ป่าชายเมือง นักข่าวพลเมือง ตอน บางขุนเทียนกับความเปลี่ยนแปลง
ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม ผลงานชุดนี้มีจำนวน 4 ตอน ในตอนนี้เป็นเรื่องราวการสะท้อนมุมมองเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะนักข่าวพลเมือง พาไปเจาะลึกเรื่องราวของป่าชายเลนบางขุนเทียน พูดคุยกับชาวบ้านถึงวิถีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งธรรมชาติ กับการเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษความทรุดโทรมที่กำลังคืบคลาน และหนทางอยู่รอดอย่างสมดุลระหว่างชีวิตและธรรมชาติ
ป่าชายเมือง Spot viral video ตอน Forest s Lost
ผลงานสารคดีจากนักศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม มีทั้งหมด 4 ตอน สำหรับผลงานชิ้นนี้เป็นสปอตรณรงค์ความยาวประมาณ 1.39 นาที กระตุ้นเตือนให้คนเห็นความสำคัญของป่าชายเลนกับชีวิต และวันนี้ผืนป่ากำลังจะหายไป
ท่าเทียบเรือปากบารา โดย คณะวิทยาศาสตร์ สาขานวัตกรรมการออกแบบและสร้างสรรค์สื่อ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอผลกระทบอีกด้านหนึ่งจากโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ผลกระทบของความเจริญในอีกด้านอาจส่งผลถึงระบบนิเวศ ธรรมชาติ วิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรม สตูลอาจไม่ใช่พื้นที่สะอาด สงบ ดั่งคำขวัญที่เคยมีมา หากวันนี้ความเจริญทางวัตถุกำลังสวนทางกับวิถีธรรมชาติ เราควรจะเลือกเดินไปทางใด?
เพราะมีค่ามากกว่า โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี
คลิปวีดิโอนำเสนอผลงานการจัดทำสื่อ อาทิ เว็บไซต์ แอพพลิเคชัน และ Interactive Game โดย นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี เพื่อนำเสนอคุณค่าของ จ.กระบี่ในด้านต่าง ๆ อาทิ คุณค่าทางธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ แนวคิดนำเสนอให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีคุณค่ามากกว่าจะนำมาแลกกับเชื้อเพลิงถ่านหิน รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลพลังงานทางเลือกที่มีผลกระทบทางธรรมชาติให้น้อยที่สุด
คลิปเปิดงานนิทรรศการแสดงผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปีที่ 2
ปาฐกถาพิเศษโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี ในพิธีเปิดงานเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ในโครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปีที่ 2 ชี้ให้เห็นความสำคัญของพลังเยาวชนรุ่นใหม่ แม้จะเริ่มต้นด้วยการรวมตัวของเยาวชนกลุ่มเล็ก ๆ แต่เป็นพลังปัญญา พลังทางสังคม พลังจิตสำนึก ร่วมคิดร่วมทำที่จะสังคมสู่ความเจริญได้ในที่สุด
ท่าเปลี่ยน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผลงาน UNC ปี 2 โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ Concept : การนำเสนอข้อดีหรือสิ่งที่ดีของทะเลอันดามัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบจากการสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ผ่านสื่ออินโฟกราฟฟิคและโมชั่น กราฟฟิค ให้คนดูได้คิดตาม ควรมีหรือไม่มีโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน
No Coal Save Krabi โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผลงาน UNC ปี 2โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ประเด็น : ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม Concept : นำเสนอคุณค่าของทรัพยากรและธรรมชาติที่งดงามที่ จ.กระบี่ อาจจะถูกทำลายไป เพราะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมามดแทน
ปัญหาที่ดิน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้
ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน
ข้าวคร่าว
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : “ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวที่เราบริโภคนั้นปลอดภัย “มอดในข้าว” ที่มักถูกผู้คนรังเกียจจะให้คำตอบกับเราได้ นิทรรศการหัวข้อเรื่อง “ข้าวคร่าว” จะนำผลการทดลองมาจัดแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่ามอดมาจากไหน มีอันตรายหรือไม่ และมอดมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับข้าวอินทรีย์ หรือข้าวเจือปนสารเคมี ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงที่มาของข้าวที่รับประทานอยู่ทุกวัน เห็นคุณค่าของวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม รวมถึงส่งต่อความสนใจและตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับไปค้นคว้าต่อไป
ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง