงบ เพื่อนำไปสู่การตายดี คือปลอดจากความทุกข์ทรมาน ความวิตกกังวล และความหวาดกลัว พร้อมที่จะเดินทางไปสู่โลกหน้าอย่างสงบสุข
Care club ชุดเครื่องมือเพื่อการดูแลใจ สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย
บางครั้งผู้ดูแล...ก็ต้องการการดูแลด้วยเช่นกัน กิจกรรมกลุ่ม Care club เกิดขึ้นเพื่อดูแล “ใจ” ของผู้ดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งกิจกรรมกลุ่มนี้เกิดขึ้นและพัฒนาโดย กลุ่ม Peaceful Death โดยเป้าหมายหลักของกิจกรรมคือ เพื่อสร้างพื้นที่พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยความเข้าใจอย่างสร้างสรรค์ ผ่านทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งและการ์ดเกม ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนี้เหมาะกับบุคลากรสุขภาพหรือ นักจัดกิจกรรมในชุมชนที่สนใจการดูแล สุขภาวะของผู้ดูแลผู้ป่วย
Lessons from Last Life Lesson
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson
ความตายกับภาพตัวแทน
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson เพื่อให้เข้าใจและถ่ายทอดความรู้สึกต่อความตาย ซึ่งเป็นสภาวะนามธรรมได้มากขึ้น มนุษย์รู้จักที่จะเปลี่ยนสิ่งนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรมด้วยการสร้าง บุคลาธิษฐาน หรือ การสร้างภาพตัวแทน (Personification) เพื่อใช้สื่อสารในวรรณกรรม ตำนาน ภาพวาด หรือภาพยนตร์
ประวัติศาสตร์แห่งความเจ็บปวด: คงอยู่หรือจากไป แบบไหนเจ็บกว่ากัน
ต่อยอดความรู้จากงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson
Dostadning กระบวนการทิ้งสัมภาระและจัดบ้านให้เรียบร้อยก่อนความตายมาถึงตามแบบฉบับชาวสวีดิช
Departure Guide ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson ถ้าตายแล้วจะเอาสมบัติมากมายไปไว้ที่ไหน? Margareta Magnusson นักเขียนชาวสวีดิช ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Gentle Art of Swedish Death Cleaning(2018) เพื่อตอบคำถามดังกล่าวสำหรับคนที่รู้ตัวว่ากำลังเหลือเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน และทำให้ลูกหลานไม่เหนื่อยกับการจัดการสัมภาระมากมายที่ยังเหลืออยู่
ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร - เมื่อความตายรออยู่เบื้องหน้าจึงรู้ว่าสิ่งใดสำคัญที่สุดในชีวิต
บทสัมภาษณ์วิทยากรและ Influencer ประกอบงานเสวนาวิชาชีวิต บทสุดท้าย Last Life Lesson บทความสัมภาษณ์ ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การจัดลำดับความสำคัญในเรื่องต่างๆ และการตระหนักถึงคุณค่าความหมายสูงสุดของชีวิต เพราะชีวิตของคนเราเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและเราควรจะใช้ชีวิตในตอนนี้อย่างไรให้มีคุณภาพ อีกทั้งเรื่องความปรารถนาดีของเราในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่อาจกลายเป็นการทำร้ายผู้ป่วยหรือคนที่เรารักในทางอ้อม เราจึงควรปรับทัศนคติ คำนึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วยระยะท้ายและคนที่เรารักเป็นสำคัญ โดยการเติมเต็มความสุขที่เป็นการเคารพความต้องการซึ่งกันและกัน