Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ครู" พบ 72 ข้อมูล

ณรงค์ กาญจนะ : เปลี่ยนครูสายแข็งด้วยการฟัง เปลี่ยนเกลียดชังเป็นความรัก

ผศ.ดร.ณรงค์ กาญจนะ อาจารย์ภาควิชาครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ครูสายแข็งผู้เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการฟัง โดยการนำประสบการณ์จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการครูกล้าสอนและในโครงการต่างๆ มาปรับใช้พัฒนาศักยภาพในตนเอง ทั้งในเรื่องความรู้ความเข้าใจในการฟังอย่างมีสติและกระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชั้นเรียน ที่สำคัญคือความรู้จากการที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการนั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและภายในครอบครัวได้

ในอ้อมกอดของครู มหัศจรรย์แห่งสัมพันธ์ ที่ สุขมิตร กอมณี ได้จากครูกล้าสอน

อาจารย์น้อย ดร.สุขมิตร กอมณี อาจารย์ภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ครูในโครงการครูกล้าสอนรุ่นที่ 1 ได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้จากหลักสูตรในโครงการครูกล้าสอนและกระบวนการลดความขัดแย้งมาปรับใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อลดความขัดแย้งในองค์กรและสร้างความเข้าใจระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวมถึงได้นำกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงและเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน  

ก้าวแรกครูกล้าสอน ก้าวย่างที่เริ่มต้นด้วยการฟัง

ครู คือ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในห้องเรียนให้น่าสนใจและมีคุณภาพ โครงการ “ครูกล้าสอน” รุ่นที่สอง เปิดหลักสูตรอบรมให้แก่ครูอาจารย์ เพื่อทบทวนบทบาท สร้างแรงบันดาลใจ คุณค่าความหมายของการเป็นครูและสร้างการยอมรับในความแตกต่างผ่านทักษะการฟังอย่างเปิดใจ ซึ่งทักษะในการฟังนี้จะเป็นตัวเชื่อมสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและนักเรียน อีกทั้งเป็นเครื่องมือที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ในชั้นเรียนต่อไป

แนะนำโครงการครูกล้าสอน

บทความนี้ จะพาทุกคนไปรู้จัก “ครูกล้าสอน”  ผู้ที่ต้องการมายืนอยู่หน้าห้องเรียนเพื่อเปลี่ยนให้ห้องเรียนนั้นเป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน โดย “ครูกล้าสอน” ล้วนเป็นครูที่ผ่านการเรียนหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหนังสือ The Courage to Teach : Exploring the Inner Landscape of a Teacher Life ของนักจัดการศึกษาคนสำคัญปาร์กเกอร์ เจ. ปาล์มเมอร์ นำมาสู่การออกแบบหลักสูตรนี้ เพื่อฟื้นฟูพลัง ปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูให้กลับมาเปี่ยมพลังอีกครั้ง โดยหลักสูตร “ครูกล้าสอน” ดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ดำเนินงานโดย ทีม New Spirit (จิตวิญญาณ ใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลง) บริษัท สวนเงินมีมา ผู้ประกอบการสังคม ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากส านักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สู่หนึ่งเดียวกันในมุมมอง จิตวิญญาณ โดย คุณจุรี พิพัฒนรังคะ ครูบี

ตระหนักถึงความจริงว่าไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่เกี่ยวโยงสัมพันธ์กับสิ่งอื่น มีความรักให้ทุกชีวิตโดยไม่แบ่งแยก ตระหนักถึงที่ว่างอันกว้างใหญ่ไร้ขอบเขต แผ่กว้างไพศาลข้างในตัวคุณ ยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น เห็นว่าทุกข์ของผู้อื่นคือทุกข์ของเรา เห็นตัวเราและสรรพสิ่งเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่แยกออกจากกัน เข้าใจความรักที่แท้จริง ความรักที่ไปพ้นขั้วบวกและลบ ไม่มีพวกเรา-พวกเขา ไม่มีฉัน-ไม่มีเธอ มีแต่ความเป็นดั่งกันและกัน ที่มา : ข้อความส่วนหนึ่งจากบอร์ดเกม "Path to Oneness - ทางสู่หนึ่งเดียวกัน"

ก่อการครู : ความเปลี่ยนแปลงของครูแกนนำรุ่น 1

วิดีทัศน์จากโครงการ ก่อการครู...ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ สะท้อนกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงภาวะการเป็นผู้นำของ “ครู”  เพื่อจุดประกายในการสอน และอบรมเด็กและเยาวชน เน้นการทำกระบวนการให้ครูฟังเสียงภายในตนเอง สร้างเครือข่ายกัลยาณมิตรครู เพื่อเห็นในคุณค่าความเป็นครู พร้อมที่จะถ่ายทอดวิชาความรู้จากภายในสู่ภายนอกด้วยความรักและเอาใจใส่ต่อศิษย์ด้วยหัวใจและเมตตา

ก่อการครู : ครูแกนนำ x คนรุ่นใหม่

วันนี้เราสามารถลุกขึ้นมาเป็น “ครู” ได้ เพียงเรามีหัวใจและพลังที่พร้อมกล้าเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทย  คุณจะเป็นครูประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คุณจะเป็นครูสอนพิเศษ คุณจะเป็นนักออกแบบเกม คุณจะเป็นนักวิจัย หรือนักสื่อสารก็ตาม  เราทุกคนสามารถสร้างโอกาสทางการศึกษาที่ดีให้กับเด็กได้อย่างสร้างสรรค์ ลดความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษา และสร้างโฮกาสและความเท่าเทียมให้กับทั้งครู เด็กนักเรียน  และระบบการเรียนการสอนในบ้านเรา

ก่อการครู PLC ก่อการครู ร.ร.ชุมชนบ้านผานกเค้า

กระบวนการเรียนรู้ที่มีชีวิต  หรือ PLC เป็นการเปลี่ยนแปลงการศึกษาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงเด็กให้มีความสุขในการเรียนที่มากขึ้น แล้วสุดท้ายก็จะส่งผลมาที่ครูผู้สอนให้มีความสุขด้วยเช่นกัน โรงเรียนชุมชนบ้านผานกเค้า จ.เลย เน้นการเรียนการสอนแบบ PLC ที่มีการเปิดใจ เปิดหู เปิดตาในการเรียนการสอน โดยใช้หลักการฟังทุกเรื่อง ฟังให้จบ มองให้ทั่ว ไม่ด่วนตัดสิน  แล้วเมื่อนั้นทั้งศักยภาพของเด็กและครูก็จะเกื้อหนุนกันอย่างมีความสุข

ก่อการครู โมดูล 1 ครูคือมนุษย์

ก่อนที่การเรียนการสอนของครูจะสร้างพลังในการเรียนรู้ให้กับเด็ก “ครู” ต้องรู้จักตัวตนที่แท้จริงของครูก่อน  ว่าครูคือมนุษย์ ตระหนักในคุณค่าความเป็นครู  ขณะเดียวกันครูก็ต้องเปิดใจยอมรับในศักยภาพ และความแตกต่างของเด็ก ซึ่งในความแตกต่างอาจเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ครูต้องไม่ด่วนตัดสินเด็ก  ครูจะต้องเปิดใจ เปิดหู เปิดตา ในการรับฟังเด็กด้วยหัวใจ จากนั้นระบบการศึกษาก็จะเป็นการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ไม่ใช่การใช้อำนาจสั่งการและบังคับอีกต่อไป

ก่อการครู วิชา Magical Classroom meaningful learning

เวทมนตร์ของครู  คือการเข้าไปนั่งอยู่ในใจของเด็กได้  ครูทุกคนมีเวทมนต์อยู่ในตัวทุกคน  ก่อนอื่นครูจะต้องใช้หัวใจในการสอน ในการพูดคุย ในการฟังเด็ก อยู่ในห้องเรียนร่วมกับเด็กด้วยหัวใจ เข้าใจและเรียนรู้ในธรรมชาติของเด็ก  ว่าเด็กต้องการอะไร  ต้องการสิ่งแวดล้อมแบบไหน  ต้องการความปลอดภัยแบบไหน  และแบบไหนที่เด็กได้รับแล้วจึงมีความสุข  หากครูสามารถสัมผัสหัวใจของเด็กได้  เมื่อนั้นพลังแห่งเวทมนต์ของครูก็จะฉายแสงออกมาทันที  

ก่อการครู : ก้าวแรกของก่อการครู

โครงการก่อการครู: ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ เป็นการร่วมมือกันระหว่างเครือข่ายคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์และเครือข่ายที่ทำงานด้านการศึกษาในภาคประชาสังคม ซึ่งโครงการมีเป้าหมายในการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างพื้นที่การเรียนรู้ใหม่และแนวทางการสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้เป็นอีกแนวทางเลือกให้กับการศึกษาไทย โดยจะเพิ่มทักษะองค์ความรู้ต่างๆ ของการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้หรือกระบวนกรให้กับครู เพื่อให้ครูกลับไปยังชั้นเรียนได้อย่างมีพลังและสร้างสรรค์ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในรูปแบบองค์รวม เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเติบโตไปอย่างมีคุณภาพและช่วยพัฒนาประเทศต่อไป

ก่อการครู : ทัศนะ ดร.กันตพงศ์ คงหอม ครูแกนนำรุ่น 1

ดร.กันต์พงศ์ คงหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสี่แยก ครูแกนนำในโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่หนึ่ง และ นายสมโชค อารยา ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนบ้านสี่แยก ได้ร่วมกันผลักดันและจุดประกายให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมในจุดที่ขาดหายไป เพื่อสร้างความสมดุลและให้เด็กในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ รวมถึงได้นำหลักการระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้

keyboard_arrow_up