Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "คน" พบ 112 ข้อมูล

เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน Stop cyberbullying

คลิปวิดีโอเตือนใจการกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน ไม่ว่าจะเพศ หญิง ชาย หรือ บุคคลที่มีอัตลักษณ์วิถีทางเพศที่แตกต่างออกไป ล้วนมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งสิ้น การแซว การหยอกล้อเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ ด้วยความขบขัน ด้วยความคึกคะนอง ย่อมส่งผลกระทบในแง่ลบต่อจิตใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะเป็นการถูกลดทอนคุณค่าความเป็นคน ที่อาจนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าและผลเสียต่อจิตใจในด้านอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเกลียดชังและความเหลื่อมล้ำทางเพศในสังคม การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

ภาพลับเพื่อคนรัก เมื่อหมดรัก อาจไม่ลับ อย่าไว้ใจใคร ฺBeware sexting stalking

คลิปวิดีโอ ที่จะช่วยเตือนสติทั้งกับวัยรุ่นและคนทั่วไปว่า “อย่าไว้ใจใคร” แม้จะเป็นคนที่เรารักมากก็ตามก็ไม่ควรส่งภาพลับ หรือ แชร์ข้อมูลส่วนตัวที่อาจกลายเป็นเครื่องมือให้อีกฝ่ายนำกลับมาใช้ทำร้ายเราในภายหลังเมื่อหมดรักต่อกัน นอกจากจะทำให้เราเสียชื่อเสียง เสียความรู้สึก เสียสุขภาพจิตและยังอาจจะถูกติดตามรังควานจากคนแปลกหน้าอีกด้วย

เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน MIDL for Inclusive Cities

“เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน” ได้รวบรวมแนวคิด ความเห็นและมุมมองจากกิจกรรมและการทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในโครงการย่อยของ MIDL for Inclusive Cities : สร้างเมืองของทุกคน รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องเมือง สิทธิที่จะอยู่ในเมือง เมืองที่นับรวมทุกคน และเท่าทันสื่อ เท่าทันข้อมูลข่าวสาร เท่าทันดิจิทัลในบริบทของความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมอีกด้วย

เทคนิครับมือข่าวร้ายและข่าวลวง

วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ

รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ตา สุรางคนา สุนทรพนาเวช

ตา-สุราคนา สุนทรพนาเวช อดีตรองนางสาวไทย และดารานักแสดงผู้มากฝีมือ  เคยผ่านช่วงเวลาความเป็นความตายด้วยการเป็นมะเร็งที่ท่อน้ำดี ความทุกข์ทรมานในครั้งนั้น จึงคิดว่าการเกิดทำใหเป็นทุกข์ แต่เมื่อได้รับโอกาสจึงตัดสินใจศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสหธรรมมิกชน เพื่อศึกษาเรื่องการตื่นรู้ หรือ การกลับมาอยู่ภายในตนเอง กลับมาอยู่กับตนเองอย่างซื่อตรง

ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)

ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอมได้ง่าย เพราะว่าข่าวปลอมเป็นข่าวที่เล่นกับความรู้สึกของคน  เมื่อคนอ่านแล้วก็ตกหลุมพราง เกิดเป็นกลไกการเชื่อตาม ๆ กันในคนหมู่มาก และที่สำคัญผู้อ่านข่าวไม่มีความละเอียด เน้นการอ่านข่าวเร็ว จึงไม่ได้คิดวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวบนหน้าเว็บนั้น ๆ

วิธีดูแลใจตนเองและคนรอบข้างในช่วงโควิด-19 โดย ทีปัก โจปรา

ดร. ทีปัก โจปรา หนึ่งในคุรุผู้โด่งดังด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ ชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ได้ให้ข้อคิดในการรับมือความตื่นตระหนกจากวิกฤติโควิด 19 ไว้ดังนี้ ดูแลกายและใจให้รู้สึกดี , รับข่าวแต่พอดี , พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน , เท่าทันข้อมูลสถิติ และมีสติทุกเมื่อในการสื่อสาร

แถวตรง : ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น

“แถวตรง”  โดย ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น เป็นหนังสั้นที่ผลิตขึ้นจากกลุ่มนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเจาะเลือดตรวจเพื่อตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์  อีกหนึ่งมาตรการในการกวดขันและเอาจริงเอาจังประเด็น “เมาแล้วขับ” การเล่าเรื่องมีการนำคนมาแสดงเป็น “เลือด” และ “แอลกอฮอล์”  เพื่อสื่อให้เห็นถึงโทษเมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ขาดสติ ควบคุมตนเองไม่ได้ ถ้าคู่กรณี หรือตำรวจสงสัยว่าเมาสุราสามารถสั่งให้หยุดรถและสั่งให้เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์เพื่อตรวจได้ โดยถ้ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุก 1 ปี, ปรับ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบขับขี่ และยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน  

The Learner Vol.1 : ศาสตราจารย์ วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์

ศ.วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ ที่ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไป เมื่อดวงตามองไม่เห็น และเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อเรียนรู้ว่า คนตาบอด ไม่ได้ไร้ค่า คนตาบอดทำได้ทุกอย่าง และท่านส่งต่อความเชื่อและความเข้มแข็งนั้นให้ทั้งผู้ที่มองเห็นและมองไม่เห็น ให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีความมั่นใจ

คู่มือเดินเมืองตลาดพลู

คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร

สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน

วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.