ลงทะเบียนเรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทอล (MIDL)
ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! แนะนำ! คอร์สเรียนออนไลน์ ที่ชาวโซเชียลควรรู้ หลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด ทักษะ และทัศนคติ ด้วยชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media, Information and Digital literacy หรือ MIDL) เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น Chulalongkorn University Values Integration Program หรือ CUVIP มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จัก ค้นพบ และพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการ ทำงานอย่างมือ อาชีพ เมื่อสิ้นสุดการเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ผู้เรียนจะได้รับองค์ความรู้ใหม่หรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว และสร้างแรงบันดาลใจใน การดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต จนสามารถร่วมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณสมบัตินิสิต บัณฑิต และบุคลากรให้สามารถเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก . หลักสูตร CUVIP series "เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก” Media Literacy, the essential skill for well-being เปิดพื้นที่เรียนรู้ออนไลน์ด้วยเนื้อหาที่ได้รับออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งเป็นทักษะสร้างสุขภาวะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 หมวดเนื้อหา 13 หัวข้อเรียนรู้ 2 ชั่วโมงต่อครั้ง . หมวดเนื้อหาที่ 1 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน โดย คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย หมวดเนื้อหาที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อพลเมืองดิจิทัล โดย คุณณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต , คุณปราศรัย เจตสันติ์, คุณอลงกรณ์ อัศวโสวรรณ และ คุณพรพรรษ อัมพรพฤติ กลุ่ม Critizen หมวดเนื้อหาที่ 3 สูงวัยเท่าทันสื่อ โดย เอกชัย เธียรสรรชัย, ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ และ ฐานิสร์ ริ้วสุวรรณ์ (กลุ่มคนตัวดี บริษัท ทำมาปัน จำกัด) หมวดเนื้อหาที่ 4 การคุ้มครองจากภัยออนไลน์ โดย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช , คุณสุพิชฌาย์ ชัยธัมมะปกรณ์ และ คุณณัชวลัย สุวรรณฑัต มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย หมวดเนื้อหาที่ 5 การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) และ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท. . การสมัครและเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP สำหรับบุคคลทั่วไป 1. ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php 2. ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project 3. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php 4. ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม*** CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 หรือ Inbox Facbook: CUVIP Project 5. ผู้เรียน จะได้รับประกาศนียบัตร หลังจบการเรียนรู้แต่กิจกรรม
หลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน
สุขภาวะทางปัญญาหรือการมีจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน คือ ตัวช่วยสำคัญที่มีอิทธิพลในการพัฒนาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานภายในองค์การหรือการพัฒนาตัวบุคลากรในสถานที่ทำงาน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งเสริมการทำงานก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ทางบวก การเห็นคุณค่าในตนเองและภาวะผู้นำ โดยปัจจัยเหล่านี้จะส่งเสริมหรือส่งผลกระทบต่อการทำงานในองค์รวม องค์การที่สนับสนุนสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงานจะเป็นองค์การที่ตระหนักรู้ว่าผู้คนไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นมนุษย์ที่แสวงหาความหมายและเป้าหมายในการทำงาน รวมถึงความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในองค์การ หลักสูตรและคู่มือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาและจิตวิญญาณในสถานที่ทำงาน จัดทำขึ้นสำหรับผู้ที่สนใจหรือไม่เคยมีความคุ้นเคยในเรื่องนี้มาก่อน เพื่อนำไปปรับใช้พัฒนาให้เกิดแนวคิดเชิงบวกในการทำงานและการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์การให้มีประสิทธิผล
การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence)
ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์
Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น
สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
MIDL : DQ for Citizenship
การสร้างความฉลาดในยุคนี้ ไม่ใช่มีแค่ IQ หรือ EQ อีกต่อไป แต่พลเมืองในยุคสื่อสารออนไลน์หรือยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องมีความฉลาดอีก 1 ตัว นั่นคือ DQ หรือ Digital Intelligence ซึ่งประกอบด้วย 8 คุณลักษณะสำคัญที่ได้รับการกำหนดและยอมรับในระดับสากล ทั้ง 8 คุณลักษณะของ DQ นี้ นอกจากจะทำให้ตัวเราปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังจะทำให้เราไม่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือทำร้ายคนอื่นในโลกออนไลน์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ