trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ข้อมูล" พบ 12 ข้อมูล

ลงทะเบียนเรียนฟรี การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร

ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  ที่พาผู้เรียนทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ทำให้เข้าใจผิด บิดเบือน ฝึกฝนการตรวจสอบข้อเท็จจริง (FACT-CHECKING) ในข่าวลวง ข่าวปลอม และข้อมูลเท็จ ติดตั้งแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองดิจิทัลรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร และสร้างทักษะประสบการณ์ในการหาความจริงร่วม   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร”   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 20 มิถุนายน 2565 หัวข้อ พื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking 101) 7 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เครื่องมือและเคล็ดลับ สำหรับนักตรวจสอบข้อเท็จจริง ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท   8 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลเมืองดิจิทัลกับการรับมือข้อมูลข่าวสาร(นวัตกรรมโคแฟค) ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์  ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย)   ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

ผลสำรวจข้อมูล ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม

“ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม: Why Cofact Matters” อินโฟกราฟิก สรุปผลการสำรวจ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข่าวลวงและข้อมูลปลอม ปัญหาที่สร้างความสับสนและความเชื่อผิดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและสื่อสังคมออนไลน์ภายในหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยสรุปผลสำรวจจากผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามจำนวน 670 คน ที่เคยตรวจสอบข่าวลวงและข้อมูลปลอมผ่านโคแฟค พร้อมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุต้นตอของข่าวลือ สาเหตุของการเผยแพร่ข่าวลวงซ้ำ สิ่งที่น่ากังวลและข้อมูลปลอมที่พบเห็นในสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์มากที่สุด รวมถึงเสนอทางออกของการแก้ปัญหาข่าวลวงให้กับสังคมในระยะยาว

ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว PRIVACY MANAGEMENT

มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเองและผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์ 

อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน  อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต

A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค  คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ   

เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน ใช้ ICT สร้างสรรค์

ในโลกสังคมออนไลน์ หากเราเรียนรู้และเท่าทันสื่อ ก็จะสามารถนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาสร้างสรรค์เรื่องราวดี ๆ แบ่งปันให้ผู้อื่นได้ เช่น หากเราเก่งด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถพัฒนาหรือสร้าง Blog (บล็อก) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนบทความประเด็นความรู้ใหม่ๆ ให้เพื่อน ๆ ในสังคมออนไลน์ได้นำไปใช้งานได้ นั่นคือ ประโยชน์ของการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ 

เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน จริงหรือหลอก

เด็กไทยทันสื่อ ICT ว่าด้วยการเรื่องของข้อมูลในโลกออนไลน์ ที่มีการเผยแพร่โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ จึงมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริงและข้อมูลหลอกลวง ทั้งแค่หลอกเล่น ๆ ไปจนถึงหลอกให้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อต้องเสียเงินซื้อของหรือบริการ เด็ก ๆ จึงจำเป็นต้องไตร่ตรองและตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับในโลกออนไลน์ก่อนตัดสินใจจะเชื่อทุกครั้ง

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.